เลี้ยงปลาไหลนา เลี้ยงง่ายกินน้อย ตลาดดีมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ
เลี้ยงปลาไหลนา (Swamp eel)
สวัดดีครับ วันนี้ก็จะมาพูดถึงการเลี้ยงปลาไหลอีกชักบทความตาม หัวข้อเรื่อง เลี้ยงปลาไหลนา เลี้ยงง่ายกินน้อย ตลาดดีมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ เลยครับ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ ปลาไหล กันก่อนดีกว่าครับ สำหรับมือใหม่ในการเลี้ยงนั้นก็คงจะ งง ว่าปลาไหลนั้นเป็นยังไง ทำไมตัวคล้ายๆงู ..55 หรือ ทำไมบางตัวมีสีน้ำตาล บางตัวมีสีเหลืองทอง หรือแม้แต่สีเผือกก็ยังพอมีให้เห็นกัน แต่ถ้าเป็นมือเก่าๆที่เลี้ยงมานานแล้วก็จะรู้ดีว่าปลาไหลนั้นมีแบบไหนบ้างและขั้นตอนการเลี้ยงเป็นยังไง
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ “ปลาไหล” กันเสียก่อนครับ
ปลาไหลนา หรือ ปลาไหลบึง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monopterus albus อยู่ในวงศ์ปลาไหลนา (Synbranchidae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก คอป่องออก มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในคอหอยเป็นเส้นเลือดฝอย ซึ่งช่วยให้หายใจได้โดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป และยังสามารถขุดรูในดินเพื่อจำศีลในช่วงฤดูร้อนได้ด้วย
ลำตัวลื่นมาก สีลำตัวปกติเป็นสีเหลืองทอง ใต้ท้องสีขาว ในบางตัวอาจมีจุดกระสีน้ำตาล แต่ก็มีพบมากที่สีจะกลายไป เป็นสีเผือก สีทองทั้งตัว หรือสีด่าง มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.01 เมตร ปลาไหลนา พบมากที่สุดในประเทศไทยและเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย โดยพบได้ทุกภาค ทุกแหล่งน้ำ พบชุกชุมทั่วไป สำหรับในต่างประเทศพบกว้างขวางมาก ตั้งแต่อเมริกากลาง, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกา, ประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยกินได้แม้กระทั่งซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย มีพฤติกรรมชอบรวมตัวกันหาอาหาร เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะนิยมบริโภคกันมาแต่โบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า หากปล่อยปลาไหลนาแล้วจะช่วยให้ทุกข์โศกไหลไปตามชื่อ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ โดยนิยมเลี้ยงในบ่อปูน ในปลาที่มีสีกลายออกไป นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
หลังจากที่เราได้รู้เรื่องปลาไหลเบื้องตันไปแล้วที่นี้ เราก็จะมาเข้าหัวข้อกันเลย ว่า เลี้ยงปลาไหลนา ตลาดดีมีเท่าไหร่ก็ไม่พอจริงหรือเปล่า หรือ เป็นเพียงแค่กระแสเท่านั้น
การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่อาศัย
ในธรรมชาติของปลาไหลนาเป็นสัตว์ที่ชอบอาศัยตามพื้นดินโคลนที่มีซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสมอยู่ หรือบริเวณที่ปกคลุมด้วยวัชพืช เช่น หญ้าน้ําหรือบัวชนิดต่างๆ ปลาไหลนาสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยเป็นปลาประจําถิ่น (native species) ที่พบได้ในเขตร้อน ปลาไหลนาสามารถอาศัยอยู่ในสภาพพื้นที่แห้งแล้งไม่มีน้ําได้นานในฤดูร้อนธรรมชาติของปลาไหลนา จะขุดรูอาศัยลึกและจะออกหาอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝนถัดไป
การสืบพันธุ์วางไข่
ปลาไหลนา มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยหลังฟักออกจากไข่จนมีความยาวถึงประมาณ 40-45 เซนติเมตร จะเป็นเพศเมีย เมื่อปลาไหลมีความยาว 45-60 เซนติเมตร จะมีสองเพศในตัวเดียวกันส่วนปลาไหลที่มีความยาว 60 เซนติเมตร ขึ้นไปจะเป็นเพศผู้ ปลาไหลจะวางไข่ช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคมมากที่สุดปริมาณความดกของไข่ปลาไหลนาขึ้นอยู่กับขนาดน้ําหนักและความยาวคือความยาวของปลาไหลนา 20 – 30 เซนติเมตร มีปริมาณไข่ 300 – 400 ฟอง ความยาวของปลาไหลนา 40 – 50 เซนติเมตร มีปริมาณไข่ 400 – 500 ฟอง ความยาวของปลาไหลนามากกว่า 50 เซนติเมตร มีปริมาณไข่ 1000 ฟอง(สุวรรณดีและคณะ, 2536)การวางไข่มี 2 รูปแบบคือวางไข่บริเวณกอหญ้าหรือพืชน้ําอื่นๆโดยปลาเพศเมียและเพศผู้จะจับคู่และก่อหวอดเป็นฟองขาวๆบริเวณกอหญ้าบนผิวน้ําแล้ววางไข่และอีกแบบหนึ่งคือวางไข่ปากรูโดยปลาไหลเพศเมียใช้ลําตัวดันดันปากรูให้เป็นโพรงและให้โพรงสูงกว่าระดับน้ําประมาณ 1 นิ้วเพื่อให้ไข่ลอยอยู่ในโพรงได้และจะคอยระวังศัตรูอยู่ภายในรูไข่ปลาไหลนาเป็นไข่จมไม่ติดวัสดุ มีลักษณะสีเหลืองสดใสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ0.3 เซนติเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมจะมีลักษณะกลมสีเหลืองทองส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะมีสีขาวใสไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตร มีถุงไข่แดงและครีบอกแต่เมื่ออายุได้ประมาณ 5 – 6 วัน ถุงไข่แดงยุบ และครีบอกหายไปปลาจะเริ่มกินอาหารปลาไหลจะเลี้ยงลูกจนมีขนาด 3-4 นิ้วโดยลูกปลาจะกินซากพืชและสัตว์หรือแมลงน้ําตัวเล็กๆ
การกินอาหาร
ปลาไหลนาขนาด 2.5 – 3.0 เซนติเมตรกินสงมิ่ ีชีวิตเล็กๆคือไรแดงวันละ 2 ครั้งขนาดความ ยาว5 เซนติเมตรเริ่มฝึกให้กนอาหารผงสำเร็จรูปร่วมกับหนอนแดงจนอายุได้ 6 สัปดาห์ปลาจะมีขนาด 8 – 10 เซนติเมตรเริ่มให้ปลาสดบดวันละ 2 ครั้งและสามารถนําไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ต่อไป (ประพัฒน์, 2561)
การเลี้ยงปลาไหลนา
ปัจจุบันมีการเลี้ยงปลาไหลกันอย่างแพร่หลายและมีการเลี้ยงกันหลายรูปแบบ เช่นการเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อปูนซีเมนต์ การเลี้ยงปลาไหลนาในคอนโด การเลี้ยงปลาไหลนาในล้อยางรถจักรยานยนต์และการเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อพลาสติกโดยแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันซึ่งแหล่งลูกพันธุ์ที่นํามาใช้เลี้ยงส่วนใหญ่จะรวบรวมได้จากธรรมชาติ
การเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อปูนซีเมนต์สี่เหลี่ยม
การเตรียมอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาไหลนา ได้แก่สร้างบ่อปูนซีเมนต์ขนาด 4×4 เมตร สูง 70 เซนติเมตร ภายในบ่อฉาบปูนให้เรียบและมีท่อน้ําฝาปิดเจาะรูขนาดเล็กให้น้ําไหลออกได้รอบด้าน ใน<ระดับ 50 เซนติเมตรบริเวณส่วนบนมีตาข่ายปิดเพื่อป้องกันปลาไหลหนีออกไปสําหรับบ่อที่สร้างขึ้นใหม่ควรนําต้นกล้วยหั่นเป็นท่อนใส่ลงในบ่อแช่ไว้ประมาณ 3-4 วันจากนั้นก็ใส่ดินเหนียวรองก้นบ่อ 1ไผ่ที่เจาะรูมาวางไว้เพื่อให้ปลาไหลได้ทําเป็นที่อยู่อาศัยจากนั้นก็นําลูกปลาไหลนาขนาดเท่าๆกันมาใส่ตารางเมตรละ 