วิธีการปลูกมะละกอ ( Papaya ) ง่ายๆไว้รับประทานในครัวเรือน
วิธีการปลูกมะละกอ ( Papaya ) ง่ายๆ
มะละกอ ( Papaya ) มีประโยชน์ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และบำรุงสายตา เช่น วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม 6% เบต้าแคโรทีน 274 ไมโครกรัม 3%ลูทีน และ ซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น
การเพาะมะละกอเพื่อใช้ปลูก
- แช่เมล็ดในน้ำอุ่นประมาณ 24 ชม. จากนั้นบ่มเมล็ดด้วยการห่อผ้าหรือกระสอบป่านที่สามารถเก็บรักษาความชื้นได้ดี 24-48 ชม. เมื่อมีเมล็ดงอกแล้วให้นำมาหยอดลงถุงฃ
- นำเมล็ดมะละกอมาเพาะลงในถุงพลาสติกขนาด 5×8 นิ้ว โดยใช้ดินที่มีส่วนผสมของมูลไก่ หยอดเมล็ดลงในถุงเพาะประมาณ 4-5 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มทุกเช้าและเย็น ดูแลต้นกล้าให้มีอายุประมาณ 30-45 วัน จึงทำการย้ายลงแปลงปลูก
การปลูกและการดูแลรักษา
- ขุดหลุมเสร็จก่อนจะปลูกก็จะใส่ปุ๋ยก้นหลุมสามารถใช้เป็นมูลวัว หรือมูลไก่แกลบรองก้นหลุม หากเป็นปุ๋ยเคมีสูตร 27-12-6 ซึ่งระยะห่างปลูกประมาณ 2×2 เมตร หรือประมาณ 400 ต้น ต่อไร่
- เมื่อปลูกลงดิน 55-60 วัน จะเริ่มออกดอก ซึ่งภายในหลุมจะมี 4-5 ต้น ให้คัดต้นที่ไม่สมบูรณ์และต้นตัวผู้ออกให้เหลือไว้เพียง 1 ต้น
- เมื่อต้นอายุประมาณ 2-3 เดือน มะละกอก็จะมีลูกที่ใหญ่ขึ้น และสามารถเก็บผลผลิตได้
- การใส่ปุ๋ยให้กับมะละกอที่ออกผลแล้ว จะใส่ปุ๋ยเคมีให้ทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เป็นสูตร 13-3-21 และทุกครั้งที่เก็บผลผลิตออกจากสวนจะใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 เข้ามาช่วยเสริม
**มะละกอที่ปลูกลงดินทั้งหมดจะมีอายุให้ผลผลิตได้ประมาณ 1 ปี ลักษณะต้นจะโทรมลง โดยสามารถเก็บผลผลิตได้เดือนละ 1 ครั้ง
โรคและแมลงที่เจอในช่วงที่ปลูกมะละกอ จะเป็นเพลี้ยแป้ง ป้องกันด้วยการฉีดพ่นยาปราบศัตรูพืช ส่วนโรคไวรัสวงแหวน หากพบเจอการระบาดของไวรัสจะตัดต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายทิ้งทันที
สายพพันธุ์มะละกอที่นิยมปลูก
มะละกอแขกดำ ลักษณะเนื้อกรอบ ผลสุกเนื้อสีแดงส้ม เหมาะสำหรับทำส้มตำ
มะละกอแก้วกลางดง ลักษณะต้นสามารถแตกกอเองได้โดยสายพันธุ์ ควรเลือก 3-4 กิ่ง เพราะผลดกทำให้ผลไม่ใหญ่
มะละกอแขกนวล เป็นมะละกอที่ตลาดมีความต้องการสูง เนื่องด้วยเป็นมะละกอที่มีเนื้อสีขาว กรอบ เหมาะกับการนำไปตำส้มตำมากกว่าทุกสายพันธุ์ จึงเป็นมะละกอสายพันธุ์กินดิบ
ดอกกะเทย (สมบูรณ์เพศ) ลักษณะของดอก เรียวยาวคล้ายดอกจำปี ผลที่ได้จากดอกลักษณะนี้ กลมยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งผลดิบทำส้มตำ และผลสุกทานสด
ดอกตัวผู้ มีช่อยาวแตกแขนง ไม่สามารถให้ผลผลิตได้
ดอกเพศเมีย ดอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ คล้ายดอกมะลิ ผลมะละกอที่ได้จากดอกชนิดนี้ ผลป้อมใหญ่ ในผลกลวง เนื้อไม่หนานัก
Cr: https://www.railungtop.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