บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ย ดูแลง่ายให้ผลผลิตเร็ว

เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ย ดูแลง่ายให้ผลผลิตเร็ว

11 มิถุนายน 2021
3538   0

เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ย ดูแลง่ายให้ผลผลิตเร็ว

เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ย

เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ย


บทความนี้เราจะพามาดู “เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ยดูแลง่ายให้ผลผลิตเร็ว” แบบมืออาชีพกันครับ และหลายๆ คนยังไม่ทราบว่าในการปลูกมะละกอให้มีต้นเตี้ย ลูกดก ได้ผลผลิตงาม  และ ยังเก็บผลผลิตได้ง่าย ทำอย่างไรบ้าง เราจึงได้รวบรวมวิธีต่างๆ ของการปลูก มะละกอต้นเตี้ย ลูกดก มาให้ได้อ่านกันเลยครับ

การตอนกิ่งมะละกอ




สำหรับวิธีการตอนกิ่งมะละกอนั้น ถือได้ว่าเป็นการขยายพันธุ์โดยที่ไม่ต้องใช้เมล็ด เนื่องจากการปลูกมะละกอด้วยเมล็ดนั้นจะมีการกลายพันธุ์มากถึง 80% ซึ่งถือว่าเป็นการเสี่ยงมากในการปลูกเพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่เหมือนกับต้นแม่ ผิดกับการขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ต้นพันธุ์ที่ได้จะเหมือนกับต้นแม่ทุกอย่าง และการปลูกด้วยการตอนกิ่ง ต้นมะละกอจะเตี้ยทำให้เวลาเจอลมก็ไม่ค่อยล้มเท่าไร และจะให้ผลเร็ว ออกลูกเป็นช่อและมีลูกดกในการปลูกมะละกอด้วยเมล็ดจำนวน 10 ไร่ เมื่อเทียบกับการปลูกมะละกอตอนกิ่งเพียง 1 ไร่ ผลผลิตก็จะได้เท่ากัน

เนื่องจากต้นมะละกอจะเตี้ยเหมือนกับเริ่มต้นปลูกใหม่ ซึ่งจะส่งผลในเรื่องการจัดการแปลง มีส่วนลดการระบาดของโรคและแมลงได้ เกษตรกรตัดต้นมะละกอทำสาวทุกปีจะตัดวงจรโรคและแมลงได้

แล้วทำไมต้องตอนมะละกอล่ะ?

  • มะละกอตอนได้คุณสมบัติต้นแม่ครบทุกประการ การรอเมล็ดจากผลผลิตไปปลูกจะเพี้ยนไปทุกช่วงรุ่นเช่น เพี้ยนรสชาติ เพี้ยนสี เพี้ยนขนาด เพี้ยนเนื้อบางหนา จนกระทั่งเพี้ยนไม่เหลือเค้าสายพันธุ์เดิมก็มี
  • เมื่อซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทมาปลูก จะได้คุณภาพดีเฉพาะรุ่นแรก หากรอเมล็ด  รุ่นสองและรุ่นต่อไปเพี้ยนไปเรื่อย เพราะเป็นการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ เมล็ดพันธุ์จากบริษัทต่าง ๆ ถูกโปรแกรมมา
    ให้ได้ผลผลิตดีรุ่นเดียวเท่านั้น ถ้ารุ่นต่อไปเราเอาเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อได้ดีเหมือนรุ่นแรก บริษัทจะขายออกเหรอ
  •  มะละกอตอน ต้นเตี้ย ไม่ต้องชะเง้อสอยให้ลูกตกจนช้ า การปลูกเพื่อการตลาดจะห่อผลง่าย ดูแลง่าย เก็บง่ายผลไม่ช้ าเป็นแผล ตลาดต้องการ
  • สามารถปลูกลงกระถาง เหมาะส าหรับสังคมเมือง ผู้ไม่มีที่ดินสำหรับลงปลูก เคลื่อนย้ายสะดวก และ ใช้ประดับได้ ทานด้วย

ขั้นตอนการตอนมะละกอ มี 2 แบบคือ

ตอนมะละกอต้นเตี้ย

  1. ตอนจากกิ่งแขนงของต้นแม่ที่ให้ผลผลิตดี มะละกอนั้นจะมี 3 เพศ คือต้นตัวเมีย ต้นตัวผู้ และต้นกระเทย มะละกอที่ให้ผลผลิตดีคือมะละกอกระเทย เราจะตัดต้นแม่ที่มีอายุสูงจากพื้นราว 1.5 เมตร มะละกอมีล าต้นกลวง ให้ใช้พลาสติกผูกปิดไว้ด้านบน รอให้แตกแขนงหรือมะละกอแก่จัดบางต้นอาจมีแขนงก็สามารถตอนได้เลย
  2.  การตอนจากต้นพันธุ์ดีที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์รุ่นแรก ขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ โดยกะระยะที่ตอนจากยอดลงมาราว 1 – 2 ฟุต (ตามความต้องการว่าต้องการให้เตี้ยแค่ไหน)

