บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เชื้อรามหัศจรรย์ “ไตรโคเดอร์ม่า” ใช้ควบคุมโรคพืช

เชื้อรามหัศจรรย์ “ไตรโคเดอร์ม่า” ใช้ควบคุมโรคพืช

27 พฤษภาคม 2021
2308   0

เชื้อรามหัศจรรย์ “ไตรโคเดอร์ม่า” ใช้ควบคุมโรคพืช

เชื้อรามหัศจรรย์ "ไตรโคเดอร์ม่า" ใช้ควบคุมโรคพืช

ไตรโคเดอร์ม่า


 

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า คืออะไร

        “เชื้อรามหัศจรรย์ ไตรโคเดอร์ม่า ใช้ควบคุมโรคพืช”  เป็นเชื้อที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน และ เชื้อราชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการควบคุม ทำลายเชื้อราก่อโรคในพืชได้หลายชนิด อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็ว สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค  เรามาดูกันว่าเราจะประหยัดตังค์โดยการขยายเชื้อรานี้ขึ้นมาใช้ได้อย่างไร




อุปกรณ์ในการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

    1. หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา…(เราสามารถเข้าไปขอได้จากเกษตรจังหวัด) หรือสั่งซื้อได้ทางอินเตอร์เน็ตตามเว็บทั่วไป
    2. ข้าวสาร 3 แก้ว
    3. น้ำเปล่า 2 แก้ว
    4. ถุงร้อน
    5. แมส
    6. ถุงมือ
    7. แอลกอฮอล์

วิธีการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

  1. หุงข้าวแบบไม่สุข
  2. เตรียมอุปกรณ์ในการบรรจุเช่น ถุงแกง ทัพพี แอลกอฮอล์ไว้…ขอย้ำว่าอุปกรณ์ต้องเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ทั้งหมด (ตัวเราต้องใส่แมส)
  3. ตักข้าว 2 ทัพพีใส่ถุงขณะที่ร้อนๆ ทิ้งไว้ซักแป๊บแต่ห้ามให้เย็นเด็ดขาด
  4. นำหัวเชื้อรา 3-4 เม็ดใส่ลงไปในถุงข้าว
  5. มัดปากถุงแล้วเขย่า
  6. หาที่วางในร่มที่มีแสงและควรวางในแนวนอน (ไม่วางตั้ง)
  7. วันที่ 2 ให้นำไม้จิ้มฟันเช็ดด้วยแอลกอฮอล์แทงถุงที่บริเวณใกล้ๆ จุดมัดซัก 3 ครั้ง
  8. สองสามวันเขย่าที
  9. เจ็ดถึงสิบวันนำไปใช้ประโยชน์ได้

ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ต่อเชื้อราอื่นและสามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิดโดยเฉพาะเชื้อราที่อยู่ในดิน เช่น

  1. เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคผลร่วง ดอกร่วงของลำใย ลิ้นจี่ โรคดอกร่วงของทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่าของพริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไทย แตงโม แตงกวา มะเขือเทศ และโรคไส้เน่าของกล้วย
  2. เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้าเน่า โคนเน่า ยอดเน่า ของพืชผัก
  3. เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ
  4. เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคโคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวในพืชผัก สตรอเบอรี่ และพืชไร
  5. เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคใบจุดเน่าใน คะน้า ผักกาดขาว กระหล่ำดอก สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง พริก
  6. เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคแอนแทรคโนส ในมะม่วง องุ่น มะละกอ พริก หอม กระเทียม มันฝรั่ง
  7. เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคเมล็ดเน่า และโคนเน่าของพืชตระกูลถั่ว
  8. เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคเน่าของแครอท

“เชื้อรามหัศจรรย์ “ไตรโคเดอร์ม่า” ใช้ควบคุมโรคพืช”

เชื้อรามหัศจรรย์ "ไตรโคเดอร์ม่า" ใช้ควบคุมโรคพืช
Cr images : http://www.projectnoah.org

