บทความเกษตร/เทคโนโลยี » ปลูกไผ่ได้มากกว่า…หน่อไม้

ปลูกไผ่ได้มากกว่า…หน่อไม้

21 กุมภาพันธ์ 2022
1760   0

ปลูกไผ่ได้มากกว่า…หน่อไม้ โดย คุณวรรณบดี รักษา (สวนไผ่เพชรน้้าผึ้ง จ.แพร่)




คุณวรรณบดี รักษา ผันตัวเองจากมนุษย์เงินเดือนสู่การทำการเกษตร แบบผสมผสาน โดยเริ่มจากพื้นที่เพียง 1 ไร่เศษ ในจังหวัดแพร่ และยึดหลักการ ทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง สู่อาชีพการเกษตรที่ยั่งยืนโดยอาศัย
หลัก ๕ ประการดังนี้

  1. การมีเหตุและผล คือ มีการเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยมีกระบวนการคิดอย่างมีระบบและมีเหตุผล
  2. ความพอประมาณ คือ ทำการเกษตรตามก าลังทุนและแรงที่มีอยู่
  3. มีภูมิคุ้มกัน คือ มีการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ใช้ทรัพยากรที่ได้จากท้องถิ่น มาใช้ทำปุ๋ยและสารป้องกันศัตรูพืช
  4. มีความรู้ คือ ต้องมีความรู้ในสิ่งที่จะทำ เช่น เข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่างๆ การศึกษาดูงาน การสอบถามผู้รู้ และการค้นคว้าจากสื่อต่างๆ เป็นต้น
  5. มีคุณธรรม คือต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้บริโภค

จากหลักการดังกล่าวทำให้ชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เพียงเริ่มจากพื้นที่ขนาดเล็ก มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด ทั้งพืชผักและผลไม้ รวมทั้งมีการเลี้ยงสัตว์ เพื่อบริโภคใน ครัวเรือน หากเหลือ จากการบริโภคก็จำหน่าย ทำให้เกิดรายได้ และเกิดความยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม

พืชที่สนใจเป็นพิเศษคือ ไผ่ เนื่องจากไผ่เป็นไม้สารพัดประโยชน์ของคนไทยมานาน เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ ทั้งกินหน่อ เป็นวัตถุดิบในการจักรสาน การก่อสร้าง นับได้ว่าสามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่รากถึงลำต้น ปัจจุบันมีคนนิยมหันมาปลูกไผ่มากขึ้น เช่น ไผ่ซางหม่น ไผ่กิมซุ่ง ไผ่ตง ไผ่ยักษ์ ไผ่เลี้ยงสีทอง ไผ่บงหวาน ซึ่งไผ่เหล่านี้ถูกนำไปแปรรูปเป็นสิ่งต่าง ๆ มากมาย เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของที่ระลึก กระเป๋า หมวก เครื่องดนตรี ตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน กระดาษเยื่อไผ่ ภาชนะ ของแต่งบ้าน และวัสดุ ทำตัวบ้าน เป็นต้น

สำหรับสวนไผ่เพชรน้ำผึ้ง (สวนของคุณวรรณบดี) จะเน้นการปลูกไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง ซึ่งไผ่ชนิดนี้ มีลักษณะพิเศษคือต้นใหญ่ ให้หน่อใหญ่ รสชาติไม่ขม มีลักษณะหวานกรอบ ไม่มีเส้นใย เนื้อของหน่อละเอียด มีกลิ่นหอม กลิ่นคล้ายๆ ข้าวโพดหวาน




ไผ่ต่อระบบเศรษฐกิจ

  1. การปลูกไผ่ระยะ 5 x 5 เมตร หรือ 64 กอ/ไร่ เมื่อไผ่อายุ 6-7 ปี สามารถตัดลำไผ่ ได้ประมาณ 600 ลำ/ไร่/ปี หรือสร้างรายได้ขั้นต่ าประมาณ 6,000 บาท/ไร่
  2. การทำไม้เส้นที่นำไปทำไม้ตะเกียบ ไม้เสียบอาหาร ราคาไม้ขนาด 2 มิลลิเมตร สร้างรายได้ ราคากิโลกรัมละ 18-21 บาท
  3. ไม้ไผ่รวกมีการ ซื้อ – ขาย เมตรละ 1 บาท หรือเฉลี่ยลำละ 10 บาท

