บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การเลี้ยงโคขุน อาชีพที่น่าจับตารายได้ดี!

การเลี้ยงโคขุน อาชีพที่น่าจับตารายได้ดี!

12 ธันวาคม 2020
2769   0

การเลี้ยงโคขุน อาชีพที่น่าจับตารายได้ดี!

การเลี้ยงโคขุน อาชีพที่น่าจับตารายได้ดี

การเลี้ยงโคขุน หมายถึง การเลี้ยงโคที่ยังอายุน้อยให้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ โดยการให้อาหารแก่โคที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งอาหารหยาบ และอาหารข้นอย่างเต็มที่ ในสภาพการเลี้ยงแบบขังคอกอย่างเดียวหรือร่วมกับการปล่อยแปลงหญ้า

ผู้เลี้ยงโคขุนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. ผู้เลี้ยงเพื่อผลิตลูกโคขุน หรือเรียก ฟาร์มพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ โดยจะเลี้ยงแม่พันธุ์โคเพื่อผลิตลูกโค เมื่อลูกโคหย่านม (7-8 เดือน) ก็จะขายให้แก่ผู้เกษตรกรรายอื่นเพื่อนำไปขุนหรือเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป การเลี้ยงลักษณะนี้มักมีแม่พันธุ์หลายตัว และต้องใช้พื้นที่มากพอ
  2. ผู้เลี้ยงโคขุน เป็นการเลี้ยงโคขุนที่ได้จากการซื้อลูกโคหรือซื้อโคที่มีอายุน้อยจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาเลี้ยงดูให้เติบโตอย่างรวดเร็ว มักเป็นการเลี้ยงแบบคอกหรือปล่อยแปลงหญ้า ซึ่งอาจใช้พื้นที่มากตามจำนวนที่เลี้ยงโค
  3. ผู้เลี้ยงวัวมัน เป็นการเลี้ยงโคขุนที่ใช้โคที่มีอายุมากหรือร่างกายซูบผอมที่หาซื้อจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาเลี้ยงขุนให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นก่อนส่งจำหน่าย การเลี้ยงลักษณะนี้จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักโคที่เกิดจากฟื้นฟูโคให้มีกลับมาอ้วนหรือเป็นการเพิ่มไขมันเป็นหลัก เนื่องจากเป็นโคที่มีร่่างกายซูบผอมหรือมีอายุมากแล้ว

คุณสมบัติพื้นฐานสำหรับผู้ต้องการเลี้ยงโคขุน

  1. ต้องมีใจรัก เพราะ การประกอบอาชีพหรือการทำงานใดๆ ก็ตาม หากท่านไม่มีใจรักในอาชีพนั้นๆ ท่านจะทำงานไม่ได้ดี การเลี้ยงโคขุนก็เช่นกัน ถ้าท่านเป็นคนที่ชอบเลี้ยงสัตว์ ก็เท่ากับว่าท่านประสบผลสำเร็จไปแล้วครึ่งทางนั้นเอง
  2. จำเป็นจะต้องมีพื้นที่ เพราะอาหารหลักของโคขุนนั้นก็คือหญ้าเพื่อช่วยให้เราลดต้นทุน ดังนั้น แปลงหญ้าจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะหญ้าพันธุ์ดีเราต้องปลูกให้โคขุน หรือ โคเนื้อ กินเพื่อเป็นแหล่งอาหารและลดต้นทุนการผลิตเรื่องอาหารสัตว์
  3. เรื่องของเวลาจำเป็นต้องมีเวลา ในการดูแลให้อาหาร การดูแลเอาใจใส่ เรื่องต่างๆพอสมควร
  4. มีโรงเรือน (คอก) คอกก็เป็นสิ่งจำเป็นเพราะการมีที่ อยู่ที่ดีให้กับสัตว์ของเราจะส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์ทำให้สัตว์มีสุขภาพที่ดี โรงเรือนก็ต้องถูกสุขลักษณะ ตั้งอยู่ที่โล่ง อาการถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องถึงได้เป็นบางเวลา
  5. มีความรู้ท่านควรมีความรู้ในเรื่องการเลี้ยงสัตว์บ้าง สำหรับความรู้เราสามารถเรียนรู้จากการอบรมและแสวงหาได้ ตามหนังสือการเกษตร นิตยสารปศุสัตว์หรือไม่ก็สอบถามจากผู้รู้ ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงมาก่อนเรา

การเลี้ยงโคขุน

ข้อพิจารณาการเลี้ยงโคขุน และ สายพันธุ์โคขุน

แหล่งของโคที่นำมาขุน อาจได้จากลูกโคในคอกผู้เลี้ยงเองหรือซื้อลูกโคจากแหล่งขายโคต่างๆ เช่น ตลาดนัดโค-กระบือ

