เลี้ยงหอยโข่ง เลี้ยงง่ายรายได้ดี!!
เลี้ยงหอยโข่ง
ในปัจจุบันนั้นหอยโข่งและหอยปังในประเทศเหลือน้อยลงและใกล้สูญพันธ์อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมี จากการทำการเกษตร ในรูปแบบต่างๆ แต่ความนิยมในการนำหอยโข่งและหอยปัง มาทำเป็นอาหารนั้นยังมีอยู่และรสชาตินั้นก็แสนอร่อยเข้าปากของคนไทย โดยเฉพาะทางอีสาน และในปัจจุบันนั้น ปริมาณของหอยโข่งและหอยปังลดน้อยลงมาก ไม่เพียงพอต่อการรับประทาน หรือนำมาเป็นอาหาร และมีความต้องการในตลาดสูงมากเพราะรสชาติของมันหวานนั้นเอง
หอยโข่งและหอยปังถือว่าเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ 2020 ก็ว่าได้ เลี้ยงง่าย โตไว เลี้ยงได้หลายรูปแบบ ครั้งหน้าจะมาเราต่อเลี้ยงการเพาะเลี้ยงในรูปแบบต่างครับ ตอนนี้เรามาดูหอยกันก่อนว่าดูยังไร ว่าเป็นหอยโข่ง หอยปัง หอยเชอรี่
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ หอยโข่ง หอยปัง และ หอยเชอรี่
หอยโข่ง (Pila ampullacea)
ลักษณะของหอยโข่ง เปลือกมีลักษณะอวบกลมเป็นเกลียวช่องปากเปลือกกว้างมีฝาปิด ตีนแบนและกว้างตัวหอยจะมีจะงอยปากแบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกมีหนวดเรียวและยาวมาก ตาอยู่ที่โคนหนวด หายใจด้วยเหงือกซึ่งอยู่ในช่องใหญ่ภายในเปลือกกั้นอยู่อย่างมิดชิด มีเปลือกเป็นสีเขียว เปลือกกว้างถึง 6 นิ้ว ซึ่งหอยโข่งอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก พื้นเป็นดินปนทรายและตามซอกโพรงริมน้ำ เช่น ที่บริเวณทะเลสาบ ตำบลลำปา พัทลุง ตามทุ่งนาก็มีบ้าง ส่วนอาหารนั้น หอยโข่งกินผัก รากไม้ ใบไม้และกิ่งก้านพันธุ์ไม้น้ำ
หอยปัง(Pila polita)
ลักษณะภายนอกทั่วไปนั้นจะเหมือนหอยโข่ง และ หอยเชอรี่ แต่มีเนื้อที่นุ่มกว่า คนจึงนิยมนำหอยปังนั้นมาทำก้อยหอยอันแสนอร่อย เพราะหอยปังมีกลิ่นคาวน้อยกว่าหอยโข่งและหอยเชอรี่ ซึ่งปัจจุบันนั้นนับว่าหาได้ยากแล้วไม่เหมือนแต่สมัยก่อนนั้นหาได้ง่ายตามท้องไร่ท้องนา ไข่ของหอยปังจะเป็นลูกกลมๆขนาดเล็กสีขาวเกาะกันเป็นกลุ่มบนต้นข้าวหรือกอหญ้า และในเวลาที่น้ำลดจะชอบหลบซ่อนอยู่ใต้ดิน ปัจจุบันหอยปังกลายเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่กำลังมาแรงเลยทีเดียว
หอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata)
หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ จะมีลักษณะเหมือนหอยโข่ง แต่ตัวจะโตกว่าหอยโข่ง ซึ่งจากการดูด้วยตาเปล่านั้นสามารถแบ่งหอยเชอรี่ ออกได้เป็น 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง และ อีกพวกมีเปลือกสีเขียวเข็มปนดำและมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน
หอยเชอรี่ เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2-3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่นตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2-3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามประมาณ 388-3,000 ฟอง ไข่จะผักออกเป็นตัวหอยภายใน 7-12 วัน หลังวางไข่
การแยกประเภทหอยโข่ง หอยปัง และ หอยเชอรี่
ทีนี้เรามาดูวิธีการแยกประเภทของหอยโข่ง หอยปัง และ หอยเชอรี่ ว่ามีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันยังไง มาเริ่มที่ หอยปัง กันเลย
“เลี้ยงหอยโข่ง เลี้ยงง่ายรายได้ดี!!”