50 ตัว พื้นที่บ่อขนาด 4×4 เมตร จะใส่ลูกปลาไหลนาประมาณ 800 ตัว ต่อ 1 บ่อ ที่สําคัญน้ําที่จะนํามาใส่ในบ่อไม่ควรใช้น้ําประปาซึ่งมีกลิ่นคลอรีนอาจจะทําให้ปลาไหลตายได้จากนั้นก็จัดหาอาหารให้ปลาไหลโดยธรรมชาติปลาไหลชอบกินทั้งพืชและสัตว์ปลาไหลชอบกินอาหารที่มีกลิ่นคาวแรง เช่นไส้เดือน หากเป็นหอย ปลา ปูให้สับเป็นชิ้นเล็กใส่ภาชนะไว้ริมบ่อประมาณ 2 วันปลาไหลก็จะกินอาหารจนหมดและให้อาหารเม็ดบ้างเพราะจะทําให้ปลาไหลเจริญเติบโตเร็วขึ้นโดยจะเลี้ยงประมาณ 8-12 เดือน จะได้ปลาไหลขนาด 4-5 ตัว/กิโลกรัมโดยราคาตามท้องตลาดจะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 150 บาท (อนันต์,2561)
การเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อปูนซีเมนต์กลม
ในการเตรียมบ่อเพาะขยายพันธุ์ปลาไหล จะใช้วงบ่อซีเมนต์กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร จำนวน 2 วงบ่อโดยวางวงบ่อซ้อนกัน บริเวณพื้นบ่อจะต่อท่อระบายน้ำสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำหลังจากนั้น บริเวณพื้นบ่อจะเทปูนปิดเนื่องจากปูนจะมีความเป็นกรด จะส่งผลต่อผิวหนังของปลาไหลจะทำให้เกิดแผลได้ก่อนปล่อยพันธุ์ปลาไหลนาจะต้องล้างบ่อเพื่อลดความเป็นกรดของปูนให้หมดก่อนโดยเปิดน้ำให้เต็มบ่อและสับต้นกล้วยเป็นชิ้นๆ ใส่ลงไป หมักแช่ทิ้งไว้นานประมาณ 7 วัน ถ่ายเทน้ำออกให้หมดและแช่ต้นกล้วยหมักซ้ำอีกครึ่งหนึ่งเป็นเวลา 7 วัน เช่นกันต้นกล้วยจะดูดซับความเค็มของปูนจนหมดการใส่วัสดุลงในบ่อ โดยพื้นล่างของบ่อควรปูด้วยฟางข้าวให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร (ฟางข้าวจะต้องแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน) ฟางข้าวจะเป็นอาหารให้ปลาไหลได้กินเมื่อฟางเริ่มผุเปื่อยในขณะเดียวกันฟางข้าวที่ใส่ลงไปจะทำให้เกิดไรแดงและหนอนแดงซึ่งเป็นอาหารของปลาไหลชั้นต่อมาให้ใส่ดินเหนียวที่มีเนื้อละเอียด (วิธีการทดสอบดินเหนียวที่มีเนื้อดินละเอียด ให้นำดินมาละลายน้ำจะต้องคล้ายๆน้ำแป้ง) เนื่องจากถ้าเป็นดินที่ไม่มีความละเอียดพอมีเม็ดหินหรือทรายปนอยู่จะทำให้ปลาไหลเป็นแผลได้เทคนิคในการใส่ดินลงในวงบ่อซีเมนต์จะต้องใส่ให้มีความลาดเอียงจากต่ำสุดไล่ระดับไปจนถึงสูงสุดส่วนของดินที่ต่ำที่สุดมีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ส่วนสูงที่สุดประมาณ 30 เซนติเมตรซึ่งเป็นส่วนดินที่โผล่พ้นน้ำเพื่อให้ปลาไหลขึ้นมาหายใจและกินอาหารในเวลากลางคืนใส่น้ำลงไปให้ระดับน้ำสูงกว่าส่วนของดินที่ต่ำที่สุด ประมาณ 10เซนติเมตรใส่ผักตบชวาและแหนลงไปในวงบ่อซีเมนต์ เพื่อเป็นที่หลบอาศัยของลูกปลาไหลที่จะเกิดมาขั้นตอนสุดท้ายนำอิฐบล็อกปักลงไปในดินเหนียวอิฐบล็อกจะใช้เป็นหลักสำหรับเสียบอาหารให้ปลา
ไหลกิน เช่น โครงกระดูกไก่ เศษเนื้อฯลฯ อิฐบล็อกจะทำให้อาหารไม่ลอยโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำจะเน่าเปื่อยอยู่ใต้น้ำและไม่ส่งกลิ่นเหม็นเมื่อเตรียมบ่อเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาเสร็จทุกขั้นตอนแล้วควรจะทิ้งบ่อเพื่อปรับสภาพอย่างน้อย 1 เดือนจึงจะปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงในบ่อเพาะได้ (อนันต์,2561)
การเลี้ยงปลาไหลนาในคอนโด
