บทความเกษตร/เทคโนโลยี » วิธีการทำปุ๋ยหมัก เทียบเคียงปุ๋ยเคมีในสูตรต่างๆ ไว้ใช้งาน

วิธีการทำปุ๋ยหมัก เทียบเคียงปุ๋ยเคมีในสูตรต่างๆ ไว้ใช้งาน

4 พฤษภาคม 2021
2816   0

วิธีการทำปุ๋ยหมัก เทียบเคียงปุ๋ยเคมีในสูตรต่างๆ ไว้ใช้งาน

วิธีการทำปุ๋ยหมัก เทียบเคียงปุ๋ยเคมีในสูตรต่างๆ ไว้ใช้งาน

รูปภาพประกอบเคดิต: https://www.fourfarm.com

“วิธีการทำปุ๋ยหมัก เทียบเคียงปุ๋ยเคมีในสูตรต่างๆ”   การผลิตปุ๋ยหมักเทียบเคียงปุ๋ยเคมีนั้นสามารถทำได้เองจากวัสถุ ดิบที่หาได้ตามท้องถิ่นทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคา แพงได้ ซึ้งการผลิตปุ๋ยหมักเทียบเคียงปุ๋ยเคมีทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยได้ ถึง 10 เท่า โดยมีวิธีทำและขั้นตอนการทำดังนี้

วิธีทำปุ๋ยหมักเทียบเคียงปุ๋ยเคมี โดยครูชาตรี ต่วนศรีแก้ว

1. ปุ๋ยหมักสูตร 16-16-16 และ ปุ๋ยหมักชีวภาพสูตร 15-15-15

วัตถุดิบต่อส่วนผสม

  1. รำอ่อน 1 ส่วน
  2. ดินดี 1 ส่วน
  3. แกลบดิบ 1 ส่วน
  4. แกลบดำ 1 ส่วน
  5. มูลสัตว์ 1 ส่วน
  6. พืชตระกูลถั่ว 1 ส่วน

การทำปุ๋ยหมัก

2.  ปุ๋ยหมักสูตร 16-20-0

วัตถุดิบต่อส่วนผสม

  1. รำอ่อน 1 ส่วน
  2. ดินดี 2 ส่วน
  3. แกลบดิบ 4 ส่วน
  4. แกลบดำ 4 ส่วน
  5. มูลสัตว์ 4 ส่วน
  6. พืชตระกูลถั่ว 4 ส่วน

ขั้นตอนและวิธีการทำปุ๋ยหมักสูตรดังกล่าว

  1. นำส่วนผสมทั้งหมด(ยกเว้นรำอ่อนให้ใส่หลังสุด) นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  2.  เกลี่ยส่วนผสมออกเป็นวงกลมแล้วนำน้ำหมักที่ผสมไว้แล้วราดลงไปให้ทั่วกองปุ๋ยโดยให้เปียกพอประมาณ ความชื้นประมาณ 60% โดยอัตราส่วนในการผสมน้ำหมักชีวภาพ นำกากน้ำตาล 2 ช้อนแกงลงผสมกับน้ำหมัก 2-8 ช้อน แล้วเติมน้ำ 20 ลิตรคนให้เข้ากันนำใส่บัวรดน้ำรดกองปุ๋ย

ข้อแนะนำและควรปฏิบัติ

  1. ในการผสมปุ๋ยและเก็บปุ๋ยควรทำในร่มหรือในโรงเรือน
  2. ในระยะ 7 วันแรกปุ๋ยจะมีความร้อนสูง ควรพลิกกลับปุ๋ยทุกวันในระยะ 2-7 วันแรก
  3. การเก็บปุ๋ยไม่ควรซ้อนกันเกิน 5 ชั้น
  4. หลังจากปุ๋ยคลายความร้อนแล้วนำไปใช้งานได้
  5. น้ำที่ใช้ผสมกับกากน้ำตาลหรือน้ำหมักให้ใช้น้ำซาวข้าวแทนได้จะทำให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การผลิตปุ๋ยหมักสูตร ‘โคบาชิ’ เทียบเคียงปุ๋ยเคมี 46-0-0

