บทความเกษตร/เทคโนโลยี » มะพร้าวกะทิ วิธีการปลูกมะพร้าวกะทิ และการดูแลรักษา

มะพร้าวกะทิ วิธีการปลูกมะพร้าวกะทิ และการดูแลรักษา

14 กรกฎาคม 2021
19507   0

มะพร้าวกะทิ วิธีการปลูกมะพร้าวกะทิ และการดูแลรักษา

มะพร้าวกะทิ




มะพร้าวกะทิ เป็นมะพร้าวที่ผลมีเนื้อหนา ฟู อ่อนนิ่ม รสหวานมันอร่อย เป็นที่นิยม บริโภค โดยทั่วไปจะพบมะพร้าวกะทิเกิดร่วมกับมะพร้าวผลปกติในต้นมะพร้าวธรรมดาบางต้น เท่านั้น ปริมาณที่พบมีน้อย และหายาก จึงทำให้มะพร้าวกะทิมีราคาแพง ประมาณผลละ 30- 50 บาท แพงกว่ามะพร้าวธรรมดา 5-10 เท่า

ลักษณะเนื้อมะพร้าวกะทิ

มะพร้าวกะทิ วิธีการปลูกมะพร้าวกะทิ

เนื้อมะพร้าวกะทิ จะแตกต่างจากเนื้อมะพร้าวธรรมดา ทั้งนี้เนื้อมะพร้าวธรรมดาจะ มีคาร์โบไฮเดรต ชนิดหนึ่งที่ละลายน้ำได้ที่เรียกว่ากาแลคโตแมนนัน (Galactomannan) ซึ่งเป็น ส่วนประกอบของเนื้อมะพร้าวธรรมดา ถูกเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอลฟ่า-ดี-กาแลคโตซิเดส เปลี่ยนกาแลคโตแมนนัน เป็นคาร์โบไฮเดรตอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แมนนัน (Mannan) ซึ่ง สามารถละลายน้ำได้แต่ในมะพร้าวกะทิไม่มีเอนไซม์ตัวนี้ ทำให้กาแลคโตแมนนัน ซึ่งมีลักษณะ นิ่มคล้ายวุ้นยังคงลักษณะเดิม แทนที่จะเปลี่ยนเป็นเนื้อมะพร้าวธรรมดา

เนื้อมะพร้าวกะทิที่พบจะแบ่งได้ 3 แบบ คือ

  1. เนื้อหนาเล็กน้อย และนุ่มเล็กน้อย (นุ่มคล้ายข้าวสุก) น้ำข้นเล็กน้อย
  2. เนื้อหนาปานกลาง และนุ่มปานกลาง
  3. เนื้อหนามาก และฟูเต็มกะลา

การจำแนกลักษณะเนื้อมะพร้าวกะทิ  ดังกล่าวข้างต้นอาศัยจากประสบการณ์ทางสายตา

แหล่งมะพร้าวกะทิในธรรมชาติ 

มะพร้าวกะทิ วิธีการปลูกมะพร้าวกะทิ

ซูนิก้า (Zunica) ชาวฟิลิปปินส์ได้ทำการศึกษา โดยการควบคุมการผสมเกสรมะพร้าวต้นที่ให้ผลมะพร้าวกะทิ  และมะพร้าวธรรมดา ให้ผสมตัวเอง ผลปรากฎว่าได้ผลมะพร้าวธรรมดา 3 ส่วน และมะพร้าวกะทิ 1 ส่วน จึงสรุปได้ว่าการเกิดมะพร้าวกะทิเป็นเรื่องของพันธุกรรม ลักษณะการเกิดมะพร้าวกะทิถูกควบคุมโดยยืนเพียงคู่เดียว และถ่ายทอดตามกฎของเมนเดลทุกประการ ลักษณะกะทิเป็นลักษณะด้อย  ส่วนลักษณะธรรมดาเป็นลักษณะข่ม  และต้นมะพร้าวที่ให้ลูกเป็นกะทิอยู่ในสภาพฮีทธีโรไซโกท (Heterozygote)หรือลักษณะที่เป็นพันธุ์ทาง  เมื่อมะพร้าวธรรมดาผสมกับมะพร้าวพันธุ์ทาง  จึงให้ผลผลิตออกมาเป็นมะพร้าวธรรมดา 3 ส่วน มะพร้าวกะทิ 1 ส่วน

