บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เกษตรกรรมทางเลือก “ไร่นาสวนผสม” วิธีชีวิตสู่ความพอเพียง

เกษตรกรรมทางเลือก “ไร่นาสวนผสม” วิธีชีวิตสู่ความพอเพียง

29 มกราคม 2023
3401   0

เกษตรกรรมทางเลือก  “ไร่นาสวนผสม”  วิธีชีวิตสู่ความพอเพียง

ไร่นาสวนผสม




ไร่นาสวนผสม

คือ การทำการเกษตรที่มีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง และกิจกรรมอื่นๆ มากกว่าสองกิจกรรมในฟาร์ม เพื่อตอบสนองต่อการบริโภค ลดความเสี่ยง จากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเลี้ยงหมูคู่กับการเลี้ยงปลาในนาข้าว การปลูกไม้ยืนต้น เช่น ฝรั่ง ไผ่ กล้วยมะละกอ รอบริมสระน้ำ เป็นต้น

แล้ว เริ่มต้นยังไงดี?

จัดการพื้นที่

  • แบ่งพื้นที่บางส่วน ซึ่งในระยะแรกรายได้จะเกิดจากผลผลิตบางส่วน
  • การปลูกไม้ผล ในที่ลุ่มหรือที่นาเดิม ควรยกรองและมีคันดินรอบแปลง ส่วน ในที่ตอน ลาดชันไม่เกิน 30% มีหน้าดินลึกกว่า 1 เมตร และดินชั้นล่างต้องไม่เป็นดินดานหรือหิน
  • พื้นที่ที่น้ำท่วมเป็นประจำ ควรขุดบ่อเลี้ยงปลา หรือทำนาบัว นาผักบุ้ง ฯลฯ
  • กรณีที่สภาพดินมีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินพรุ และดินที่มีปัญหาอื่นๆ ควรมีการปรับปรุงก่อนปลูกพืช

จัดการแหล่งน้ำ

  • ควรมีสระน้ำ คูคลอง ร่องน้ำหรือแหล่งน้ำเสริมในฤดูแล้งประมาณ 30% ของพื้นที่
  • อาจขุดบ่อบาดาล เพื่อใช้ในหน้าแล้ง สำหรับพืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ
  • ขุดบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเป็นแหล่งอาหาร โปรตีน และเพิ่มรายได้ในหน้าแล้งรวมทั้งได้อาศัยน้ำรดพืชผักสวนครัว บริเวณขอบบ่อ

จัดการเงินทุน

  • เงินทุนระยะแรกจะค่อนข้างสูงควรทำกิจกรรมเสริมเพื่อให้ผลตอบแทนในระยะสั้น
  • ควรจัดสรรเงินทุนให้สอดคล้องกับชนิด และกิจกรรมการผลิต
  • ควรจัดทำบัญชีฟาร์ม เพื่อให้ทราบ ผลตอบแทนการลงทุนและนำไป วางแผนปรับปรุงต่อไป

จัดการกิจกรรมการผลิต

  • การเลือกกิจกรรมการเกษตร ควรพิจารณาดังนี้
    • เป็นกิจกรรมที่ทำรายได้ให้ผลตอบแทนเร็ว
    • เป็นการผลิตอาหารหรือเครื่องมือเครื่องใช้
    • เป็นกิจกรรมด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละฟาร์ม แต่ละพื้นที่
  • ควรปลูกพืชอายุสั้นแชม กรณีปลูกไม้ผลช่วงระยะ 1-3 ปีแรก
  • ปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน เช่น ปลูกมะพร้าว กลัวย มะละกอ พืชผักบริเวณคันดินล้อมแปลงไม้ผล
  • แบ่งพื้นที่เพื่อปลูกพืชหมุนเวียนอายุสั้น และให้ผลตอบแทนสูง
  • ปลูกข้าวไว้บริโภคเอง และเหลือเพื่อจำหน่าย
  • บ่อปลาควรอยู่ใกล้บ้าน จัดการเรื่องน้ำได้โดยวางแผนการผลิตและการตลาดให้รอบคอบ

ที่มา : กลุ่มจัดการฟาร์มและเกษตรกรรมยั่งยืน, กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร 02-9406055


ตัวอย่างการทำ ไร่นาสวนผสม (คลิป) Youtrube  เกษตรอิสาน ยุคใหม่




บทความอื่นๆที่น่าสนใจ