การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ จากพืชสีเขียวและสด ไว้ใช้งาน
พืชสีเขียวที่มีตามธรรมชาติหรือที่หาได้ง่าย ได้แก่ ผักบุ้ง หน่อกล้วย หน่อไม้ หรือผักอื่น ๆ ที่มีสีเขียวและสด ไม่ควรเป็นพืชผักที่เน่าเปลื่อย การเก็บถ้าเป็นไปได้ควรเก็บในตอนเช้า หรือก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเนื่องจากช่วงระยะนี้พืชจะเก็บสะสมอาหารไว้ตามลำต้นและใบเป็นจำนวนมาก เพื่อรอการสังเคราะห์แสงหลังจากที่ดวงอาทิตย์ขึ้น หลังจากเก็บแล้วห้ามนำไปล้างน้ำ
วัสดุและอุปกรณ์
- พืชสีเขียว โดยเลือกส่วนที่ดีที่สุด เช่น ลำต้น ใบ ยอดอ่อน
- โอ่งหรือโหลปากกว้าง
- น้ำตาลทรายแดง
- กระดาษบรุ๊ฟ
- เชือกฟาง
- อิฐหรืออิฐบล็อกเพื่อใช้กดทับไม้ให้เศษพืชลอยในระหว่างหมัก
- ขวดพลาสติกชนิดฝาปิดเป็นเกลียว
อัตราส่วนการใช้ พืชสีเขียว 7 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม เกลือเม็ด 0.1 กิโลกรัม
วิธีการทำ
- หั่นพืชสีเขียวให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร
- นำพืชสีเขียวที่หั่นแล้วกองรวมกัน บนพลาสติกหรือลานคอนกรีตที่สะอาด ขยายกองให้แบนราบพอประมาณ แล้วนำน้ำตาลทรายทั้งหมดโรยลงไปให้ทั่ว
- ใช้มือคลุกเคล้าน้ำตาลทรายแดงกับชิ้นส่วนของพืชให้เข้ากันทำสลับไปมาประมาณ 2-3 ครั้ง
- นำไปบรรจุในโหลปากกว้าง และใช้มือกดให้เรียบ
- ใช้อิฐหรืออิฐบล็อกห่อหุ้มด้วยถุงพลาสติกวางทับเพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนของพืชลอย
- ปิดปากโหลด้วยกระดาษบรุ๊ฟ และมัดด้วยเชือกฟาง หมักทิ้งไว้ 8-12 วัน
- เมื่อครบกำหนดรินส่วนที่เป็นน้ำออกใส่ขวดให้ได้ ปริมาณ 2 ใน 3 ของขวด
- ปิดฝาขวดเก็บไว้ในที่ร่มและนำไปใช้
อัตราการใช้
น้ำหมักจากพืช 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร สามารถเก็บไว้ได้นาน 3 เดือน
ข้อบ่งใช้
- ผสมน้ำดื่มสัตว์ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของจุลินทรีย์ในตัวสัตว์
- ผสมอาหารสัตว์ เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารและช่วยการย่อยได้ของอาหาร
- ช่วยย่อยสลายวัสดุและดับกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากมูลและปัสสาวะของสุกร
- ช่วยเร่งการเจริยเติบโตให้กับสัตว์
- ราดโคลนต้นไม้ เพื่อช่วยทำให้เกิดความชุ่มชื้นและดินร่วนซุย
- เศษที่เหลือจากการหมักสามารถนำไปเลี้ยงสุกรได้
แหลงที่มาข้อมูล : องค์ความรู้การเกษตร
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