ปัจจุบันฟิลิปปินส์ได้พบมะพร้าวต้นที่ให้ผลมีเนื้อเหมือนมะพร้าวธรรมดาไม่ฟู  เมื่อเคี้ยวจะมีลักษณะนุ่มอร่อย  ฟิลิปปินส์เรียกมะพร้าวพันธุ์ดังกล่าวว่า “โลโน” (Lono) ผลมะพร้าวโลโนไม่สามารถเพาะให้งอกเป็นต้นเช่นเดียวกับมะพร้าวกะทิ




การสังเกตผลมะพร้าวกะทิ

การเก็บเกี่ยวมะพร้าวจากต้นที่เป็นกะทิในทะลายหนึ่ง  จะพบผลที่เป็นกะทิประมาณ 1 หรือ 2 ผล ใน 10 ผล  ข้อสังเกตผลที่เป็นกะทิอายุ 11-12 เดือน เมื่อเขย่าผลจะไม่ได้ยินเสียงดอนน้ำ  ถ้าเป็นมะพร้าวปกติจะได้ยินเสียงดอนน้ำ ชาวสวนมะพร้าวบางคนมีความชำนาญจากการฟังเสียง  เมื่อปอกเปลือกออกเหลือแต่กะลาแล้วใช้นิ้วดีดเสียงดังจะแตกต่างกันระหว่างมะพร้าวกะทิและมะพร้าวปกติ

ปรากฏการณ์การเกิดมะพร้าวกะทิในธรรมชาติ

มะพร้าวกะทิที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในมะพร้าวกลางและมะพร้าวใหญ่  ซึ่งเป็นมะพร้าวพันธุ์ต้นสูง  ที่มีช่วงการบานของดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย ไม่คาบเกี่ยวกันเนื่องจากต้นมะพร้าวที่ให้ผลมะพร้าวกะทิอยู่ในสภาพฮีทธีโรไซโกต(Heterozygote) หรือพันธุ์ทาง โอกาสจะเกิดมะพร้าวกะทิบางผลในมะพร้าวต้นนั้นจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ

  1. มะพร้าวที่ให้ผลกะทิ ปลูกอยู่เพียงต้นเดียวท่ามกลางมะพร้าวที่ให้ผลปกติ การจะเกิดมะพร้าวกะทิได้จะต้องเกิดจากการผสมเกสรระหว่างเกสรตัวเมียของจั่นพี่กับเกสรตัวผู้ของจั่นน้องภายในต้นเดียวกัน
  2.  มะพร้าวที่ให้ผลกะทิ ปลูกอยู่หลายต้นในบริเวณเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน การเกิดมะพร้าวกะทิจะเกิดจากการผสมข้ามต้น หรือผสมภายในต้นเดียวกันแต่คนละจั่น

นอกจากพบมะพร้าวกะทิ  ในมะพร้าวพันธุ์ต้นสูงแล้วยังพบมะพร้าวกะทิในพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม หรือหมูสีเขียว ซึ่งเป็นพันธุ์เตี้ย  โอกาสที่จะพบมะพร้าวกะทิในมะพร้าวน้ำหอมมีน้อยมาก  เพราะส่วนใหญ่จะเก็บผลอ่อนขาย  จะพบได้ในกรณีที่เจ้าของสวนเก็บผลไว้ทำพันธุ์  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น  จึงเป็นแนวทางในการพัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยพันธุ์แท้ต่อไป