1. โคพันธุ์พื้นเมือง

โคพันธุ์พื้นเมือง

เป็นโคที่เนื้อมีไขมันน้อย ไม่เป็นที่นิยมเลี้ยง เนื่องจากมีอัตราการเติบโตต่ำ น้ำหนักโคเมื่อขุนเสร็จประมาณ 380 กิโลกรัม ได้เปอร์เซ็นต์ซากประมาณ 51%

  • เริ่มขุนที่น้ำหนัก 150 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 1 ปี
  • เริ่มขุนที่น้ำหนัก 200 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 7-8 เดือน
  • เริ่มขุนที่น้ำหนัก 250 กิโลกรัม ใช้เวลา 5-6 เดือน

2. โคลูกผสมบราห์มันพื้นเมือง

มีเลือดบราห์มันประมาณ 50-85 เปอร์เซ็นต์ มีไขมันแทรกปานกลาง น้ำหนักเมื่อขุนเสร็จประมาณ 450 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์ซากประมาณ 56%

  • เริ่มขุนที่น้ำหนัก 150 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 10-12 เดือน
  • เริ่มขุนที่น้ำหนัก 200 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 8-9 เดือน
  • เริ่มขุนที่น้ำหนัก 250 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 5-6 เดือน

3. โคลูกผสมสามสายเลือด

โคที่มีเลือดผสมสามสายพันธุ์ ได้แก่

  • บราห์มัน พื้นเมือง และชาร์โรเล่ส์
  • บราห์มัน พื้นเมือง และลิมัวซิน
  • บราห์มัน พื้นเมือง และซิมเมนทัล

ลักษณะที่ดีของโคพันธุ์ผสมนี้ คือ เลี้ยงง่าย เติบโตเร็ว มีคุณภาพซากดี มีเนื้อมาก ไขมันน้อย นิยมเลี้ยงมาก คือ พันธุ์ผสมของชาร์โรเล่ส์ รองลงมา คือ พันธุ์ผสมของลิมัวซิน เนื่องจากพันธุ์ผสมของชาร์โรเล่ส์มีขนาดใหญ่กว่า และเติบโตดีกว่า

  • เริ่มขุนที่น้ำหนัก 150 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 10-12 เดือน
  • เริ่มขุนที่น้ำหนัก 250 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 6 เดือน

4. ลูกโคนม และแม่โคที่คัดทิ้ง

โคนมคัดทิ้งจะเป็นลูกโคเพศผู้ และแม่โคนมที่มีอายุมากแล้ว เนื่องจากไม่สามารถผลิตน้ำนมได้ พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ พันธุ์เรดเดน และโฮลสไตน์ฟรีเชียน (ขาวดำ) เป็นโคมีคุณภาพซากไม่ดีนัก ให้เนื้อสะโพกเล็ก และเนื้อเหลว แต่มีราคาถูกกว่าโคพันธุ์อื่นๆ เมื่อรับซื้อมาขุน

5. โคพันธุ์ผสมอินดูบราซิล

เป็นโคที่มีเลือดผสมอินดูบราซิล นิยมเลี้ยงมากที่สุดในภาคอีสาน เป็นโคที่มีโครงร่างใหญ่ รูปร่างสวยงาม ใบหูใหญ่ ยาว นิยมนำมาขุนทั้งตัวเมีย และตัวผู้ที่มีสายเลือดอินดูบราซิลน้อย รูปร่างไม่สวยงาม ตัวไม่ใหญ่ ส่วนตัวผู้ และตัวเมียที่มีสายเลือดอินดูบราซิลมาก รูปร่างใหญ่ รูปทรงสวยงามจะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก

“การเลี้ยงโคขุน อาชีพที่น่าจับตารายได้ดี”

วิธีการเลือกซื้อโคที่นำมาเพื่อเลี้ยงเป็นโคขุน

1. อายุของโคที่จะนำขุน การขุนเพื่อให้ได้เนื้อคุณภาพที่ดีนั้น อายุของโคที่จะนำมาเลี้ยงเป็น โคขุน ก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเราควรจะต้องซื้อโคอายุไม่เกิน 3 ปี เนื่องจากเป็นโคที่มีอายุขนาดพอเหมาะสำหรับการขุนเพื่อเอา เนื้อคุณภาพดี โครงกระดูกสมบูรณ์ดี แล้วกินอาหารเข้าไปก็จะ เปลี่ยนเป็นเนื้อโดยตรง ทำให้โคที่นำมาเลี้ยงเป็นโคขุนนั้นอ้วนเร็ว และนำหนักดี

