บทความเกษตร/เทคโนโลยี » ปลูกผักหวานป่า(Melientha suavis Pierre) เก็บยอดและตอนกิ่งขายรายได้ดี

ปลูกผักหวานป่า(Melientha suavis Pierre) เก็บยอดและตอนกิ่งขายรายได้ดี

20 กุมภาพันธ์ 2021
2196   0

ปลูกผักหวานป่า(Melientha suavis Pierre) เก็บยอดและตอนกิ่งขายรายได้ดี

ปลูกผักหวานป่า(Melientha suavis Pierre)

ปลูกผักหวานป่า(Melientha suavis Pierre)


ปลูกผักหวานป่า(Melientha suavis Pierre) เก็บยอดและตอนกิ่งขายรายได้ดี  ผักหวานป่า มีชื่อพื้นเมืองแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ผักหวาน (สุรินทร์) Hvaan (ลาว) Rau (เวียดนาม) Daam prec (กัมพูชา)Tangal (มาเลเซีย) Malatado (ฟิลิปปินส์) ผักหวานป่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบ ประเทศเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค

การขยายพันธุ์

ปลูกผักหวานป่า(Melientha suavis Pierre)
การขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยทั่วไปนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากเมล็ดผักหวานป่ามีปริมาณมาก มีวิธีการเพาะที่ไม่ยุ่งยากและมีอัตรา การงอกสูง ส่วนการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การตอน หรือการปักชำ มีเปอร์เซ็นต์การออกรากต่ำมาก ส่วนวิธีการขุดล้อมต้นผักหวานจากป่ามา ปลูกจะประสบความสำเร็จน้อยมาก ต้นผักหวานมักจะตายหมด มีส่วนน้อยที่ อยู่รอดแต่เจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก และยังเป็นการลดปริมาณผักหวานที่มีอยู่ในธรรมชาติอีกด้วย

การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

การเก็บผลและการเตรียมเมล็ดสำหรับเพาะ ผลผักหวานป่าจะแก่และเก็บได้ประมาณเดือนเมษายน-มิถุนายน ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น การเก็บผลผักหวานมาเพาะควรเก็บจากต้นในขณะที่ผลมีสีเขียวปนเหลือง ซึ่งจะให้อัตรา การงอกสูงกว่าผลที่ร่วงแล้ว

ผักหวานป่า

การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ

รูปแบบการตอนกิ่งผักหวานป่า

เลือกกิ่งกระโดงขนาดไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ควรเป็นกิ่งอายุประมาณ 1 ปี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใช้มีดควั่นรอบกิ่งใต้ตา ด้านบน แล้วจึงควั่นเปลือกด้านล่างให้ห่างกันประมาณ 2 นิ้ว ลอกเปลือกออก ให้หมด ใช้มีดขูดเยื่อเจริญที่หุ้มกิ่งออกให้หมด ควรขูดจากด้านบนลงด้านล่าง เพื่อไม่ให้ส่วนที่ออกรากช้ำ ทาฮอร์โมนเร่งราก แล้วหุ้มด้วยถุงตอน ซึ่งบรรจุ ขุยมะพร้าว รัดให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ดูแลกิ่งตอนไม่ให้ขาดน้ำ โดยสังเกตจาก ไอน้ำที่เกาะตามถุงตอน ถ้าแห้งต้องให้น้ำ โดยใช้หลอดฉีดยาฉีดน้ำเข้าไปในถุงตอน ประมาณ 2-3 เดือนจึงออกราก เมื่อรากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ประมาณ 4-6 เดือน จึงค่อยย้ายชำหรือย้ายลงปลูก

ตอนกิ่งผักหวานป่า
การย้ายชำ กิ่งตอนควรตัดใบออกให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อลดการคายน้ำ วัสดุที่ใช้ชำเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้เพาะเมล็ด ใส่วัสดุรองก้นถุงให้สูงพอ ประมาณ นำกิ่งชำใส่ลงในถุงแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะให้มิดกระเปาะหุ้มราก นำไปบำรุงรักษาในเรือนเพาะชำที่มีแดดรำไร รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 2-3 สัปดาห์จะเริ่มแตกใบอ่อน เมื่อใบชุดแรกที่แตกออกมามีสีเขียวเป็นมัน เช่นผักหวานทั่วๆ ไป ให้นำผักหวานออกไปปลูกได้ ใช้ระยะเวลาในการตอน ประมาณ 4-6 เดือน

การชำราก

การชำรากหรือไหลผักหวานป่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ชาวบ้านทดลองและได้ผลบ้าง โดยขุดหน่อผักหวานป่าที่เกิดขึ้นจากรากของต้นแม่ หรือตัดราก ผักหวานป่าที่อยู่ในดิน นำมาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 5-6 นิ้ว นำไปชำ ประมาณ 1 เดือน ผักหวานป่าจะเริ่มแตกกิ่งและยอด
ปลูกผักหวานป่า