ต้นทุนการ ปลูกไผ่ 1 ไร่

  • ค่าต้นพันธุ์ไผ่บงหวาน   10,000 บาท
  • ค่าปุ๋ยคอก    2,000 บาท
  • ค่าปุ๋ยเคมี   25 กิโลกรัม   500 บาท
  • ค่าดูแลรักษา และอื่นๆ  3,000  บาท
  • รวมต้นทุน  15,500  บาท

การปลูกไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง

ฤดูกาลปลูกไผ่ที่เหมาะสม คือ ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

เตรียมพื้นที่

พื้นที่ในการปลูกไผ่ควรตัดต้นไม้ใหญ่ออก เพราะจะไปแย่งอาหารจากไผ่ หากได้พื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะดีมาก เพราะไผ่เป็นพืชที่ต้องการน้ำ ในปริมาณมาก แต่ไม่ชอบน้ำขัง การเตรียมดิน เริ่มโดยการไถดะ ไถพรวน ตากดินไว้สัก 7-10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อ

Cr: https://forfarm.co/

วิธีปลูกไผ่

  • ขุดหลุมปลูกขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร
  • รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 กำมือ
  • นำต้นกล้าไผ่ลงวางและนำถุงพลาสติกออก กลบดินจนพูน
  • จากนั้นคลุมหลุมปลูกด้วยขี้เถ้าแกลบเพื่อเก็บความชื้น และทำให้ไผ่บงหวานโตเร็วขึ้น

การดูแลรักษา

การให้น้ำ เมื่อปลูกเสร็จเรียบร้อย รดน้ำให้ชุ่ม หากให้น้ำโดยระบบสปริงเกอร์ ควรให้นาน ประมาณ 1 ชั่วโมง ในช่วงนอกฤดูฝนควรให้น้ำ 3-4 วัน/ครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย หากตรวจดูดินยังไม่ชุ่มควรเพิ่มเวลาในการให้น้ำนานขึ้น เนื่องจากดินในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สำหรับในช่วงฤดูฝน การให้น้ำควรดูตามสภาพอากาศ หากมีฝนตกดินยังมีความชื้นอยู่ก็ยังไม่ต้องให้น้ำ ถ้าฝนขาดช่วงและสังเกตว่าดินแห้งก็ให้น้ำตามปกติ

การให้ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เช่น มูลวัวมูลควาย มูลไก่ มูลหมูและวัสดุที่เหลือจาก ภาคเกษตรกรรม เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ ขี้เถ้าแกลบ ขี้เถ้าจากชานอ้อยเผา กากถั่วเหลือง เป็นต้น ใส่บริเวณโคนไผ่กอละ 1 กระสอบ หรือประมาณ 30 กิโลกรัม ปีละ 2 ครั้ง

แนวทางการทำตลาด

การผลิตหน่อไม้บงหวานนอกฤดู ทำให้สามารถขายผลผลิตได้ในช่วงที่หน่อไม้ขาดแคลน และขาย ได้ตลอดทั้งปี การขายจะขาย ใน ตลาดสดใกล้ๆ บ้าน หรือขายหน้าสวน แต่ถ้ามีผลผลิต มากขึ้น ก็สามารถนำไปขายต่อให้พ่อค้าหรือแม่ค้าในตลาดสดอื่นๆ ที่ห่างออกไปและถ้าเกษตรกรปลูกกันมากขึ้นก็จะสามารถรวบรวมผลผลิตจัดส่ง ไปยังตลาดในจังหวัดอื่นๆในภาคเหนือและภาคกลาง แต่ในปัจจุบันผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการ

นอกจากนี้การปลูกไผ่ สร้างเสริมระบบเศรษฐกิจและทำให้เกิดอาชีพอื่น ๆ ขึ้นมาได้จำนวนมาก เช่น โรงงานทำตะเกียบ ไม้เสียบอาหาร โรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ของที่ระลึก อุตสาหกรรมเลี้ยงหอยทะเล อุตสาหกรรมแปรรูปหน่อไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมไม้เทียม รวมทั้งการนำไม้ไผ่มาทำถ่าน ทำของตกแต่งบ้าน และ อื่น ๆ อีกมาย

ที่มา :  สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ริมถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงพยาบาลการุญเวช นวนคร จังหวัดปทุมธานี 12120  www. wisdomking.or.th โทร:  0-2529-2212 or 0-2529-2213, คุณวรรณบดี รักษา



บทความอื่นๆที่น่าสนใจ