ปุ๋ยหมักมูลแพะ ของดีราคาถูก ช่วยลดต้นทุน
วันนี้เราจะมาพูดถึง “ปุ๋ยหมักมูลแพะ ของดีราคาถูก ช่วยลดต้นทุน” สำหรับ การเลี้ยงแพะ หรือ แกะ นั้น เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ เพราะเป็นสัตว์ที่ให้ลูกเร็ว โตเร็ว ลงทุนน้อย กินง่าย และขายได้เร็ว อีกทั้งใช้พื้นที่ไม่มาก สามารถใช้เลี้ยงทดแทน โค-กระบือ รวมถึงตลาดยังมีความต้องการสม่ำเสมอ ขณะเดียวกัน คุณค่าในตัวแพะตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ทุกส่วน ทั้งเนื้อ นม หนัง และขน แล้วยังรวมถึงมูลแพะ หรือ ขี้แพะ ที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ครับ..
ข้อดีของมูลแพะ
- ไม่ค่อยมีเมล็ดวัชพืชเพราะแพะส่วนใหญ่กินใบไม้และเขี้ยวละเอียด
- มูลของแพะหรือขี้แพะ ทำให้ไส้เดือนมีมากขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อดินทำให้ร่วนซุย
- ไม่เป็นอันตราย
- มันละลายช้า ต้นไม้จะได้มีเวลาในการดูดซึมปุ๋ยไปเรื่อยๆ ในกรณีที่ไม่มักให้ละอียด สามารถอยู่ได้นานเกือบปีเลยทีเดียว
- ขี้แพะสามารถใส่ได้กับพืชทุกชนิด เพราะปราศจากสารเคมี
การใช้มูลแพะทำเป็นปุ๋ยหมัก
สำหรับใส่บำรุงดินให้กับพืชในพื้นที่หลายแห่ง เช่นภาคใต้ และภาคกลางบางแห่ง มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับการปลูกพืชแบบใช้ต้นทุนต่ำ
สำหรับวิธีการผลิตตลอดถึงการนำส่วนผสมมาใช้นั้น มีหลายวิธีด้วยกัน แต่ที่เหมาะสมสำหรับช่วงนี้ก็คือตำรับปุ๋ยหมักมูลแพะผสมแกลบ เนื่องจากหาได้ง่ายในท้องถิ่นกว่าวัสดุอื่น หากไม่มีแกลบ ก็ใช้เศษหญ้า ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด ต้นถั่ว เปลือกถั่ว ผักตบชวา ก็สามารถใช้ได้
ในการผสมจะประกอบด้วย แกลบ 100 กิโลกรัม มูลแพะสด 60 กิโลกรัม และสารเร่ง พด.1 จำนวน 1 ซอง หากลดปริมาณแกลบ หรือลดปริมาณมูลแพะก็ต้องลดสาร เร่ง พด.1 ตามอัตราส่วนอย่างไรก็ตามหากเพิ่มปริมาณมูลแพะมากขึ้นจะทำให้ปุ๋ยหมักมี คุณภาพดีขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากมูลแพะเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชที่สำคัญ โรงเรือนที่ใช้ทำปุ๋ยหมักก่อนทำควรล้างหรือกวาดพื้นให้สะอาด เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการ เช่น พลาสติก เศษแก้ว โรงเรือนควรมีลักษณะโปร่ง และป้องกันฝนและแดด ถ้าไม่มีโรงเรือนก็สามารถทำปุ๋ยหมักบนพื้นธรรมดาได้โดยทำกลางแจ้งข้อดีของการทำปุ๋ยหมักในโรงเรือนคือ น้ำระเหยออกจากกองปุ๋ยหมักน้อยกว่า ช่วยประหยัดการรดน้ำให้กองปุ๋ย และปุ๋ยมีคุณภาพดีกว่า เพราะธาตุอาหารไม่สูญเสียไปเนื่องจากการชะล้างของฝน
การทำนำแกลบ มูลแพะสด และสารเร่ง พด.1 ในอัตราส่วน 100:60:1 ซอง ทำแกลบเป็น กองขนาด กว้าง 1.5 -2 เมตร ยาว 4-5 เมตร สูง 1 ฟุต รดน้ำลงบนกองแกลบทุกวันเป็นเวลาประมาณ 5 วัน ในระหว่างรดน้ำคลุกเคล้าให้แกลบดูดซับน้ำ และฉ่ำน้ำทั่วทั้งกอง เพื่อให้แกลบอุ้มน้ำก่อน จากนั้นนำมูลแพะสดโรย บนกองแกลบให้ทั่วกอง แล้วคลุกเคล้าให้เข้า กัน และรดน้ำไปพร้อม ๆ กันด้วย เพื่อให้มูลแพะกับแกลบเข้ากัน และดูดซับน้ำดียิ่งขึ้น โดยรดน้ำจนกองปุ๋ยหมักมีความฉ่ำน้ำพอประมาณไม่ แห้งหรือแฉะจนเกินไป หรือมีความชื้นที่ 60 เปอร์เซ็นต์
จากนั้นใช้สาร พด. 1 จำนวน 1 ซอง โดยผสมกับน้ำสะอาดแล้วกวนให้เข้ากัน 2-3 นาที เพื่อกระตุ้นจุลินทรีย์ แล้วนำไปรดบนกองปุ๋ยหมักจนทั่วทั้งกอง ตามด้วยการรดน้ำให้ทั่วกองอีก ประมาณ 10–20 ลิตร
จากนั้นปล่อยกองปุ๋ยไว้โดยต้องมีผ้าพลาสติกคลุม เพราะแกลบไม่อุ้มน้ำ และระเหยน้ำได้เร็ว จึงต้องคลุมไว้เพื่อป้องกันแสงแดด และลดการระเหยน้ำของกองปุ๋ยหมัก กลับกองปุ๋ย ทุก ๆ 10 วัน โดยใช้จอบพลิกกองทีละข้าง เพื่อลดความร้อนในกองปุ๋ยลง อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส หากเกินจะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ใน พด.1 ตาย
ที่เหมาะสมใน 2-3 วันแรก อุณหภูมิ ในกองปุ๋ยควรอยู่ที่ประมาณ 38-39 องศาเซลเซียส และเมื่อกลับกองปุ๋ยไปประมาณ 15 วัน อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจะค่อย ๆ ลดลง การ กลับกองปุ๋ยจะช่วยให้เชื้อจุลินทรีย์ได้อากาศช่วยย่อยสลาย
ประมาณ 3-5 เดือน กองปุ๋ยหมักจะเปื่อยยุ่ย และมีสีดำ และมีต้นพืชเล็ก ๆ เจริญบนกองปุ๋ย ถึงตอนนี้ก็จะเป็นการแสดงว่าปุ๋ยหมักสมบูรณ์แล้ว นำไปใส่ในดินเพื่อบำรุงต้นพืชได้.
ข้อแนะนำ ปุ๋ยมูลสัตว์ทุกชนิดไม่ควรใส่สดๆเลย ต้องหมักก่อนเผื่อให้ความร้อนจากการย่อยสลายหมดไป และระหว่างกระบวนการย่อยสลายจุลินทรีย์จะดึงธาตุอาหารจากดินมาด้วย อาจทำให้พืชขาดธาตุอาหาร
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