วัสดุสำหรับการผลิตปุ๋ยสูตรเทียบเคียงปุ๋ย 46-0-0(โบโบชิ)

การทำปุ๋ยหมักเทียบเคียงปุ๋ยเคมี

  • รำ 1 กระสอบ
  • แกลบดิบ 1 กระสอบ
  • มูลไก่ 1 กระสอบ
  • ขี้ค้างคาว 6 กิโลกรัม
  • น้ำหมักชีวภาพ พด.2 หรือ EM
  • กากน้ำตาล

วิธีการทำ

  • ผสมรำ แกลบดิบ มูลไก่ ขี้ค้างคาว คนให้เข้าด้วยกันกองบนพื้นราบ
  • ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด. 2 ถ้าไม่มีให้ใช้ EM พร้อมกับใช้กากน้ำตาลรดบนกองขณะผสมวัสดุทำปุ๋ยให้ได้ความชื้นที่ 60 % วัดความชื้นที่เหมาะสมได้จากการกำวัสดุที่ผสมแล้วให้แน่นแล้วปล่อยให้อยู่ใน อุ้งมือ ถ้าความชื้น 60 % จะติดกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน
  • ตักปุ๋ยที่ได้บรรจุใส่ในกระสอบฟาง อย่าใส่จนเต็มกระสอบ จากนั้นมัดปากกระสอบ เก็บเข้าไว้ในที่ร่ม หมั่นกลับกระสอบทุกวัน โดยวันแรกวางกระสอบไว้แนวนอน
  • จากนั้นกลับกระสอบไปมาวันละ 1 ครั้งจนครบ 7 วัน ในวันที่ 7 ให้วางกระสอบในแนวตั้งจากนั้นเปิดปากกระสอบระบายความร้อนทิ้งไว้อีก 1 คืน จะได้ปุ๋ยหมักโบโบชิสามารถนำไปใช้ได้

วิธีการนำไปใช้

  • ใช้หว่านบนแปลงปลูกพืช ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตรแทนการใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0

ที่มาโดย ครูชาตรี ต่วนศรีแก้ว

สูตรปุ๋ยหมักพระราชทาน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานวิธีการทำปุ๋ยหมักเป็นองค์ความรู้ให้กับปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรชาวไทย ทั้งประเทศ ดังพระราชดำริ

“ต้นไม้ทุกชนิดต้องการอาหาร เพื่อการเจริญเติบโต พูดง่าย ๆ เราต้องใส่ปุ๋ย ไร่นา สวน ของเรา พืชผล จึงจะงามดี เดี๋ยวนี้ปุ๋ย ที่ซื้อตามท้องตลาดแพงเหลือเกิน เรามาทำปุ๋ยหมักใช้เองดีกว่า”

วิธีทำของที่ต้องเตรียม

1.ซากพืช ได้แก่ ใบไม้ ผักตบชวา หญ้าแห้ง ลำต้นถั่ว ลำต้นข้าวโพด ใบ และต้นมันสำปะหลัง กระดูกปอ ตามที่มี สับเป็นท่อน ๆ สั้น ๆ ให้เปื่อยเร็ว

2. ปุ๋ย

  • ปุ๋ยคอก คือ มูลสัตว์ ขี้วัว ขี้ควาย ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อะไรก็ได้
  • ปัสสาวะคน หรือสัตว์
  • กากเมล็ดนุ่น , กากถั่ว, ซากต้นถั่วชนิดต่าง ๆ (พืชตระกูลถั่ว)