การปลูกผักหวานป่า รูปแบบการปลูกผักหวานป่าที่ปฏิบัติกันทั่วไป มีอยู่ 2 อย่าง คือ

       ปลูกแซมในสวนหรือใต้ร่มเงา ตามธรรมชาติผักหวานป่าจะมี การเจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงา หรือมีปริมาณแสงประมาณ 50% พืชร่มเงาของผักหวานป่าควรเป็นพืชที่มีเรือนยอดโปร่งมีแสงรอดผ่านได้ เช่น มะขามเทศ แค สะเดา เป็นต้น ซึ่งจะช่วยพรางแสงและความร้อนจาก แสงแดดโดยตรงให้ต้นกล้าผักหวานป่า และยังเป็นต้นพี่เลี้ยงช่วยป้องกัน อันตรายให้ต้นกล้า โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นการปลูก และจะทำให้ต้นกล้า สามารถตั้งตัวได้ดีขึ้น

      ปลูกในพื้นที่โล่ง การปลูกผักหวานในพื้นที่โล่งแจ้งควรปลูกพืชพี่เลี้ยงร่วมไปด้วยเพื่อให้ร่มเงาแก่ผักหวานป่าในระยะสองปีแรก ซึ่งควร เป็นไม้ที่โตเร็วและเรือนยอดโปร่ง เช่น มะขามเทศ แค สะเดา ในระยะแรกหลังการปลูกควรมีการพรางแสงให้ต้นกล้าผักหวานป่าโดยใช้ตะกร้าไม้ไผ่ครอบ หรือใช้ไม้ไผ่ปักล้อมต้นกล้าไว้ ซึ่งจะช่วยลดความร้อนแรงของแสงแดดและช่วยป้องกันลม หรืออันตรายจากสัตว์เหยียบย่ำต้นกล้าอีกด้วย

วิธีการปลูกผักหวานป่า

          พื้นที่ ที่เหมาะกับการปลูกผักหวานป่านั้น  ควรเป็นพื้นที่ ที่มีการระบายน้ำได้ดีหรือ มีความลาดเอียงเล็กน้อย ในพื้นที่ราบลุ่มที่น้ำอาจขังได้ควรยก แปลงปลูกและ มีร่องน้ำระหว่างแปลงเพื่อการระบายน้ำที่ดีขึ้น ระยะปลูก     ที่ใช้ขึ้นอยู่ กับวัตถุประสงค์ในการปลูก ซึ่งถ้าต้องการเพิ่มผลผลิตต่อเนื้อที่ควรปลูก ระยะ 1×1 หรือ 1.5×1.5 เมตร เมื่อต้นผักหวานป่าโตเรือนยอดเบียดชิดกัน แล้วจึงตัดสางออก แต่ถ้าต้องการความสะดวกในการจัดการดูแลสวนให้ใช้ ระยะระหว่างแถวกว้างขึ้น เพื่อให้รถไถเข้าทำงานในพื้นที่ได้ การเตรียมหลุมปลูก ควรเตรียมในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร หรือ 50x50x50 เซนติเมตร แล้วแต่สภาพพื้นที่ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยอินทรีย์ อัตราส่วน 1:1 หรือ ดินผสมปุ๋ยคอกและแกลบที่ย่อย  สลายแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันในอัตราส่วน 1:1:1  แล้วนำกล้าผักหวานลงปลูกในหลุมโดยให้โคนต้นกล้าสูงกว่าระดับดินเดิม ประมาณ 5 เซนติเมตร พูนดินกลบโคนโดยรอบเพื่อป้องกันน้ำขัง หลักสำคัญในการปลูกผักหวานป่าให้รอดตายคือ อย่าให้รากผักหวานป่าได้รับ ความกระทบกระเทือน การนำกล้าออกจากถุงต้องระวังอย่าให้ดินหุ้มราก แตกจะทำให้รากขาด มีผลให้การเจริญเติบโตชะงักไปเป็นเวลานาน การปลูก ในระยะแรกควรพรางแสงและรักษาความชื้นในดินให้กับผักหวานป่าก่อนโดยปลูกพืชพี่เลี้ยง เช่น ถั่ว ต้นพริก ไว้รอบต้น หรือปลูกไม้โตเร็ว เช่นมะขามเทศ แค สะเดา ชะอม เพื่อให้ร่มเงา

การบำรุงรักษาหลังการปลูก

ควรให้น้ำในช่วงแรกๆ โดยการรดน้ำทุกวันให้ดินพอชื้นแต่อย่าให้ดินแฉะ เมื่อผักหวานตั้งตัวได้ควรให้น้ำสัปดาห์
ละ 1- 2 ครั้ง การให้ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ผักหวานจะแตกยอดและออกดอก ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นแข็งแรงให้ผลผลิตยอดได้ยาวในฤดูแล้ง การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังจากเก็บเกี่ยวยอดหมดแล้ว เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์สำหรับฤดูกาลต่อไป

การกำจัดวัชพืช โดยทำบริเวณสวนให้สะอาดไม่มีวัชพืชปกคลุมมากจนเกินไป ควรใช้การตัดหญ้ามากกว่าการดายหญ้า เพราะจะทำให้ระบบรากกระทบกระเทือน เศษวัชพืชที่ตัดออกให้นำไปคลุมโคนต้นผักหวานไว้เพื่อ ป้องกันการสูญเสียความชื้นของดินบริเวณโดนต้น

