บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลา ลดต้นทุนเพิ่มรายได้

การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลา ลดต้นทุนเพิ่มรายได้

6 กุมภาพันธ์ 2021
9094   0

การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลา ลดต้นทุนเพิ่มรายได้

การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลาลดต้นทุนเพิ่มรายได้

การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลา ลดต้นทุนเพิ่มรายได้


การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลา ลดต้นทุน  สำหรับการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรรูปแบบการเกษตรผสมผสานนั้นกำลังได้รับความนิยมมาก  เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลา จะเป็นการพึงพิงกัน และจะเป็นแนวทางการประกอบอาชีพเพื่อที่จะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการขาดทุนจากอาชีพใดอาชีพหนึ่ง เนื่องจากแนวทางการเลี้ยงต่างพึ่งพาซึ่งกันและกันช่วนให้ประหยัดเรื่องของต้นทุนยอาหารปลาไปในตัว สามารถทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนต่อเนื่องตลอดปี และทำให้ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ในด้านการผลิต

        เกษตรกรจะต้องมีแหล่งน้ำสำหรับเลี้ยงปลา มีแหล่งวัตถุดิบที่จะใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ อย่างเพียงพอและมีราคาถูก มีแรงงานและเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้ในการเลี้ยงอย่างเพียงพอ รวมทั้ง ต้องมีตลาดรองรับผลผลิตของทั้งสองกิจกรรมอย่างชัดเจน

ขั้นตอนในการลงทุนและเลี้ยง

1. พันธุ์ไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลาลดต้นทุนเพิ่มรายได้
สำหรับสายพันธุ์ไก่ไข่นั้น เกษตรกรมือใหม่ สามารถหาพันธุ์แท้ อาทิเช่น พันธุ์โร๊ดไอแลนด ์ บาร์พลีมัทร็อค โดยต้องหาซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้และเป็นพันธุ์ดีให้ไข่ฟองโต ไข่ดก สีเปลือกตรงตามความต้องการของตลาด หรือจะใช้พันธุ์ไก่ไข่ที่ผลิตทางการค้า และมีจำหน่ายทั่วไป ตามตลาดสัตว์ และ สำหรับพันธุ์ปลาที่ใช้เลี้ยงนั้น ควรจะเป็นปลากินพืช ได้แก่ ปลานิล หรือ ปลานิลร่วมกับ ปลาสวาย ก็ได้ และไม่ควรเลี้ยงพวกปลากินเนื้อ รวมอยู่ด้วย

2. โรงเรือนและอุปกรณ์
โรงเรือนไก่ไข่
สำหรับโรงเรือนสำหรับขนาด 20-100 ตารางเมตร จะได้ไก่ไข่ประมาณ 200-300 ตัว บนบ่อปลาขนาด พื้นที่ 1 ไร่ซึ่งจะเลี้ยงปลานิลได้ประมาณ 3,000-4,000 ตัว โรงเรือนไก่ไข่ต้องสามารถป้องกันแดด ฝน และ ลมโกรก พื้นเล้าควรสูงจากระดับน้ำ 1-1.5 เมตร และมีช่องให้มูลไก่หล่นลงในบ่อได้ ภายใน โรงเรือนต้องมีอุปกรณ์ให้น้ำและให้อาหารอย่างเพียงพอ โดยใช้สัดส่วน 4-5 ถังต่อไก่ 100 ตัว และต้องมี รังไข่ 1 รังต่อไก่ไข่ 4 ตัว ในกรณีที่เลี้ยงแบบกรงตับจะต้องมีกรงตับสำหรับเลี้ยงไก่ไข่