2. โครงสร้างของโคที่จะนำมาเลี้ยงเป็นโคขุน เราต้องเลือกโคที่มีโครงสร้างใหญ่หนังหนา มีลึงค์หย่อนพอสมควร ขาเหยียดตรง ดูแข็งแรงเล็บไม่นอนเกินไป ถ้าเราดูลักษณะได้แบบนี้ก็ทำให้โคโตเร็ว ผู้ที่นำเลี้ยง จะมีกำไร ถ้าโครงสร้างโคดีแต่โคผอมก็ซื้อได้เลย เพราะโคผอมเราสามารถนำมาเพื่อขุนทำให้อ้วนได้ อย่าไปซื้อโค ที่อ้วนๆ มาเพราะโค ที่อ้วนราคาจะแพงแล้วจะทำให้ต้นทุนของเราสูงขึ้นไปด้วย

3. สายพันธุ์โคขุน เน้นโคสายพันธุ์ลูกผสมยุโรป (เน้นชาร์โรเลส์เลือด 50 เปอร์เซ็นต์) อายุประมาณ 2.5 ปี น้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม ลักษณะโครงสร้างใหญ่ หน้าอกกว้าง โดยดูจากระยะห่างระหว่างโคนขาหน้า แนวหลังตรง ท้ายไม่ตก สะโพกกว้าง เอวลึกและใหญ่ ซึ่งแสดงว่ากระเพาะใหญ่กินอาหารได้มาก มีการเจริญเติบโตที่ดี โดยก่อนที่จะนำโคเข้าคอกขังเดี่ยว จะต้องทำการตอนโคก่อน และ ทำการเลี้ยงด้วยอาหารหยาบและอาหารข้นวันละ 2 ครั้ง ประมาณ 8 ถึง 10 เดือน เพื่อให้มีการเจริญที่ดีและมีไขมัน แทรก ก่อนนำเข้าโรงฆ่าและแปรรูป

อาหารสำหรับเลี้ยงโคขุน

อาหารสำหรับเลี้ยงโคขุน

อาหารหยาบ
      โคเป็นสัตว์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบเป็นหลัก ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียว่า การเลี้ยงโคเนื้อและโคนมที่มี ประสิทธิภาพโดยใช้ต้นทุนต่ าต้องเลี้ยงด้วยอาหารหยาบเป็นหลัก ควรเก็บอาหารข้นให้สัตว์ที่ใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบไม่ได้และสามารถใช้อาหารข้นให้เป็นเนื้อได้มีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งได้แก่ สัตว์ปีกและสุกร จะดีกว่า ดังนั้นการเลี้ยงโคเนื้อควรให้อาหารหยาบเป็นหลัก ให้อาหารข้นเฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น อาหารหยาบที่ส าคัญสำหรับโค คือ หญ้าสด พันธุ์หญ้าที่กรมปศุสัตว์
ส่งเสริมให้เกษตรกรทั่วไปปลูกเลี้ยงสัตว์ เช่น หญ้ารูซี่ กินนีสีม่วง หญ้าขน แพงโกล่า เฮมิล ฯลฯ ในฤดูฝนมักมีหญ้าสดเกินความต้องการของโค จึงควรถนอมไว้เป็นอาหารสัตว์ในฤดูแล้งโดยการทำ หญ้าแห้งหรือหญ้าหมัก นอกจากหญ้าแล้ว พืชตระกูลถั่ว ยังเป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เนื่องจากถั่วส่วนใหญ่มีระบบรากลึกกว่าหญ้าจึงทนแล้งได้ดีกว่า พืชตระกูลถั่วที่กรมปศุสัตว์ แนะนำให้ปลูก เช่น ถั่วฮามาต้า แกรมสไตโล คาวาลเคด ซนโตรซีมา ซีราโตร กระถิน แคฝรั่ง ไมยรา ฯลฯ วัสดุพลอยได้จากการปลูกพืชสามารถนำมาใช้เลี้ยงโคได้ เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ยอดอ้อย มันสำปะหลัง ต้นถั่วลิสง ต้นถั่วเหลือง ฯลฯ ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการเกษตรก็สามารถ นำมาใช้ได้ เช่น กากน้ำตาล เปลือกสับปะรด เป็นต้น

อาหารข้น
         อาหารข้น หมายถึง อาหารที่มีความเข้มข้นทางโภชนะอยู่สูง โดยเฉพาะโปรตีน มีเปอร์เซนต์เยื่อใยต่ำ  เมื่อสัตว์กินเข้าไปสามารถย่อยได้ง่าย จำแนกเป็น

