เลี้ยงหอยเชอรรี่สีทอง และ การหาช่องทางจำหน่ายหอยเชอรี่
เลี้ยงหอยเชอรรี่สีทอง
สวัสดีครับในบทความนี้เราจะมาพูดถึง ” เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง และ ช่องทางการจำหน่าย” ในรูปแบบต่างๆกันครับ ซึ่งหอยเชอรี่สีทอง นั้นกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สำหรับหอยเชอรี่สีทองที่กำลังมาแรงในตอนนี้ สำหรับมือใหม่ วันนี้เราจะมาดูวิธีการเลี้ยงกันครับ
ลักษณะโดยทั่วไปของหอยเชอรี่ และ หอยเซอรี่สีทอง
หอยเชอรี่ หรือ หอยเซอรี่สีทอง หรือมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น หอยโข่งเหลือง หอยโข่งอเมริกาใต้ ซึ่งในประเทศฟิลิปปินส์เรียกโกลเด้น คูฮอล ( Pomacea canaliculata Lamarck ) เนื้อหอยเชอรี่นับว่ามีคุณค่าทางอาหารสูงสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง จึงเป็นที่สนใจของผู้ที่ต้องการนำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ต่อไป เพราะในปัจจุบัลนั้นก็พบว่า หอยเชอรี่ในธรรมชาติ นั้นลดลงมากและเริ่มหายากขึ้น อาจเป็นเพราะการใช้ยาหรือสารเคมีในนาข้าวและแหล่งน้ำตามธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หอยเชอรี่ และหอยต่างๆลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
ลักษณะทั่วไปของหอยเชอรี่ นั้นมี 2 พวก ได้แก่
- หอยเชอรี่เปลือกสีน้ำตาล เนื้อและหนวดมีสีเหลือง
- หอยเชอรี่เปลือกสีเขียวเข้มปนดำและมีแถบสีดำจางๆพาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน มีรูปร่างค่อนข้างกลมผิวเปลือกเรียบ การหมุนของเปลือกเป็นเกลียววนขวา เมื่อโตเต็มที่มีขนาดความยาวประมาณ 83 มิลลิเมตร หนัก 165 กรัม เคลื่อนที่โดยใช้ foot (ตีนหอย)
การกินอาหารและพืชอาศัย
- หอยเชอรี่กินพืชได้หลายชนิด เช่นสาหร่ายแอลจี, แหนแดง, แหน,ผักตบชวา,ต้นข้าวกล้าและพืชน้ำที่มีใบอวบน้ำอื่นๆ
- มันชอบส่วนของลำต้นพืชที่มีความอ่อนนุ่ม เนื่องจากมันกินด้วยอวัยวะที่คล้ายลิ้นอันขรุขระขูดไปมาบนผิวพืช
- หอยชอบกินซากพืชสัตว์ที่เน่าเปื่อยเป็นอาหารด้วย
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
- หอยเชอรี่มีเพศแยกได้จากความนูนมากน้อยของแผ่นoperculum
- ถ้าหากนูนมากเป็นหอยเพศผู้
- อายุประมาณ 3 เดือน มักจะจับคู่ผสมพันธุ์กันราว 12 ชั่วโมง
- 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ส่วนมากเป็นเวลากลางคืน
- ไข่มีสีชมพูสดเกาะติดอยู่กัน 2-3 นิ้ว
- ความดกไข่ประมาณ ไข่ 388-2,000 ฟอง
วิธีการเลี้ยงหอยเชอรี่
ขั้นตอนการเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงหอยเชอรี่
- เตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงหอยเชอรี่ เช่น กระชังในบ่อดินธรรมชาติ หรือ บ่อซีเมนต์ ก็ได้ ซึ่งหอยเซอรี่นั้นถือว่าเป็นหอยที่เลี้ยงง่ายและโตไว แถมยังกินเก่ง โดยในขึ้นตอนการเตรียมบ่อนั้นให้เราใส่พืชน้ำ เช่น แหน ผักตบ ผักบุ้ง ทางมะพร้าว เศษไม้ สำหรับไว้ให้หอยเชอรี่เกาะ หรือ ผักพื้นถิ่นที่หาได้ตามธรรมชาติ เพื่อปรัหยัดค่าใช้จ่าย ก็ได้
- การเตรียวสายพันธุ์ ซึ่งสามมารถที่จะเลี้ยงจาก พ่อแม่พันธุ์หอยเซอรี่สีทอง หรือ จะเลี้ยงจากไข่ก็ได้ (สีชมพูแก่ค่อนไปสีเทา) เพื่อนำมาปล่อยในพื้นที่เลี้ยงที่เตรียมไว้ เลี้ยงระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ก็สามารถจับขาย ขนาดประมาณ 50 – 60 ตัว/กิโลกรัมราคากิโลกรัมละ 50 – 80 บาท ขายตามร้านส้มตำ และร้านอาหารอีสานทั่วไป
*** สำหรับมือใหม่นั้นสามารถหาซื้อ ไข่และพ่อแม่พันธุ์ ได้ตามฟาร์มต่างๆ ได้ทางกลุ่มที่มีจำนวนมากทาง Facebook แต่ก็ต้องศึกษาให้ดีก่อนทำการซื้อขาย และเลี้ยง ควรเริ่มจากเลี้ยงไว้กินก่อน แล้วค่อยขยับไปเลี้ยงขายอีกที่หนึ่งครับ***
คุณค่าทางอาหารของหอยเชอรี่
คุณค่าทางอาหารของเนื้อหอยเชอรี่หนัก 100 กรัม
- พลังงาน 83 แคลอรี่
- โปรตีน 12.2 กรัม
- ไขมัน 0.4 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 6.6 กรัม
- เถ้า 3.2 กรัม
- ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม
- โซเดียม 40 มิลลิกรัม
- โปตัสเซียม 17 มิลลิกรัม
- ริโบฟลาวิน B 2 12 มิลลิกรัม
- นิอาซิน 1.8 มิลลิกรัม
- อื่น ๆ ได้แก่ วิตามินซี ,สังกะสี , ทองแดง, แมงกานีส และไอโอดิน
เมนูหอยเชอรี่
- ก้อยหอยเชอรี่
- ต้มหอยเชอรี่ จิ้มน้ำจิมรสเด็ด
ข้อมูลโดย กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพประมง สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