3. การจัดการเลี้ยงดู

      ควรเริ่มด้วยการนำไก่สาว ขนาดอายุ 18-20 สัปดาห์ มาเลี้ยงในคอกบนบ่อปลาซึ่งปล่อย ปลากินพืช อาทิ ปลานิลขนาด 3-5 เซนติเมตร โดยนำไก่มาเลี้ยงหลังการเตรียมบ่อและน้ำมีสีเขียวแล้ว การให้อาหารไก่ไข่จะใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไป หรืออาจลดต้นทุนด้วยการผสมอาหารใช้เองจากวัตถุดิบ ที่มีในท้องถิ่น โดยอาหารที่ให้ต้องมีโภชนะตามที่ไก่แต่ละระยะต้องการ และจะต้องให้อาหารอย่างเพียงพอและ สม่ำเสมอ ไก่ไข่จะกินอาหารประมาณ 120 กรัมต่อตัวต่อวัน และต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา เพราะเป็นการเลี้ยงระบบเปิด จะทำให้อากาศร้อนกว่าปรกติ

การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลาลดต้นทุนเพิ่มรายได้

      ในส่วนของอาหารปลานั้น โดยหลักการผสมผสานปลาจะอาศัยมูลไก่ และ เศษอาหารที่ตกหล่นลงในบ่อรวมทั้ง
อาหารตามธรรมชาติในบ่อ เช่น แพลงก์ตอน ตะไคร่น้ำ และแมลงต่างๆ ในระยะที่ปลายังเล็กอยู่อาจต้องมี การเสริมอาหารข้นบ้าง เพื่อช่วยให้ลูกปลาแข็งแรง ไก่ไข่จะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 22 สัปดาห์ ใน 1 ปี แม่ไก่สามารถให้ไข่ไก่ได้ ประมาณ 250-280 ฟองต่อตัวต่อปี และจะปลดระวางไก่ไข่หลังจากเริ่มไข่แล้ว ประมาณ 1 ปี หรือเมื่อให้ผลผลิตต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของฝูง ส่วนการจับปลาจำหน่ายจะเริ่มคัดปลาที่มี ขนาดใหญ่ออกจำหน่าย เมื่อมีอายุได้ประมาณ 4-5 เดือนเป็นต้นไป

“การเลี้ยงไก่ไข่ผสมผสานกับการเลี้ยงปลา ลดต้นทุนเพิ่มรายได้”

4. การควบคุมและป้องกันโรค

      สำหรับไก่ไข่ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคระบาดที่สำคัญตามโปรแกรมที่กำหนดได้แก่ วัคซีน ป้องกันโรคนิวคลาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบ โรคอหิวาต์และโรคฝีดาษ

ต้นทุนและผลตอบแทน

สำหรับไก่สาว จำนวน 300 ตัว ในโรงเรือนขนาด 100 ตารางเมตร บนบ่อเลี้ยงปลานิลที่มีพื้นที่ 1-2  ไร่ และปล่อยปลานิล จำนวน 4,000 ตัว
1. ต้นทุน
จะเกิดจากค่าโรงเรือน อุปกรณ์ ค่าพันธุ์ไก่ไข่และปลานิล ค่าอาหาร ค่าวัคซีนและเวชภัณฑ์ รวมมีต้นทุนประมาณ 180,000-190,000 บาท ต้นทุนนี้จะลดลงในการเลี้ยงปีต่อๆ ไปเนื่องจากไม่ต้องลงทุน ในเรื่องโรงเรือน และอุปกรณ์อีก

 2. ผลตอบแทน จะได้จาก

      1) การจำหน่ายไข่ไก่ จำนวน 250-300 ฟองต่อตัว ต่อปี  ราคาจำหน่ายในราคาฟองละ 1.80 บาท คิดเป็นเงินประมาณ 135,000 -151,000 บาท
     2) การจำหน่ายไก่ปลดระวาง จำนวน ประมาณ 250-300 ตัว ในราคาตัวละ 50 บาท คิดเป็นเงิน ประมาณ 12,500 – 15,000 บาท
     3) การจำหน่ายปลา จำนวนประมาณ 1,200 กิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 30 บาท  คิดเป็นเงิน 36,000 บาท
อย่างไรก็ตามต้นทุนและผลตอบแทนดังกล่าว จะเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งที่เลี้ยง สภาวะการ ตลาด และขนาดของการผลิต โดยเฉพาะราคาพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ และราคารับซื้อผลผลิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนการตัดสินใจเลือกเลี้ยง เกษตรกรจะต้องศึกษาข้อมูล และรายละเอียดให้ชัดเจนเสียก่อน