  • อาหารชนิดเดียว เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวโพดบด กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสงกากปาล์ม ฯลฯ
  • อาหารข้นสำเร็จรูป ใช้เลี้ยงเสริมกับอาหารหยาบสามารถน ามาใช้เลี้ยงโคได้เลย โดยผู้เลี้ยงไม่ต้องนำวัตถุดิบอย่างอื่นมาผสมอีกอาจอยู่ในรูปอาหารผงหรืออัดเม็ดก็ได้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย รำ ปลายข้าว หรือข้าวโพดบด กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสงหรือกากปาล์ม ปลาป่น ใบกระถินป่น ไวตามิน และแร่ธาตุ
  • หัวอาหาร เป็นอาหารที่ประกอบด้วยอาหารโปรตีนสูงผสมกัน เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ปลาป่น ใบกระถินป่น ไวตามิน และเกลือแร่ เมื่อจะใช้ผู้เลี้ยงจะต้องนำวัตถุดิบอย่างอื่น ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ให้พลังงานสูงที่สามารถหาง่ายในท้องถิ่นมาผสม ตามสัดส่วนที่ผู้ผลิตหัวอาหารกำหนดไว้จึงจะได้คุณค่าทางอาหารตามที่ต้องการ 

แร่ธาตุเสริมที่จำเป็น
    แร่ธาตุนั้นจำทำให้สัตว์เจริญเติบโต และทำให้การทำงานของร่างกาย และ ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ การให้อาหารแร่ธาตุสามารถทำได้ ดังนี้

  • แร่ธาตุก้อน   มีบริษัทต่างๆ ท าอาหารแร่ธาตุก้อนส าหรับโคกระบือขาย ทำเป็นก้อนทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ สำหรับวางหรือแขวนไว้ให้สัตว์เลียกิน ขนาดก้อนละ 2 กก. ราคาประมาณ 30 – 50 บาท แร่ธาตุแบบนี้ใช้ได้สะดวก
  • แร่ธาตุผล    ผู้เลี้ยงอาจผสมแร่ธาตุผงตั้งไว้ให้โคเลียกิน หรือใช้ผสมในอาหารข้นสูตร ที่แนะนำโดยกองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ดังนี้
            กระดูกป่น 50 ส่วน
            เกลือป่น 50 ส่วน
            จุนสีป่น 1 ส่วน
            โคบอลท์ซัลเฟต 0.06 ส่วน
    ถ้าหาจุนสีและโคบอลท์ซัลเฟตไม่ได้จะใช้กระดูกป่นและเกลือป่นอย่างละครึ่ง ก็ใช้ได้แร่ธาตุผงมีข้อเสียคือ อาจหกเสียหายหรือถูกน้ำละลายได้ง่าย

1. แบ่งตามขนาดของกิจการ

  • รายย่อย มักเลี้ยงโคขุนเพียง 2-10 ตัว โดยการใช้อาหารในท้องถิ่นหรืออาหารข้นที่เตรียมเอง รวมถึงการซื้อจากท้องตลาด มักใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก มีพื้นที่น้อย
  • ขนาดกลาง เลี้ยงโคขุน 30-50 ตัว ต้องใช้พื้นที่มาก ทั้งคอกโค และแปลงหญ้า มีการใช้อาหารข้นที่ผสมเอง และต้องจ้างแรงงาน
  • ขนาดใหญ่ มักเลี้ยงโคขุนมากกว่า 50 ตัว ขึ้นไป เป็นการเลี้ยงที่ต้องใช้พื้นที่มากทั้งคอก และแปลงหญ้า มีการใช้อาหารข้นที่ผสมเองเพื่อลดต้นทุน และใช้แรงงานคน รวมถึงการใช้เครื่องทุ่นแรงในการจัดการอาหาร

2. แบ่งตามตลาด

  • ตลาดขั้นสูง ต้องการเนื้อที่มีคุณภาพ คือ เป็นเนื้อโคที่มีอายุน้อย (ขุนแล้วอายุไม่เกิน 3 ปี) ได้รับการเลี้ยงดู และให้อาหารข้นในปริมาณมาก ไม่น้อยกว่า 5 เดือน โคที่นำมาเลี้ยงมักเป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดี เมื่อขุนเสร็จจะได้ราคาสูง
  • ตลาดชุมชน ตลาดประเภทนี้ต้องการโคที่อ้วน มีไขมันพอสมควร ไม่จำกัดอายุ ส่วนใหญ่จะใช้โคที่ปลดจากงาน มีเจริญเต็มที่แล้ว แต่ยังผอมอยู่ แล้วนำมาขุน 3-4 เดือน ด้วยอาหารข้นให้อ้วน ซึ่งส่วนน้ำหนักที่เพิ่มจะเป็นไขมันเป็นส่วนมาก เรียกโคประเภทนี้ว่า วัวมัน เนื้อมีราคาต่ำกว่าประเภทแรก แต่การเลี้ยงดูง่ายกว่า

แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ – กรมปศุสัตว์


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