3.  ดินร่วน พอสมควร ถ้าเป็นหน้าดินยิ่งดี

วิธีการกองปุ๋ยหมัก

    1.  กองในหลุม ต้องขุดหลุมขนาดกว้างราว 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1 เมตร ระวังดินพังทลายลงในหลุม ถ้ามีการระบายน้ำได้ยิ่งดี
    2. กองในคอก ปรับดินบริเวณที่จะกองปุ๋ยหมักให้แน่น ใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่นที่ทำได้ กั้นเป็นคอกกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 1 เมตร แบ่งคอกเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งไว้ใส่ปุ๋ยหมัก อีกครึ่งหนึ่งไว้กลับกองปุ๋ย ทำหลังคาใบจากหรือใบมะพร้าวคลุมหลังคา ถ้ามีถุงพลาสติกคลุมกันฝนชะปุ๋ยก็ดี
    3. เอาซากพืชที่เตรียมไว้กองเกลี่ยในคอก (หรือในหลุม) ให้เป็นชั้น เหยียบตามขอบให้แน่นขนาดคนเหยียบแล้วไม่ยุบอีก ชั้นหนึ่ง ๆ สูงราว 1 คืบ (30 ซม.) รดน้ำให้ชุ่ม แล้วเอาปุ๋ยคอกโรยทับให้ทั่วกัน สูง 2 องคุลี (5 ซม.) ถ้ามีปุ๋ยเคมี (สูตร 16-20-0 หรือ 14-14-14, แอมโมเนียมซัลเฟต หรือยูเรีย) ก็โรยบาง ๆ ให้ทั่ว แล้วทับด้วยดินละเอียดหนาประมาณ 1 องคุลี สลับด้วยซากพืชแล้วรดน้ำทำเป็นชั้น ๆ อย่างนี้จนปุ๋ยเต็มคอก (น้ำที่รดจะผสมด้วยปัสสาวะด้วยก็ได้)

ข้อควรระวัง

  1. อย่าให้มีน้ำขัง การรดน้ำมากไปจะทำให้ระบายอากาศไม่ดี
  2. ปุ๋ยกองใหญ่ไปจะเกิดความร้อนสูง ปุ๋ยจะเสีย ถ้าในกองปุ๋ยมีความร้อนสูงไปให้เติมน้ำลงไปบ้าง
  3. ปุ๋ยกองเล็กไป จะสลายตัวช้า
  4. อย่าใช้ปุ๋ยเคมีพร้อมกับใส่ปูนขาว จะทำให้ธาตุไนโตรเจนสลายตัวการกลับปุ๋ย ทุก 30 วัน ควรกลับกองปุ๋ย โดยเอาชั้นบนสุดของกองนำไปเกลี่ยในอีกส่วนของคอกเป็นชั้นล่างสุด แล้วเอาชั้นสองเกลี่ยทับแล้วรดน้ำ ควรกลับปุ๋ย (ทุก 30 วัน) จนกว่าซากพืชจะเปื่อยผุหมดทั้งกอง กินเวลา 3-4 เดือน เมื่อปุ๋ยใช้ได้ สังเกตจากความร้อนในกองจะใกล้เคียงกับความร้อนของอากาศ ปุ๋ยหมักจะเป็นสีน้ำตาลแก่ เอาตะแกรงร่อนปุ๋ยหมักเก็บไว้

การใช้ประโยชน์

ประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ครึ่งหนึ่ง ทำให้ดินร่วน อุดมสมบูรณ์ เพิ่มธาตุไนโตรเจน ไม่เป็นอันตราย รักษาความชุ่มชื้นของดิน
หมายเหตุ ถ้าที่เป็นดินทรายใช้อิฐกรุในหลุม จะทำให้ได้ผลดีขึ้น

(ดัดแปลงข้อมูลจาก https://www.thaikasetsart.go.th, https://www.rakbankerd.go.th, https://chanaview.wordpress.com, https://www.ldd.go.th, https://www.vdokaset.com, หนังสือ ล้ำยุคกับ…นวัตกรรมปุ๋ยหมัก โดย อภิชาต ศรีสะอาด)




บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

–  การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน ลงทุนน้อยรายได้ดี 

– การเลี้ยงปลานิล (Oreochromis niloticus) แบบลดต้นทุน