การเลี้ยงปลาไหลในคอนโดเริ่มต้นให้จัดหาพื้นที่เหมาะสมจากนั้นนำยางรถยนต์วางไว้ที่พื้นที่ที่เตรียมไว้เพื่อเป็นแบบนำทรายใส่ตรงกลางยางรถ อัดให้แน่น แล้วยกยางออกนำแผ่นพลาสติกปูทับทราย จากนั้นนำยางรถมาทับลงที่เดิมนำโคลนใส่พอประมาณ พร้อมทั้งใส่ผักบุ้งหรือผักตบชวามาเลี้ยงไว้เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยให้คล้ายคลึงธรรมชาติมากที่สุด เติมน้ำสูงเต็มประมาณ 1 ล้อและค่อยวางล้อยางขึ้นไปประมาณ 3-4 ชั้น จากนั้นก็นำปลาไหลมาใส่ไว้ในคอนโดโดย 1 คอนโดสามารถเลี้ยงปลาไหลได้ประมาณ 30-50 ตัว ส่วนการให้อาหารปลาไหลควรให้ 2 วันครั้ง อาหารที่ปลาไหลชอบกิน เช่นจำพวกหอยทุบ ซากปลาการถ่ายน้ำควรถ่ายสัปดาห์ละครั้งการเลี้ยงปลาไหลในคอนโดนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6-12 เดือนจะได้ปลาไหลขนาด 2-3 ตัว/กิโลกรัม (อนันต์,2561)
การเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อพลาสติก
การเตรียมบ่อเลี้ยง โดยขั้นตอนแรกขุดบ่อดินลึก 70 เซนติเมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตรเมื่อได้บ่อดินที่ต้องการแล้ว ปูพื้นบ่อด้วยกระสอบเก่า นำพลาสติกสีดำปูทับที่บ่ออีกที นำฟางข้าวที่แช่น้ำมาแล้วใส่ตรงกลางบ่อ หนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร นำดินมาเทถมให้ลาดเอียง 5-30 เซนติเมตรทำการเติมน้ำลงไป ให้ดินโผล่เหนือน้ำ 5-10 เซนติเมตร นำผักตบชวามาใส่ในบ่อ ล้อมบ่อด้วยมุ้งตาข่ายสีฟ้า ทำหลังคาคลุมพื้นที่หนึ่งในสี่ของพื้นที่ทั้งหมด ปล่อยปลาในอัตรา 30-40 ตัว/ตารางเมตรให้อาหารสมทบ ปั้นเป็นก้อนวันละมื้อในช่วงเย็น เลี้ยงประมาณ 6-7 เดือนจะได้น้ำหนักปลาขนาดตัวละ 200 กรัม ให้ผลผลิต 20-30 กิโลกรัม/ตารางเมตร (วิทยา,2554) ข้อควรระวังของการเลี้ยงรูปแบบนี้คือการหลุดรอดจากบ่อเลี้ยงของปลาไหล ทำให้อัตรารอดที่เหลือจากการเลี้ยงต่ำ (ชยุติ, ติดต่อส่วนตัว)
การเลี้ยงปลาไหลนา | เตรียมบ่อเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ | มือใหม่แบบละเอียด (Swamp eel)
เอกสารอ้างอิง
ชมรมเพื่อนเกษตร. มปป. การเลี้ยงปลาไหลครบวงจร.วารสารเพื่อนเกษตรฉบับพิเศษ.74 หน้า.
ประพัฒน์ ปานนิล. 2561. สิ่งประดิษฐ์การเลี้ยงปลาไหลนาแบบขังเดี่ยว.
แหล่งที่มา:
http://kasetranong.ac.th/pp/Synbranchidae.pdf, 25 มิถุนายน 2561.
ภาสกร ธรามานิตย์. 2554. การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาไหลนาที่เลี้ยงด้วยรูปแบบที่
แตกต่างกัน 3 รูปแบบ. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา.
วิกิพีเดีย. 2561. ปลาไหล. วิกิพีเดีย สาราณุกรมเสรี. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาไหล, 25 มิถุนายน 2561.
วิทยา มะสะ. 2554. เอกสารประกอบการอบรมการเลี้ยงปลาไหลนาโครงการคลินิกเทคโนโลยี 2554.
16 หน้า.
สุวรรณดี ขวัญเมือง, บุษราคัมหมื่นสา,จีรนันท์อัจนากิตติและสุชาติรัตนเรืองสี. 2536. การศึกษา
เบื้องต้นทางชีววิทยาบางประการและการทดลองเพาะพันธุ์ปลาไหลนา. เอกสารวิชาการฉบับ
ที่ 54/2536. กองประมงน้ำจืด, กรมประมง. 37 หน้า.
อนันต์ มิตรช่วยรอด. 2561. การเลี้ยงปลาไหลในล้อยางแนวทางใหม่ในการเลี้ยง.
แหล่งที่มา:http://www.nicaonline.com, 25 มิถุนายน 2561.
บทความอื่น
– 9 หลักเกณฑ์การขอใช้ไฟฟ้าฟรี เพื่อใช้ในการเกษตร