การทำมะพร้าวธรรมดาให้เป็นมะพร้าวกะทิ

  1. เก็บผลมะพร้าวที่ผลปกติในทะลายที่มีมะพร้าวกะทิมาเพาะ เป็นวิธีที่เกษตรกรดำเนินการมาเป็นเวลานานแล้ว โอกาสที่จะได้ต้น มะพร้าวกะทิมีเพียงครึ่งเดียว
    ปลูกมะพร้าวกะทิ
  2. ควบคุมการผสมเกสรต้นมะพร้าวกะทิให้ผสมตัวเอง โดยการตัดดอกตัวผู้ไปผลิตเป็นละอองเกสรที่มีความชื้นไม่เกิน 15% เก็บใน ตู้เย็นช่องธรรมดาได้นาน 2 สัปดาห์ ใช้ถุงผ้าใบคลุมจั่นที่มีดอกตัวเมีย เมื่อบานก็น่าละอองเกสรผสมกับแป้งดินสอพอง อัตราส่วน 1:20 ไปพ่น ทุกวันจนกว่าดอกตัวเมียจะบานหมด ทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ แล้วจึงเปิดถุงออก วิธีการนี้จะมีโอกาสได้ต้นมะพร้าวกะทิ 2 ใน 3 แต่ต้นมะพร้าวกะทิส่วน ใหญ่จะสูงมาก จึงลำบากในการปีนขึ้นไปตัดดอกตัวผู้และผสมพันธุ์
  3. การน่าคัพภะมะพร้าวกะทิไปเพาะเลี้ยงในอาหารวิทยาศาสตร์ ใน ห้องปฏิบัติการสภาพปลอดเชื้อ ดร.อุทัย จารณศรี แห่งบริษัทบางกอกฟลาวเวอร์เซ็น เตอร์ จำกัด ได้ทำการเพาะเลี้ยงมะพร้าวกะทิที่ได้จากพันธุ์มะพร้าวใหญ่และมะพร้าวกลางใน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มะพร้าวกะทิมี 3 ลักษณะ คือ ผลใหญ่ กลาง และ เล็ก เริ่มปลูกตั้งแต่ปี 2531-2533 รวมต้นที่ปลูก 2,150 ต้น ที่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขา แหลม ในพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่ที่ปลูก มะพร้าวอยู่ห่างไกลจากมะพร้าวพันธุ์อื่นประมาณ 10 กม. เนื่องจากมะพร้าวกะทิที่ได้เป็น พันธุ์กะทิแท้อยู่ในสภาพรีเซสสิฟ โฮโมไซโกต (Recessive Homozygote) จึงพบลักษณะที่ ผิดปกติในต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิค่อนข้างสูง ลักษณะที่ผิดปกติที่พบ ได้แก่ ปล้องห่าง ก้านทาง ทำมุมแหลมกับลำต้น ใบย่อยแคบ และเรียงกันห่าง ๆ จั่นสั้น ระแง้จั้นหยิกไม่มีดอกตัวเมีย ผล บิดเบี้ยว เป็นต้น อย่างไรก็ตามสวนมะพร้าวกะทิ ดังกล่าวจัดว่าเป็นสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลผลิตที่ได้มะพร้าวกะทิ 100% และเป็นแหล่งพันธุกรรมมะพร้าวกะทิที่ มีประโยชน์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ ปัจจุบันดำเนินการโดย คุณจิตติ รัตนเพียรชัย และ ดร. อุทัย จารณศรี แห่งบริษัท อุติ จำกัด ซึ่งได้ให้ความเอื้อเฟื้อกับกรมวิชาการเกษตร โดยให้ ผู้เขียนไปศึกษาพันธุ์มะพร้าวกะทิและคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดี น่าดอกตัวผู้มาผลิต ละอองใช้ในการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิ
  4. การผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวกะทิเพื่อให้ได้พันธุ์กะทิต้นเตี้ยมีรสหอม หวานอร่อย โดยใช้มะพร้าวน้ำหอมเป็นต้นแม่พันธุ์ และละอองเกสรมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ผสม พันธุ์ เมื่อได้ลูกผสมชั่วที่ 1 น่าไปปลูกและควบคุมการผสมตัวเอง ในลูกชั่วที่ 2 จะมีโอกาสที่ได้ มะพร้าวกะทิ 1 ใน 6 ส่วน ในขั้นตอนต่อไปต้องอาศัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงคัพภะมาช่วยเมื่อได้ต้น มะพร้าวกะทิน่าไปปลูกคัดเลือกต้นที่มีลักษณะที่ต้องการ ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเลี้ยงคัพภะ เพื่อ เป็นพันธุ์การค้าต่อไป ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้เริ่มดำเนินผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์มะพร้าว น้ำหอมกับพันธุ์กะทิเมื่อต้นปี 2544