นอกจากจะสามารถยับยั้งและทำลายเชื้อราก่อโรคพืชตามที่ได้กล่าวมาแล้วยังสามารถ





  • ช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค
  • ส่งเสริมและช่วยพัฒนาให้พืชมีการเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์
  • ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารต่างๆ ของพืช โดยปรับเปลี่ยนธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้
  • ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดิน
  • เพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ ป้องกันการเชื้อราเข้าลายเมล็ดพันธุ์จนทำให้เกิดโรคที่เมล็ด เช่นโรคเมล็ดด่างในข้าว

กลไกในการควบคุมเชื้อราโรคพืช

  1. เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช  จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณ ลงอย่างรวดเร็ว
  2.  เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดและแทงดูดกินน้ำเลี้ยง  จากเชื้อราสาเหตุโรคพืช  ทำให้เส้นใยสลายลดการขยายเผ่าพันธุ์ลง
  3. สร้างสารพิษ  น้ำย่อย  ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย  และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา  โรคพืชเหี่ยวสลาย และ ตายในที่สุด

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ดังนี้

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดินได้มากกว่า 10 ชนิด ที่สำคัญได้แก่

  1. เชื้อราพิเทียม  สาเหตุโรคกล้าเน่า  เมล็ดเน่า  เน่ายุบ  และเน่าคอดิน
  2. เชื้อราไฟทอปธอร่า  สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า  โรคเลทไบลท์
  3. เชื้อราสเคลอโรเทียม  สาเหตุโรคโคนเน่า โรครากเน่า (ราเมล็ดผักกาดขาว)
  4. เชื้อราไรช็อคดทเนีย  สาเหตุโรคกล้าเน่า  โคนเน่าขาว  รากเน่า
  5. เชื้อราฟิวซาเรียม  สาเหตุโรคเหี่ยว

วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไปใช้

  1. การคลุกเมล็ด  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) 1-2ช้อนแกง  ต่อเมล็ดพืช 1 กก.  โดยคลุกเคล้าให้เข้า กันในถุงอาจเติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราเคลือบติดบนผิวของเมล็ดพืชได้ดียิ่งขึ้น
  2. การรองก้นหลุมและการหว่าน  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. บวกลำละเอียด 5 กก. บวกปุ๋ยหมัก 40 กก. รองก้นหลุม ปลูกในพืชผัก  พืชสวน 10-20 กรัม/ต้น  หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร  และในพืชสวนหว่านใต้ทรงพุ่มในอัตรา 3-5 กก./ต้น
  3. การผสมกับวัสดุปลูก ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด)ที่ผสมแล้วกับวัสดุผสม 1 ส่วน กับวัสดุปลูก 4 ส่วน คลุกเคล้า ให้เข้ากันก่อนบรรจุลงในภาชนะเพาะเมล็ด
  4. การผสมน้ำฉีดพ่น  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) 1 กก. ต่อน้ำ 100 ลิตร  โดยกวนล้างสปอร์ในน้ำ 20 ลิตรก่อน จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำสปอร์เทลงถังฉีดพ่นและเติมน้ำจนเต็ม 100 ลิตร  ใช้ฉีดพ่นในแปลงกล้าโคนต้นพืชและฉีดพ่นทางใบ

ข้อควรระวัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไตรโคเดอร์มา

ข้อจำกัดในการใช้ไตรโคเดอร์มา

  • สภาพแวดล้อมต้องมีความชื้นเหมาะสม ไม่ชื้นแฉะ
  • ควรใช้ในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะในช่วงกลางวันมีอากาศร้อน แสงแดดจัด ทำให้เชื้อตาย
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในช่วง 7 วัน ก่อนหรือหลังการหว่านเชื้อ ที่ผสมแล้ว ลงดิน และ ควรมีการปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ



ขอบคุณที่มาข้อมูล : กรมวิชาการเกษตร

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