อุปกรณ์การตอนต้นมะละกอ

เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ย ดูแลง่ายให้ผลผลิตเร็ว

  1. ถุงบรรจุขุยมะพร้าวขนาดใหญ่กว่าทั่วไป(ราวถุงแกง)
  2. มีดคมหรือคัตเตอร์ใหญ่
  3. เชือกฟางสำหรับผูกรัด
  4. ไม้เสียบลูกชิ้น/ไม้จิ้มฟันหรือไม้อื่นใด สำหรับกันรอยตัดไม่ให้เนื้อต้นมะละกอกลับมาทบกันอีก




การบากกิ่งแขนง

  • บากด้วยมีดคมลึก 2 ใน 3 ของกิ่ง ขั้นตอนนี้ต้องระวังไม่ให้แขนงขาดจนเสียเปล่า น าไม้อัดเข้าไปตรงรอยแผล แยกให้เนื้อแขนงมะละกอออกจากกัน
  • การบากมะละกอต้นอ่อน อาจพบปัญหาจากต้นอ่อนที่มีรูกลางต้น จะท าให้หักโค่นง่ายเมื่อเกิดลมแรงอาจใช้ไม้ดามต้นไว้ระยะหนึ่ง
  • การบากต้นอ่อนบางต้นแม้จะใช้ไม้ยันไว้ แต่เนื้อล าต้นอ่อนอาจยุบตัวลงมาทบกันอีก ให้แก้ไขโดยบาก 2 ครั้ง คือตัดเนื้อออกมาแล้วอัดไม้เข้าไป การอัดไม้ ไม่มีวิธีตายตัว อาจอัดขวางหรือตามยาวก็ได้ สาระส าคัญ อยู่ที่เนื้อต้นมะละกอต้องไม่กลับมาทบกันอีก
  • ผ่าถุงขุยมะพร้าวที่หมาดน้ าปิดคร่อมส่วนที่บากให้มิด จะคร่อมกิ่ง/ต้น ทั้งหมดหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมิดรอยบาก การผ่าถุงขุยมะพร้าว ผ่าแนวตั้งหรือแนวยาวก็ให้ดูสภาพแต่ละกิ่ง/ต้น เป็นหลักความเหมาะสม จากนั้นใช้เชือกฟางผูกรัดถุงขุยมะพร้าวให้แน่น อย่าให้หลวมจนขยับได้
  • การตอนมะละกอใช้ระยะเวลาประมาณ 40 วัน จึงจะเกิดรากใหม่แข็งแรง สามารถตัดได้ ส่วนต้นแม่ หลังจากตัดกิ่งแขนงออกไปแล้วอาจโทรม ให้ใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) บ ารุงให้เกิดกิ่งแขนงต่อไปได้เรื่อย ๆ
  •  กิ่งแขนงหรือต้นที่ตัดออกมาจะเกิดอาการใบเฉาในไม่กี่นาที เนื่องจากมะละกอใบใหญ่ คายน้ าเร็วมาก เมื่อขาดน้ าเลี้ยงจากต้นแม่ จึงควรเลือกเวลาตัดในตอนเย็นหรือในวันแดดน้อย ยิ่งมีฝนด้วยจะดีมาก เพื่อป้องกันการเสียน้ าของกิ่งตอน ควรตัดก้านใบห่างจากกิ่งราว 1 นิ้ว ให้เหลือใบน้อยที่สุดราว 2 – 3 ใบและ เหลือยอดไว้แค่นั้น
    “เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ย ดูแลง่ายให้ผลผลิตเร็ว”
  •  ก้านใบที่เหลือจากการตัดออก จะถูกสลัดทิ้งเองในเวลา 3 – 5 วัน
  • การนำลงปลูก จะปลูกในกระถางหรือปลูกลงดินก็ได้ ระวังอย่ากดดินเหนือกระเปาะตอนหนักมือเกินไปเพราะจะทำให้รากมะละกอขาดได้
  • มะละกอที่ลงปลูก อาจมาจากกิ่งแขนงที่โค้งงอ แก้ไขโดยให้วางกระถางหันยอดที่โค้งงอนั้นเข้าหาร่ม มะละกอจะดัดตัวเองให้ตรงในไม่กี่วัน พร้อมกับการแตกใบใหม่ในระยะแรกราว 12 วัน หลังจากนั้นเริ่มให้ปุ๋ยยูเรียและสูตรอื่นที่ต้องการได้

เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ย

สำหรับการเพาะมะละกอด้วยเมล็ด

หลังจากที่เราได้เมล็ดพัยนธุ์มะละกอที่ต้องการมาแล้วที่ยังใหม่สด ไม่จำเป็นต้องตากให้แห้ง ถ้าไม่ต้องการเก็บ การเพาะเมล็ดให้แช่น้ำ  ล้างเมือกออก ใช้มือขยำเอา เมือกจะหลุดไปเอง (เหตุที่ต้องล้างเมือกออกเพราะเมื่อเพาะและรดน้ำ มีความชื้น เมือกจะเกิดราทำให้เมล็ดเน่าได้  นี่คือสาเหตุว่าทำไมเพาะมะละกอยากจัง) การแช่น้ำให้แช่สามคืนเปลี่ยนน้ำทุกวันในการเปลื่ยนน้ำถือโอกาส ล้างเมือกออกไปด้วยหลังจากนั้นนำลงถุงเพาะได้เลยหรือลงกะบะเพาะ ก็ตามสะดวก




ขั้นตอนต่อมาคือการแปลงเพศมะละกอ

ซึ่งเทคนิคนี้ถือว่าได้ผลครับ แต่ยังไม่ 100 % จากที่ลองทดลองปลูก 50 ต้น พบว่าเป็นต้นกระเทย 38 ต้น เป็นตัวเมีย 12 ต้น ซึ่งก็ถือว่าโอเคในระดับหนึ่ง

ขั้นวิธีการทำ

  1. ย้ายกล้ามะละกอจากแปลงเพาะ ควรรดน้ำต้นกล้าให้ชุ่ม
  2. ให้ตัดรากแก้วของกล้ามะละกอออกประมาณ 2 ข้อนิ้วมือหรือประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งวัดจากปลายรากขึ้นไป
  3. นำต้นมะละกอลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรวางต้นมะละกอเอียง 30 -45 องศา หันไปทางทิศตะวันออก เพื่อให้รับได้รับแสง

เทคนิคการปลูกมะละกอต้นเตี้ย

ปลูกมะละกอต้นเตี้ย

ขั้นตอนการเตรียมดินและการปลูกมะละกอ

ซึ่งเราจะเตรียมดินโดยการใช้รถไถ เพื่อทำการตากดินไว้ประมาณ 3-5 วัน แล้วทำหารขุดหลุมให้ลึกประมาณ 30 ซม. ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.5X 2.5 เมตร ต่อ 1 ไร่ จะปลูกได้ ราว 250 ต้น แล้วทำการรองก้นหลุมด้วยแกลบดำ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยอินทรีย์การขุดหลุม จะขุดลึก 30×30 ซ.ม โดยประมาณ แล้วใช้แกลบดำผสมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หลุมละ 3-5 กิโล ในอัตตราส่วน 1:1:1




ข้อดีของแกลบดำ

  1. มีแร่ธาตุโปตัสเซียมและแคลเซียม
  2. มีรูมากมายซึ่งจะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์
  3. เมื่อนำไปคลุมดินหรือนำไปผสมกับอินทรีย์วัตถุอย่างอื่น ช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากผ่านการย่อยสลาย
  4. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่หน้าดิน แกลบดำ เก็บความชื้นได้ดี สะอาด ไม่เป็นกรด นิยมใช้แกลบดำผสมในดินเพาะปลูกพืช เนื่องจากว่าจะช่วยเก็บความชื้นในดินและเนื่องจากว่าเป็นแกลบที่สะอาดเพราะผ่านการเผามาแล้วจึงช่วยลดปัญหาการติดโรคของพืชได้

**คำแนะนำ** ไม่ควรเอาแกลบดิบรองก้นหลุมเพราะมีธาตุชิส์กอนที่ยังไม่ย่อยสลาย ซึ่งจะเป็นตัวดึงก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจน ที่มีอยู่ในอากาศไปใช้ในการย่อยสลาย ซึ่งก็คือการแย่งอาหารจากต้นพืชผักของเรานั่นเอง ฉะนั้น จึงไม่แนะนำให้เอาแกลบดิบเป็น ส่วนผสมรองพืชก้นหลุม หรือผสมกับวัตถุอินทรีย์ชนิดอื่น เพื่อปลูกต้นไม้ และไม่ควรเอาขี้เถ้ารองก้นหลุม เพราะในขี้เถ้ามีความเป็นด่าง ทำให้พืชต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
รูปภาพประกอบ จากอินเตอร์,https://pantip.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