การป้องกันโรคและแมลง

         ผักหวานป่าเป็นพืชที่มีโรคและแมลงรบกวนค่อนข้างน้อย แต่ศัตรูที่สำคัญ คือ หอยทาก แมลงค่อมทอง ไรแดงหนอนกาแฟสีแดง และไส้เดือนฝอย การกำจัดศัตรูพืชควรใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา หนอนตายหยาก เพื่อไม่ให้มีสารพิษตกค้างในยอดที่ จะนำไปบริโภค และควรทำบริเวณสวนให้สะอาดอยู่เสมอจะได้ไม่เป็นแหล่ง ที่อยู่และแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง

ยอดอ่อนผักหวานป่า

การเก็บเกี่ยวยอด

การเก็บเกี่ยวยอดผักหวาน
        ผักหวานป่าที่ได้รับการปลูกบำรุงที่ดี จะสามารถเก็บเกี่ยวยอดได้ตั้ง แต่อายุ 1-1 ปี ในขณะที่ต้นสูงประมาณ 1-1.5 ฟุต ซึ่งควรเป็นต้นที่มีความ แข็งแรงสมบูรณ์ดี ผักหวานป่าออกยอดมากในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน แต่เกษตรกรสามารถชักนำให้เกิดยอดเร็วขึ้นเพื่อการเก็บเกี่ยวยอดนอกฤดูกาลได้ ทำให้เก็บยอดได้ตั้งแต่ ช่วงกลางฤดูหนาวไปจนถึงต้นฤดูฝน ประมาณเดือน มกราคม-พฤษภาคม

การผลิตยอดผักหวานป่านอกฤดู

         ก่อนการชักนำให้เกิดยอดต้องมีการจัดการทรงต้นผักหวานป่าที่ดี เสียก่อน โดยทั่วไปจะควบคุมความสูงของต้นผักหวานให้สูงประมาณ 1-1.5 เมตร เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว การชักนำให้เกิดยอดจะเริ่มปฏิบัติ ตั้งแต่ปลายฤดูฝน ประมาณเดือนตุลาคม โดยการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงต้นให้ สมบูรณ์ จากนั้นประมาณเดือนพฤศจิกายนให้ทำการตัดแต่งกิ่ง โดยใช้มือหัก ส่วนปลายกิ่งแขนงออกประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง หรือประมาณ 15-20 ซม. แล้วรูดใบทิ้งให้เหลือใบแก่เพียงกิ่งละ 3-4 ใบ และกิ่งแขนงเล็กๆ  ควรตัดออก ให้น้ำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์พอดินชื้น ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมา ปลายกิ่งที่หักจะเกิดเป็นปมและเริ่มแตกยอดใหม่ ปล่อยให้ยอดพัฒนาจน มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร จึงสามารถเก็บยอดไปบริโภคหรือ จำหน่ายได้ การเก็บยอดควรเก็บเฉพาะยอดอ่อนที่กินได้ซึ่งไม่เหนียวเกินไป โดยเด็ดส่วนปลายยอดออกและเหลือโคนก้านให้มีใบ 2 ใบจากจุดแตกยอดใน 1 สัปดาห์จะเก็บเกี่ยวได้ 2-3 ครั้ง ระหว่างฤดูเก็บเกี่ยวยอดให้ใส่ปุ๋ยคอก ต้นละประมาณ 5 กิโลกรัม และให้น้ำเพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ และเมื่อสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยวหรือเมื่อมีฝนตกช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม ปล่อยให้ผักหวานป่า พักต้น ทำการให้น้ำให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรงเพื่อรอการเก็บเกี่ยว ยอดในฤดูกาลต่อไป

ปัญหาและอุปสรรค

  • การเพาะชำกล้าไม้ในช่วงฤดูฝน มักประสบปัญหาการเน่าของต้นกล้า โดยเฉพาะถ้ามีฝนตกชุกทำให้ชื้นแฉะมากเกินไป ซึ่งผักหวานป่าไม่ชอบสภาพชื้นแฉะหรือน้ำท่วมขัง ส่งผลให้รากเน่า และมีอัตราการตายสูง
  • ควรระมัดระวังร่มเงาของไม้พี่เลี้ยง เมื่อผักหวานสูงประมาณ1 เมตร ควรตัดสางไม้พี่เลี้ยงออกบ้างเพื่อไม่ให้มีร่มเงามากเกินไป
  • ราคาผลผลิตในช่วงฤดูผลผลิตจากป่าธรรมชาติมีมากประมาณ เดือนมีนาคม ซึ่งไม่มีการควบคุมปริมาณผลผลิตสู่ตลาด ทำให้รา

ขอบคุณแหล่งที่มาและ รูปภาพ : ณัฏฐากร เสมสันทัด ,บัณฑิต โพธิ์น้อย 
กลุ่มงานวนวัฒนวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม: ปลูกผักหวานป่า


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