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

จากการรับฟังเกษตรกรที่มาติดต่อกับหน่วยงานของราชการส่วนใหญ่ ในขณะนี้พบว่ายังมีปัญหาบางประการที่จะต้องแก้ไข เพื่อปรับปรุงการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานของเกษตรกรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น คือ
เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจการเลี้ยงปลาที่ถูกต้องทำให้ประสบปัญหาในเรื่องน้ำเสีย ปลาเป็นโรค หรือปลาตายมาก เป็นต้น ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
       1 ปล่อยปลาในบ่อหนาแน่นเกินไป ทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
       2 จำนวนสัตว์เลี้ยงไม่สัมพันธ์กับปลาในบ่อ ถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงน้อยเกินไปต้องเพิ่มอาหารสม ทบจะเป็นการสิ้นเปลือง หรือถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงมาก น้ำในบ่อเป็นสีเขียวเข้มเพราะมีแพลงก์ตอนพืชเกิดมากก็จะดึงเอาออกซิเจนจากน้ำไปใช้ทำให้ปลาตายได้
      3 บ่อที่ขุดใหม่ ๆ จะมีปัญหาถ้าดินเปรี้ยว เพราะเมื่อฝนตกน้ำจะชะเอาความเปรี้ยวจากดินลงสู่บ่อ
สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกะทันหัน อาจทำให้ปลาตายได้ ซึ่งแก้ไขโดยนำปูนขาวโรยบริเวณขอบคันบ่อก่อนฤดูฝนและทุก 2 สัปดาห์
      4 การใช้ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ในไร่นาที่มีการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ถ้าไม่จำเป็นจริง 
ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะเป็นอันตรายต่อปลาได้

ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรที่จะเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

  1. ควรศึกษาหาความรู้ด้านการเลี้ยงปลาให้ดีก่อนที่จะดำเนินการโดยการหาเอกสารคำแนะนำ ตำราที่เขียนให้เฉพาะเกษตรกรมาอ่านก่อนแล้วสอบถามเพิ่มเติมจากผู้รู้ ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่หรือขอเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐที่เปิดอบรมทุกปี ปีละหลาย ๆ ครั้ง
  2. ผู้เลี้ยงปลาควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าพันธุ์สัตว์ พ่อค้า สัตว์น้ำ หรือพ่อค้าอาหารสัตว์ ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้และมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันแล้วปัญหาเรื่องการถูกโก่งราคา ปัจจัยการผลิต และการกดราคารับซื้อผลผลิตจะทุเลาเบาบางลงไปอย่างมาก
  3. เกษตรกรควรหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยสำหรับใช้ตัดสินใจในการประกอบอาชีพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ รายการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม เป็นต้น
  4. เกษตรกรควรหมั่นฝึกตนให้เป็นคนหนักแน่น รู้จักพินิจพิเคราะห์ในการประกอบอาชีพ จึงจะ
    ได้ผลสำเร็จที่แท้จริง

แนวโน้มการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานในอนาคต

     จากผืนแผ่นดินซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและคงที่ แต่ความต้องการใช้ประโยชน์กลับเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากการดิ้นรนเพื่อแสวงหาปัจจัยสี่อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานเป็นการเลี้ยงปลาอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะช่วยพัฒนาพื้นที่ให้เกิดศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาขาดแคลนอาหารโปรตีน ทั้งยังก่อให้เกิดรายได้ และช่วยให้สภาพแวดล้อมมีความสมดุล ไม่ส่งผลกระทบต่อการเสริมสร้างมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถใช้น้ำเพื่อการเลี้ยงปลา ขอบคันบ่อเป็นที่เลี้ยงสัตว์บกและปลูกพืชผัก จึงเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าในที่สุด
แหล่งข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร

ขอบคุณแหล่งที่มา : กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน , สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทรศัพท์  :  0-2629-8972
Email : [email protected]www.opsmoac.go.th

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