หอยปัง (Pila polita)
ข้อสังเกตภายนอนนั้น จะมีรูปร่างหรือรูปทรงเหมือนไข่และก้นแหลม สีจะออกเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมน้ำตาล ขอบปากบาง เปลือกด้านในจะออกสีส้ม ปากบริเวณฝาปิดเหลียวจะคล้ายลูกมะม่วง และขดหอยมีประมาณ 4 รอบ
หอยโข่ง (Pila ampullacea)
สำหรับของโข่ง นั้น รูปทรงจะกลมป้อมและยอดจะเตี้ยหรือเกือบจะแบบราบส่วนสีของเปลือกหอยนั้นจะออกเขียวอมน้ำตาล สีเดียวทั้งตัวหรือลายสีเหลืองพาดรอบเปลือก ขอบปากจะบางเปลือกด้านในขอบปากจะมีสีขาวหรือสีเหลีองอมส้ม ปากบริเวณฝาปิดเหลียวจะคล้ายลูกมะม่วง และขดหอยมีประมาณ 3 รอบ
หอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata)
ข้อสังเกต ด้านรูปทรงจะกลมและยอดจะเตี้ย สีจะออกสีเหลืองอมน้ำตาล หรือสีน้ำตาลเลย ขอบปากจะหนา บริเวณฝาปิดจะกว้างเวลาหอยปิดปากจะลึกเข้าไปในเปลือก และ ขดของหอยจะมา 3 รอบ ซึ่งขอรอบสุดท้ายจะยกตัวสูงขึ้นชัดเจนดังนั้นรอยต่อระหว่างรอบจะยกตัวสูงขึ้น
การเปรียบเทียบหอยปัง กับ หอยเชอรี่กัน ซึ่งจะคล้ายกันต้องสังเกตุให้ดี
วิธีการเลี้ยงหอยปัง และ หอยโข่ง
1 เริ่มจากขั้นตอนการเตรียมบ่อเลี้ยง
สำหรับขั้นตอนนี้ เราสามารถเริ่มจากนำวงบ่อซีเมนต์หรือบ่อปูนอิฐบล็อกก็ได้ และแต่ความสะดวกมาแล้วให้แช่ด้วยต้นกล้วยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ เพื่อล้างความเป็นกรดและด่างของปูน จากนั้นล้างออกใช้แปรงถูจนสะอาด แล้วเปิดน้ำลงไปประมาณครึ่งบ่อ ใส่เกลือลงไป 1 ช้อนชา เพื่อปรับค่าของน้ำให้เป็นกลาง ใส่แร่ธาตุรวมลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เพราะปกติในดินจะมีแร่ธาตุธรรมชาติแต่ในบ่อปูนจะไม่มี จึงต้องซื้อธาตุรวมใส่ให้ด้วย ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเตรียมบ่อเลี้ยงแบบง่ายๆ จากนั้นให้หาจอก แหน ผักบุ้งลงไป โดยอย่าลืมใส่ดินลงไปในกระถางเก่าๆ กระถางแตกก็ได้ แล้วเอาไปวางไว้ในบ่อเพื่อให้หอยปังขึ้นมาวางไข่ รอบจนบ่อที่เตรียมไว้
2. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ หอยปังและโข่ง
สำหรับขั้นตอนนี้ กรณีเราเริ่มใหม่ไม่มีสายพันธุ์เลยเราสามารถหาสั่งซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ต หรือกลุ่มใน Facebook มีหลายกลุ่มและหลายฟาร์มที่ขาย พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ “หอยโข่ง และ หอยปัง” ซึ่งเราสามารถสั่งซื้อได้เลย ส่วนจำนวนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของบ่อเลี้ยง หลังจากที่ได้หอยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มา ก็สามารถนำมาปล่อยที่บ่อที่เตรียมไว้ได้เลย
3. เรื่องของอาหารของ หอยโข่ง และ หอยปัง
เราสามารถใช้อาหารสำเร็จรูปของปลาดุกเม็ดเล็ก หรือพวกใบมะละกอใส่ทั้งใบ (หอยปังชอบมาก) รากไม้ ใบไม้และกิ่งก้านพันธุ์ไม้น้ำ และเมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ หอยปังที่ไข่จะต้องมีอีกตัวมาประกบคู่อยู่ด้วยกันสักพัก แล้วอีกตัวก็จะขึ้นไปวางไข่ทันที
4. ราคาขาย และ ช่องทางการตลาด
อย่างที่กล่าวว่า “หอยปัง” สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายที่ฮิตสุดก็คือ “ก้อย” ราคาทั่วไปสำหรับพ่อแม่พันธุ์คู่ละ 30-50 บาท ส่วนจำหน่ายแบบเป็นกิโลกรัมๆ 100 บาท ซึ่งปริมาณของ หอยปังก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของหอยปังและสภาพแวดล้อมที่เลี้ยงภายในบ่อ รวมกับปริมาณการเลี้ยง ซึ่งในการเลี้ยงแรกๆ อาจมีรายได้ไม่มากแต่ก็พอหมุนเวียนนำมาใช้เป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวและเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น เข้าใจธรรมชาติของหอยปังมากขึ้น อาจทำให้เลี้ยงได้ง่ายขึ้น มีผลผลิตมากขึ้น สร้างรายได้ที่มากขึ้นให้กับเกษตรกรด้วย
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