บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เลี้ยงปลานิล ยังไงไม่ให้ขาดทุน พร้อมสูตรอาหารลดต้นทุน

เลี้ยงปลานิล ยังไงไม่ให้ขาดทุน พร้อมสูตรอาหารลดต้นทุน

24 ตุลาคม 2019
7675   0

เลี้ยงปลานิล ยังไงไม่ให้ขาดทุน พร้อมสูตรอาหารลดต้นทุน

เลี้ยงปลานิล


เกษตรกรทั้งที่มีพื้นฐานในการ เลี้ยงปลานิล อยู่แล้วหรือเป็นเกษตรกรใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลานิลเลยก็ตาม ถ้าอยากจะเลี้ยงปลานิลขาย ควรศึกษาข้อมูลได้จากที่นี่ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงการขาดทุนในการทำการเกษตร

  1. ควรใช้บ่อดินในการเลี้ยงปลาเพื่อที่จะทำให้ปลามีความใกล้เคียงกับปลานิลธรรมชาติมากที่สุด และยังลงทุนน้อยอีกด้วย
  2. สถานที่ที่จะใช้เลี้ยงปลา ควรมีแหล่งที่มาของน้ำ เช่น บ่อน้ำ หรือ ลำคลอง หรืออาจจะเป็น น้ำจากชลประทานก็ได้ เพื่อเอาไว้ใช้ในการปรับถ่ายน้ำในบ่อปลา
  3. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องสูบน้ำ แห อวน เพื่อใช้ในการจับปลา
  4. แหล่งที่มาของอาหารหรือวัชพืช เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา แหน สาหร่ายตามลำคลองเป็นต้น วัชพืชเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นอาหารปลาแทนอาหารเม็ดเพื่อลดต้นทุนในการเลี้ยงได้ สิ่งสำคัญๆก็มีประมาณนี้

เรามาดูขั้นตอนในการเลี้ยงปลากันเลยดีกว่าครับ อันดับแรกเราต้องคำนวณขนาดของบ่อปลาเพื่อที่จะใช้ในการเลี้ยงปลากันก่อนนะครับ โดยที่ 1 ไร่สามารถ เลี้ยงปลานิลได้ 800-1000 ตัว ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้าหากเราเลี้ยงปลานิลในจำนวนที่มากเกินไปก็จะทำให้ปลานิลในเวลาที่โตขึ้นมานั้นจะมีพื้นที่ที่ไม่พอ และจะทำให้ปลานิลที่เราเลี้ยงไว้นั้นโตช้าหรือไม่โตเนื่องจากมีพื้นและอากาศไม่เพียงพอกับปลาที่อยู่ในบ่อ

เลี้ยงปลานิล

การเลี้ยงปลานิลแรกๆนั้นควรเฝ้าระวังศัตรูทั้งหลาย เช่น กบ เขียด ปลาดุก ปลาช้อน ปลาชะโด วรนัสฯลฯ เพราะการเลี้ยงปลานิลในระยะแรกๆจะใช้ปลานิลตัวที่มีขนาดแค่ 3-5 ซม.เท่านั้น วิธีกำจัดศัตรูของปลานิลได้แก่การสูบน้ำในบ่อเลี้ยงปลานิลออกให้หมดก่อนนำปลาลงไปเลี้ยงเพื่อเป็นการเคลียร์บ่อและพักบ่อ

ควรใช้กระชังมุ้งไนล่อนสีฟ้าล้อมรอบบ่อเพื่อเป็นการกันสัตว์นักล่าต่างๆลงมากินปลาในบ่อ เช่น ตะกวด หรือ ตัวเงินตัวทองเป็นต้น

