บทความเกษตร/เทคโนโลยี » ข้อควรรู้เลี้ยงแมลงดานาสำหรับมือใหม่

ข้อควรรู้เลี้ยงแมลงดานาสำหรับมือใหม่

11 มกราคม 2021
3408   0

ข้อควรรู้เลี้ยงแมลงดานาสำหรับมือใหม่

ข้อควรรู้เลี้ยงแมลงดานาสำหรับมือใหม่

   “การเลี้ยงแมลงดานาสำหรับมือใหม่” แมลงดา, แมลงดานา หรือ ที่นิยมเรียกว่า แมงดา (Lethocerus indicus ) ที่เรานำมารับประทานส่วนใหญ่จับมาจากธรรมชาติแต่ปัจจุบันนั้น แมงดานา หายากมากในแหล่งน้ำธรรมชาติ และที่สำคุญราคาแพง เนื่องจากแมลงดานากาลังถูกคุกคามจากยาฆ่าแมลงถามว่า การเลี้ยงแมลงดานาสำหรับมือใหม่ นั้นเลี้ยงยากไหม…..ซึ่งตอบว่าไม่ยากเลย แต่ต้องสามารถเพาะลูกกบ อ๊บๆให้ได้เพราะแมลงดานาจะกินอาหารมีชีวิต เป็นๆเท่านั้น…ลูกกบเป็นอาหารที่ดีที่สุด โดยเฉพาะช่วงแมลงดาวัย อ่อนต้องกินลูกอ๊อด1ตัว/วัน/แมลงดานา 1 ตัว หรือ ถ้าสะดวกหาปลาหรือลูกปลาก็ได้เหมือนกัน

เริ่มต้นเลี้ยงแมลงดานา

บ่อเพาะเลี้ยงแมงดานา

ที่มารูปภาพบ่อเพาะเลี้ยงแมงดานา : อ.ชาตรี ต่วนศรีแก้ว

1. เลือกสถานที่สงบเงียบขุดเป็นบ่อสี่เหลี่ยมขนาดพอประมาณ แล้วแต่จะเลี้ยงมากหรือน้อย ขังน้าได้ประมาณ30 เซนติเมตรคลุมบ่อด้วยผ้าตาข่ายป้องกันแมลงดานาหนี ออกจากบ่อที่เราเลี้ยง
2. ปลูกไม้น้าให้แมลงดานาอาศัย เช่น ผักตบ สาร่าย หรือ ผักน้ำที่หาได้ตามพื้นที่เพื่อความสะดวก
3. ปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมลงดานาลงไป 1ตารางเมตรชะประมาณ 5 คู่ ให้อาหารพวกลูกกบ

การเลี้ยงแมลงดานาในถังพลาสติก

โดยขั้นตอนการเลี้ยงไม่ยากเริ่มจากการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ และใช้ถังไฟเบอร์ขนาดความจุ 1 ตัน ทาตะแกรงสีเขียวปิดป้องกันการหลบหนี ติดตั้งท่อน้าระบบพ่นฝอยที่ด้านบนของถัง มีประตูระบายน้าและจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติเพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่พันธุ์วางไข่

แมลงดานาในถังพลาสติก

การกินอาหารของแมลงดานา

วิธีจับเหยื่อกินของแมลงดานาจะเกาะตามกอหญ้าสงบนิ่ง ปล่อยให้เหยื่อไม่ว่าจะเป็นลูกอ๊อด ลูกกุ้งหรือลูกปลา ว่ายน้าเล่นจนเพลิน เมื่อเหยื่อเคลื่อนที่เข้ามาใกล้จะจับเหยื่อไว้แน่นแล้วแทงด้วยปากที่แหลมคมพร้อมกับปล่อยสารบางชนิดเข้าในตัวเหยื่อจนหมดแรงและตายลงในที่สุด และดูดน้าเลี้ยงหรือของเหลวในร่างกายเหยื่อจนหมด ทาซ้าหลายครั้งจนอิ่มและปล่อยเหยื่อทิ้งไป

