บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ พร้อมสูตรอาหาร

การเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ พร้อมสูตรอาหาร

7 กุมภาพันธ์ 2022
15909   0

การเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ พร้อมสูตรอาหาร

การเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ 





ปลาไหล (eel) สัตว์น้ำจืดที่คุ้นเคยของคนไทย ไม่เพียงเป็นวัตถุดิบชั้นเลิศในเมนูอาหารพื้นบ้าน หากยังเป็นสัตว์ เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ชุมชนปีละหลายล้านบาท แต่จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การขยายพื้นที่ของชุมชนเมือง การทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ และการปล่อยของเสียลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้ปริมาณปลาไหลจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง

ปลาไหล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monopterus albus Zuiew ปลาไหลที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่ค่อนข้างนิ่ง เช่น คูน้ำ ห้วย หนองคลอง บึง เรียกว่า ปลาไหลบึง (swamp eel) ส่วนปลาไหลที่เจริญเติบโตในนาข้าว เรียกว่า ปลาไหลนา (rice-field eel) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เอี่ยน”

ปลาไหลอาศัยอยู่ตามพื้นโคลนที่มีซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสม ปกคลุมด้วยวัชพืชที่ชื้นแฉะ ในฤดูแล้งขุดรูลึก 1-1.5 เมตร ฝังตัวในลักษณะจำศีลใต้พื้นโคลน และสามารถอยู่อาศัยในที่แห่งแล้งได้นาน

แนวทางการเลี้ยงปลาไหล

รูปร่างคล้ายงู ไม่มีเกล็ด มีตาขนาดเล็ก 1 คู่บริเวณหัว ปลายหางแบนยาว ความยาว 29-150 เซนติเมตร มีสองเพศในตัวเดียวกันช่วงที่ออกจากไข่ถึงช่วงวัยอ่อนจะเป็นเพศเมีย เมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นเพศผู้อย่างถาวร สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ปลาไหลนา ปลาไหลแดงหรือปลาหล่อย ปลาไหลหลาดหรือปลาไหลงู

ความแตกต่างของปลาไหลนาเพศผู้และเพศเมีย

ปลาไหลนาเพศผู้     ลักษณะภายนอกความยาวจะประมาณ 60 เซนติเมตรขึ้นไปและน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 300 กรัม ขึ้นไป ท้องจะไม่อูม ส่วนลำตัวจะยาวเรียว ช่องเพศ สีขาวซีดไม่บวม ลำตัวจะมีสีเหลืองคล้ำ

ปลาไหลนาเพศเมีย  ลักษณะภายนอกความยาวประมาณ 29.5 ถึง 60 cm  น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 70 ML 250 กรัม ลักษณะช่องท้องจะอูมในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ส่วนลำตัวจะค่อนข้างอ้วนท้องป่อง ช่องเพศ  จะมีสีแดงเรื่อ บวม ในช่วงถึงฤดูผสมพันธุ์ ลำตัวของปลาไหลเพศเมียจะเหลืองเปล่งปลั่ง

รูปแบบการวางไข่ปลาไหลนา

  • การวางไข่บริเวณกอหญ้าหรือพืชน้ำ

สำหรับปลาไหลเพศเมียและเพศผู้นั้นจะจับคู่ก่อหวอด ซึ่งเพศเมียจะใช้ปากในการดูดไข่ที่ผสมเชื้อแล้วพ่นติดกันหวอด เกาะเป็นกลุ่มบริเวณกอหญ้าบนผิวน้ำ

  • การวางไข่ที่ปากรู

สำหรับปลาไหลเพศเมียนั้นจะใช้ลำตัวดำดินปากรูให้เป็นโพรงสูงกว่าระดับน้ำประมาณ 1 milk เพื่อให้ไข่ลอยน้ำอยู่ในโพรงได้ ซึ่งตาหลังเลิกงานจะคอยระวังศัตรูอยู่ภายในรู และเฝ้าดูไข่จนกว่าลูกปลาไหลจะฟักเป็นตัวและเลี้ยงจนมีขนาด 3-4 นิ้ว ซึ่งลูกปลาไหลจะกินซากพืชและสัตว์หรือแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร

ขั้นตอนในการเตรียมบ่อซีเมนต์ในการเลี้ยงปลาไหล

สำหรับขั้นตอนในการเตรียมบอกนั้นสามารถที่จะเลี้ยงปลาไหลได้ทั้งวันพ่อซีเมนต์แบบกลมและบ่อซีเมนต์แบบก่ออิฐบล็อกขนาดต่างๆขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคนในการเลี้ยงและความสะดวกสบาย

เรามาดูขั้นตอนการเตรียมบ่อเลี้ยง




การเตรียมบ่อซีเมนต์ ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์บ่อใหม่ต้องมีการกำจัดฤทธิ์ของซีเมนต์ ด้วยด่างทับทิม กลือสินเธาว์  หรือตัดต้นกล้วยสับผสมน้ำแช่ไว้1- 2 สัปดาห์ แล้วล้างทำความสะอาดและตากไว้ 1-2 วัน เพื่อลดความเป็นด่างของบ่อ 

หลังจากนั้นให้ใส่พืชน้ำเช่น ผักบุ้ง และ ผักตบ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยอำพรางตัวคลายร้อน และ เพิ่มออกซิเจนในน้ำ พร้อมทั้งใส่ดินที่มาจากแหล่งชุกชุมของปลาไหลตามธรรมชาติลงในบ่อสูงประมาณ 15 ถึง 30 เซนติเมตรหรือตามความเหมาะสมของบ่อ  แล้วทำการเติมน้ำให้พ้นจากผิวดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร

การเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์

อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนา

  • เลือกพ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนัก 300 – 420 กรัม ลำตัวยาว 60 เซนติเมตร  แม่พันธุ์ที่มีน้ำหนัก 70-250 กรัม ลำตัวยาว 29-50 เซนติเมตร
  • ปล่อยพ่อพันธ์แม่พันธุ์ในสัดส่วน (เพศผู้: เพศเมีย ) 1 : 3 ต่อพื้นที่  1 ตารางเมตร
  • ลูกปลาไหลเมื่อมีอายุ 2 อาทิตย์ นำแม่พันธุ์ออกจากบ่อซีเมนต์ เพื่อป้องกัน
    การกินลูกตัวเอง

การดูแลและจัดการ

  • สังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของปลาไหล ปรับปริมาณอาหารให้พอดี ตามความต้องการ
  • หากให้อาหารสด ควรเปลี่ยนน้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง หากเป็นอาหาร สำเร็จรูป ควรเปลี่ยนน้ำทุก 10-20 วัน คุณภาพน้ำส่งผลให้ปลาไหล เจริญเติบโตได้ดี อัตราการรอดสูงและลดความเสี่ยงการเกิดโรค
  • โกยดินในบ่อเลี้ยงอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งเพื่อดูปริมาณไข่ การเจริญเติบโต
    และจำนวนประชากรของปลาไหล

การให้อาหารปลาไหล

  • ปลาไหลขนาดความยาว 2.5-3 เซนติเมตร จะกินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆวันละ 2 ครั้ง
  • ปลาไหลขนาดความยาว 5 เซนติเมตร ฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปร่วมกับหนอนแดง
  • ปลาไหลขนาดความยาว 8-10 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 6 สัปดาห์ เริ่มให้อาหารสดบด เช่น โครงไก่ วันล่ะ 2 ครั้ง

ให้อาหารเสริมปลาไหล 2 วัน/ครั้ง ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารปลาดุก อาหารปลานิล อาหารลูกอ๊อด ต้นกล้วยสับ

สูตรอาหารปลาไหลลดต้นทุน

ส่วนประกอบของอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาไหล

  • รำ
  • กากน้ำตาล
  • EM
  • ขี้ปลา ไม่ว่าจะเป็นขี้ปลาดุก ปลานิล ปลาช่อน ใช้ได้ทั้งหมดครับ

การเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ พร้อมสูตรอาหาร

อัตราส่วน 1:1 หมักทิ้งไว้ 1 คืน แล้วปั้นให้เป็นก้อน แล้วนำออกไปแตกแดดให้แห้งสนิทเลยนะครับ การให้อาหารก็ประมาณ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง บ่อหนึ่งจะให้อาหารแก่ปลาไหลประมาณ 10 ก้อนต่อบ่อและอาจจะเป็นพวกปลาต า ยก็สามารถเป็นอาหารของปลาไหลได้   การให้อาหารก็กระจายเป็นจุดๆ ในบ่อ 

การสังเกตลักษณะการป่วยของปลาไหล 




  • ปลาไหลจะออกมาจากรูดินลอยอยู่ในน้ำบ่อย และหุบเอาอากาศบ่อย ๆ
    วิธีแก้ไข ควรแยกปลาไหลออกมาพักนอกบ่อ โดยใส่ถังหรือกะละมังไว้ เปลี่ยนน้ำทุกวันประมาณ 3-5 วัน ดูความแข็งแรง หากไม่แข็งแรงใช้ด่างทับทิม แช่ไว้ประมาณ 1 วัน เปลี่ยนน้ำให้บ่อยที่สุด ตรวจสอบคุณภาพน้ำ หรือล้าง พักบ่อทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์
  • ปลาไหลมีแผล
    วิธีแก้ไข แช่ด่างทับทิม จำนวน 1-3 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 1 วัน เปลี่ยนน้ำทุกวันประมาณ 3-5 วันดูความแข็งแรง แล้วปล่อยลงบ่อเหมือนเดิม


ข้อควรระวัง 

  1. การนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาไหลจากธรรมชาติเข้ามาเลี้ยง ควรระมัดระวังในเรื่องการลำเลียง ไม่ควรให้หนาแน่นมากเกินไป ปลาไหลจะบอบช้ำได้
  2.  การนำปลาไหลมาเลี้ยงควรคัดขนาดและอายุที่ไม่ต่างกันมาก เพื่อลดปัญหาการกัดกินกันเอง
  3. การนำปลาไหลมาเลี้ยงควรพักไว้ในถังหรือกาละมัง ไว้ประมาณ 3 – 4 วัน ก่อนลงบ่อเลี้ยง
  4. อาหารที่ให้ปลาไหลช่วงแรกไม่ควรแตกต่างจากที่เคยกินในธรรมชาติ (หอย, ปลาสับ) เนื่องจากปลาไหลจะไม่ยอมกินอาหาร
  5. เมื่อพบปลาไหลแสดงอาการผิดปกติหรือป่วยควรรีบตรวจสอบสาเหตุ และแก้ไขทันที เลือกใช้ยารักษาโรคหรือสารเคมีที่เหมาะสม การรักษา อาการป่วยเมื่อเริ่มพบปัญหา จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีและประหยัด
    ค่าใช้จ่ายการรักษา

ข้อมูล : โดย อาจารย์นิชาภา เฉตระการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์
โครงการการพัฒนาชุมชนเขตทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 7000 โทรสาร 0 2564 7004 อีเมล [email protected] www.nstda.or.th/agritec

ช่องยูทูป ทุ่งกุลา channel, บ่าวอีสาน เมืองน้ำดำ




บทความอื่นๆที่น่าสนใจ