วิธีการปล่อยปลานิลลงไปในบ่อ 

     เมื่อเราซื้อพันธุ์ปลามานั้นจะมาในรูปแบบถุงเราไม่ควรที่จะปล่อยปลาในถุงลงไปในบ่อเลี้ยงปลาทันที ให้นำถุงพันธุ์ปลาวางแช่ลงไปในบ่อน้ำสัก 1-2 ซม.ก่อน เพื่อให้ปลาได้เตรียมตัวปรับตัวเข้ากับน้ำที่มีอุณหภูมิที่ต่างกัน เมื่อครบตามเวลาที่เหมาะสมแล้วให้เปิดปากถุงโดยให้น้ำในบ่อปลาเข้ามาและให้ปลาที่อยู่ในถุงว่ายออกไปเอง ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมากๆเพราะการกระทำแบบนี้จะช่วยทำให้ปลาแข็งแรงแล้วยังช่วยลดความเสียงของตัวปลาที่จะตายได้อีกด้วย หลังจากนั้นเราก็เลี้ยงปลาโดยการใช้อาหารหลักสัก 30-50% เพื่อที่จะใช้อาหารที่หาได้จากวัชพืช 50 หรือมากกว่า 50% ก็ได้เพื่อเป็นการลดต้นทุน โดยส่วนใหญ่ปลานิลจะเลี้ยงอยู่ประมาณ 12 เดือน ขึ้นไป หรือจะจับขายได้ตามขนานที่ตลาดต้องการ ปลาที่มีอายุ 12 เดือน จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 2-3 ตัว/กก.

เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตไวและเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากจึงทำให้เกษตรที่เลี้ยงปลานิลมักจะได้กำไรในจำนวนมาก และน้อยนักที่เกษตรกรเลี้ยงปลานิลตามวิธีข้างต้นนี้แล้วขาดทุน เพราะราคาทางตลาดจะมีราคาไม่ขึ้นลงไม่ห่างมากนักและค่อนข้างจะคงที่

อาหารปลาลดต้นทุน สูตร 1 ( อาหารปลากินพืช )

ส่วนประกอบ

  • ปลาป่น 10%
  • กากถั่วลิสง 20%
  • รำละเอียด 34%
  • กากงา 35%
  • ได-แคลเซียมฟอสเฟต 0.5%
  • เกลือแกง 0.3%
  • วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ 0.2 %

วิธีทำ

  • นำวัตุดิบมาบดให้ละเอียด
  • หลังจากนั้นนำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมรวมกัน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • นำมาอัดเม็ด โดยเติมน้ำเข้าไป 30-40 %
  • เมื่อได้อาหารอัดเม็ดแล้ว ให้นำไปผึ่งลมให้แห้ง

อาหารปลาลดต้นทุน สูตร 2 ( อาหารปลากินพืช )

ส่วนประกอบ

  • ปลาป่น 20%
  • กากถั่วเหลือง 35%
  • รำละเอียด 10%
  • ข้าวหรือเปลือกข้าว 34%
  • เมทไธโอนิน 0.5%
  • วิตามินและแร่ธาตุ 0.3%

วิธีทำ

  • นำวัตถุดิบมาบดให้ละเอียด
  • หลังจากนั้นนำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมรวมกัน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • นำมาอัดเม็ด โดยเติมน้ำเข้าไป 30-40 %
  • เมื่อได้อาหารอัดเม็ดแล้ว ให้นำไปผึ่งลมให้แห้ง

อาหารปลาลดต้นทุน สูตร 3 ( ปลาตะเพียน / ปลาแรด / ปลานิล )

สูตรสำหรับปลาเล็ก โปรตีน 24%

ส่วนประกอบ

  • ปลาป่น 10 %
  • กากถั่วเหลือง 30%
  •  รำ / กากมะพร้าวคั้นกะทิ 23(40)%
  • ปลายข้าว นึ่งหรือต้มสุก 27%
  • สารเหนียว 5%
  • วิตามินแร่ธาตุรวม 0.5-1 % หรือตามที่ระบุข้างถุง
  • น้ำมันพืช/ น้ำมันสัตว์ 3%
  • ไดแคลเซียมฟอสเฟต/ กระดูกป่น 1%

วิธีทำ

  • นำวัตุดิบมาบดให้ละเอียด
  • หลังจากนั้นนำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมรวมกัน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • นำมาอัดเม็ด โดยเติมน้ำเข้าไป 30-40 %
  • เมื่อได้อาหารอัดเม็ดแล้ว ให้นำไปผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 2 วัน

**สารเหนียวเป็นแป้งที่ผ่านกระบวนการทางเคมี ช่วยให้อาหารเกาะกันเป็นเม็ดดี แต่มีต้นทุนที่สูง ถ้าต้องการลดต้นทุนอาจใช้กล้วยน้ำว้าสุกแทนได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณมากประมาณ 5 เท่า อาหารจะสามารถอยู่ในน้ำได้นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง เช่น ถ้าต้องการทำอาหาร 10 กิโลกรัม ต้องใช้กล้วยน้ำว้าสุกประมาณ 2.5 กิโลกรัม 

ที่มา : withikaset.com




บทความอื่นๆที่น่าสนใจ