การเพาะพันธุ์ของแมลงดานา

แมลงดานาจะเริ่มวางไข่ รุ่นที่ 1 ในเดือนมิถุนายน รุ่นที่ 2, 3 และ 4 จะวางไข่ในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน-ตุลาคม แมลงดานาจะกินอาหารที่ยังมีชีวิตและเคลื่อนไหวได้และไม่ยอมกินอาหารที่ ตาย แล้วหลังเตรียมบ่อ นากอหญ้าหรือกกปลูกในบ่อเป็นแถวคล้ายกับการดานา ให้พอเพียงกับแมลงดานาใช้ เกาะอาศัย ปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์แล้วประมาณ 1 เดือน ในช่วงผสมพันธุ์ แมลงดานาเพศผู้จะผลิตสารที่มีกลิ่นฉุน เพื่อดึงดูดเพศเมียให้มาเป็นคู่ผสม พันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์ไม่นานแมลงดาจะวางไข่บนกิ่งไว้เหนือระดับผิวน้า ประมาณ 15-20 เซนติเมตร คราวละ 100-200 ฟอง โดยมีเมือกเหนียวยึดไว้กับต้นกกหรือต้นหญ้า แมลงดา นาจะวางไข่เป็นแถว ลักษณะกลมรีมีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นยาว 0.2 เซนติเมตร สีน้าตาลเข้ม ส่วนปลายจะ มีรอยขีดและจุดสีน้าตาลอ่อนตรงส่วนปลายสุด ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 7-8 วัน พร้อมทิ้งตัวลงน้าในบ่อหา กินอาหาร ขนาดตัวอ่อนยาว 0.8 เซนติเมตร จากนั้นจะลอกคราบ 5 ครั้ง โดยจะลอกคราบทุก ๆ 5-7 วัน และ เป็นตัวเต็มวัยเมื่ออายุ 32-43 วัน

การเพาะพันธุ์ ของแมลงดานาในถังพลาสติก

  1. หาถังพลาสติกขนาดความจุ ไม่น้อยกว่า 1000 ลิตรมีรูระบายน้าล้นกรณีที่เราพ่นน้าทาฝนเทียม เพราะระดับน้าไม่นิ่งแมลงดานาจะไม่วางไข่ ปิดตาข่ายด้านบน
  2. ปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานา ลงไป ประมาณ 5 คู่ ใช้ไม้ไผ่พันด้วยตาข่ายเพื่อให้แมลงดานาวางไข่
  3. ให้อาหารพ่อแม่พันธุ์ เมื่อแมลงดานา สมบูรณ์ เร่งให้แมลงดานาวางไรโดยการฉีดพ่นน้าในตอนกลางคืน แมลงดานาก็จะวางไข่บริเวณไม้ที่เราเตรียมไว้
  4. นาไข่แมลงดาไปเพาะในบ่อเพาะฟักต่อไป บ่อเพาะฟักเราจะนาไข่แมลงดา มาแขวนไว้เหนือ บ่อน้าในบ่อเพาะฟัก ประมาณ 7-8 วัน แมลงดานาก็จะฟักเป็นตัวหล่นในบ่อน้าเป็นแมลงดานา ตัวอ่อน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 60 วันก็สามารถนาไปจาหน่ายได้

“ข้อควรรู้เลี้ยงแมลงดานาสำหรับมือใหม่”

ปัญหาที่พบ

แมลงดานาตาย

ที่พบคือแมลงดานาตายโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นเพราะหมดอายุ เพราะที่นามาเพาะส่วนใหญ่จะนาพ่อแม่พันธุ์มาจากธรรมชาติทาให้ไม่ทราบอายุที่แน่นอนซึ่งวงชีวิตแมลงดานา ประมาณ1 ปี

อาหาร

เคยลองให้อาหารต่างๆแก่แมลงดานาทุกช่วงอายุปรากฏว่าลูกอ๊อดลูกกบดีที่สุด ดังนั้น ถ้าจะเลี้ยงแมลงดานาให้สาเร็จต้องหัดเพาะกบให้ได้ก่อนแล้วค่อยมาเลี้ยงแมลงดานา เพราะใน1 วันลูกแมลงดานา กินลูกอ๊อดวันละ 1 ตัว แมลงดานาฟักออกจากไข่ 1 แม่ประมาณ 80-150 ตัวถ้าออกไข่พร้อมกัน 5 แม่จะต้องใช้ลูกอ๊อดเป็นอาหารวันละ 400 ตัว กบ 1 ตัวเมื่อเพาะจะได้ลูกกบประมาณ 800 ตัว

ตลาดแมงดานา

สำหรับตลาดของแมงดานานั้นยังเติบโตได้เรื่อยๆ เนื่องจากจำนวนแมงดานาตามธรรมชาติลดลง แต่ความต้องการแมลงดานายังคงมีจำนวนมากขึ้น จึงทำให้การเพาะเลี้ยงแมลงดานาสำหรับมือใหม่ นั้นยังมีโอกาศที่จะสร้างได้และสามารถประกอบเป็นอาชีพเสริมได้เพราะ แมลงดานา นั้นเลี้ยงง่าย ช่วงอายุสั้น และ คืนทุนไว แต่ก็ต้องศึกษาข้อมูลก่อนการเลี้ยงให้ดี และละเอียด

ขอบคุณแหล่งที่มา : กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน, สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  โทรศัพท์  :  0-2629-8972   Email : [email protected],  www.opsmoac.go.th


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