ประโยชน์มะพร้าวกะทิ

  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดอันตราย หรือ LDL
  • เพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ HDL
  • เสริมสร้างสุขภาพร่างกายและหัวใจให้ดีขึ้น
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้แลดูอ่อนกว่าวัย
  • เนื้อและน้ำมะพร้าวมี วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกายครบท้วน ไม่ว่าจะเป็น วิตามินซี วิตามินบี กรดอะมิโน ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และ ยังมีไขมันที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกายอีกด้วย ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ภายใน 5 นาที (น้ำมะพร้าว)

 ตลาดการค้ามะพร้าวกะทิ

การขายมะพร้าวกะทิส่วนใหญ่จะขายเป็นผล มีเพียงบริษัท อุติ จำกัด ที่จำหน่ายเฉพาะเนื้อมะพร้าวกะทิ และผลผ่าซีก ผลผลิตที่ได้จากสวนของบริษัทฯ  ในฤดูที่มีผลผลิตมากจะผ่าและแล่เนื้อมะพร้าวแช่แข็งไว้ และนำออกมาขายในฤดูกาลที่มีผลผลิตน้อย  ตลาดส่วนใหญ่คือกรุงเทพฯ เนื่องจากผลผลิตยังมีไม่มาก  ทั้งนี้เพราะแหล่งมะพร้าวกะทิมีอยู่กระจัดกระจาย  ยุ่งยากต่อการรวบรวมผลผลิตจึงไม่สามารถส่งขายต่างประเทศ  ทั้ง ๆ ที่ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการ เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป  ซึ่งมีคนเอเซียจากแหล่งปลูกมะพร้าวและรู้จักบริโภคมะพร้าวกะทิอพยพไปอยู่ยังคงมีกำลังซื้อและมีส่วนแบ่งในตลาดที่ไทยสามารถส่งออกได้  ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ส่งออกมะพร้าวกะทิทั้งในรูปเนื้อสดและแปรรูปมากที่สุด ในปี 2534 ส่งออกจำนวน 420 ตัน เป็นเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2537 ส่งออก 643 ตัน เป็นเงิน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในอนาคตการเพิ่มประชากรมะพร้าวกะทิให้มากขึ้นจะทำให้การเพิ่มผลผลิตของมะพร้าวกะทิพอเพียงสำหรับตลาดภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกตลาดต่างประเทศ  งานวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์และการแปรรูปมะพร้าวกะทิเป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการพร้อมกันไป  การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าวกะทิ  โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต  กาแลคโตแมนนัน (Galactomannan) ที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อมะพร้าวกะทิ ถ้าหากพบว่าเป็นกาแลคโตแมนนัน ชนิดเดียวกับที่เป็นส่วนประกอบของบุก การบริโภคมะพร้าวกะทิจะเป็นการเพิ่มสารที่เป็นกากใยช่วยให้ระบบการขับถ่ายของเสียจากลำไส้ได้ดีขึ้น

ผู้เขียนขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.อุทัย  จารณศรี และ คุณจิตติ  รัตนเพียรชัย ที่เอื้อเฟื้อให้ใช้ประโยชน์สวนมะพร้าวกะทิในการศึกษาวิจัย

เอกสารอ้างอิง

  1. ณรงค์  โฉมเฉลา  2530  เชื้อพันธุ์มะพร้าว ผู้แต่งจัดพิมพ์เอง หน้า 73-83
  2. อุทัย  จารณศรี จิตติ  รัตนเพียรชัย นภดล  ไกรพานนท์ และฐิติภาส  ชิตโชติ 2536  การทำสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ขนาดใหญ่ การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 31 หน้า 25-31
  3. เทศบาลตำบลยางหล่อ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 39180 โทร. 042-003255 โทรสาร. 042-003253

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