บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ แบบง่ายๆ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ

เลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ แบบง่ายๆ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ

5 กรกฎาคม 2019
20141   0

เลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ แบบง่ายๆ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ

เลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์

เลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์


สวัสดีครับ วันนี้จะมาพูดถึงการ เลี้ยงปลาไหลในวงท่อซีเมนต์ กันครับ..สำหรับ ปลาไหล นั้นเป็นปลาอีกชนืดหนึ่งพี่พูดได้ว่าทั้งคนไทยและเพื่อนบ้านเรา อย่าง เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา นิยมกินกันเป็นจำนวนมากและรสชาติถือได้ว่าสุดยอดกันเลยทีเดียวครับ สามารถทำได้หลากหลายเมนู และ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สำหรับการเลี้ยงปลาไหลในวงท่อชีเมนต์นั้น ก็ไม่อะไรที่ยุ่งยาก มากมายครับ หลักๆเลยก็ต้องมีวงท่อชีเมนต์ บ่อหนึ่งจะใช้ 2 ท่อ ต่อกัน ด้านล่างที่เป็นพื้นก็เทด้วยปูนชีเมนต์และทำท่อระบายเพื่อเปลี่ยนน้ำหรือ ระบายน้ำเน่าออกไปเวลาที่น้ำสกปรกคับ

ขั้นตอนการเตรียมบ่อซีเมนต์เลี้ยงปลาไหล

หลักจากที่เตรียมบ่อเสร็จ จะมากจะน้อยก็แล้วแต่คนเลี้ยงครับ ซึ่งถ้าเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรียน ก็ประมาณ 2 -3 บ่อ ก็เพียงพอแล้วครับ แต่ถ้าจะเลี้ยงเพื่อจำหน่าย ก็ต้องเพิ่มจำนวนตามความเหมาะสม หรือ จะใช้การก่อบ่อที่เป็นบ่อปูนซีเมนต์ ขนาด 2×3 เมตรก็ได้ครับ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และ ตามความสะดวกของผู้เลี้ยงเป็นหลัก ไม่มีอะไรที่ตายตัว สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมพื้นที่เป็นหลัก และตามทุนของผู้เลี้ยงครับ

เลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์

หลังจากเสร็จสิ้นในเรื่องของบ่อ ก็มาสู่ขั้นตอนการเตรียมบ่อ กรณีที่เป็นบ่อใหม่ก็ควรทำความสะอาดบ่อ ล้างคราบน้ำปูน ออกให้สะอาดและทำการแช่บ่อด้วยการเติมน้ำลงประมาณเกือบครึ่งบ่อ แล้ว นำต้นกล้วยไปแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์

เทคนิคการเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ แบบง่ายๆ

เสร็จแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมบ่อเพื่อนำปลาไหลมาปล่อย สำหรับการเตรียมบ่อนั้นกรณีที่เป็นบ่อปูน ขนาด 2×3 เมตรนั้น ให้นำดินโครนจากท้องไร้ท้องนา รองพื้นบ่อและนำต้นกล้วยตัดเป็นท่อนๆวางเรียงกัน แล้วนำดินมากรบอีกที กรณีถ้ามีพวกผักตบหรือเศษฟาง ก็สามารถนำมาประยุกต์ผสมเข้าไปกับดินเพื่อให้ดินร่วนไม่แข็งจนเกินไป แล้วเติมน้ำเข้าไปประมาณครึ่งบ่อ นำผักตบชวามาปล่อยพื่อให้ปลาไหลหลบซ้อน หรือจะเป็นพวกแหน่ หรือ วัชพืชน้ำเพื่อเรียนแบบธรรมชาติ ให้มากที่สุดแล้วปล่อยบ่อทิ้งไว้ 7-14 วัน ให้ดินได้คลายตัวและ วัชพืช ได้เจริญเติบโต รวมทั้มทั้งต้นกล้วยได้ย่อยสลายเป็นเหยี่ยปลาไหล เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเตรียมบ่อ

การเตรียมปลาไหลเพื่อลงปล่อย

สำหรับการเตรียมปลาไหล นั้นปรกติแล้วปลาไหนนา จะมีวงจรชีวิตที่แปลกและแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นซึ่งจะมีสองเพศในตัวเดียว พอโตขึ้นมาปลาไหลจพทำการเลือกเพศตามขนาดของลำตัว ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาไหลตัวผู้ ตัวเมียขนาด 50-60 เซนติเมตร ส่วนตัวผู้นั้นจะมีขนาด น้อยกว่า 50 เซตติเมตร ครับ

บ่อปลาไหล

ช่วงฤดูวางไข่ของปลาไหลนา

ปลาไหลนาเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และจะมีความสมบูรณ์สูงสุดในเดือนสิงหาคม ปริมาณความดกของไข่ปลาไหลขึ้นอยู่กับขนาดของปลา เช่น ปลาขนาด 20-60 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 300-400 ฟอง ถ้ายาวกว่า 60 เซนติเมตร จะมีไข่ประมาณ 1,000 ฟอง

การพัฒนาของไข่ปลาไหล

ไข่ปลาไหลนาเป็นลักษณะไข่จมไม่ติดวัสดุ เมื่อสัมผัสจะมีความยืดหยุ่นมาก มีสีเหลืองทองสดใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตร มีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบหู อายุ 5-6 วัน ถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบหูหายไป และเริ่มกินอาหารได้ (ภาพที่ 5) อัตราการฟัก 70-80 เปอร์เซ็นต์

การอนุบาลลูกปลา อายุ 7-10 วัน

นำลูกปลาวัยอ่อนอายุ 7-10 วัน ที่ฟักออกเป็นตัวไปอนุบาลในกะละมังพลาสติกทรงกลม ปล่อยลูกปลาอัตราความหนาแน่น 350 ตัว ต่อตารางเมตร ใส่น้ำลึก 15 เซนติเมตร ใส่ต้นผักจอกเพื่อให้ลูกปลาเกาะ ควรมีการถ่ายเทน้ำ 2-3 วัน ต่อครั้ง อาหารใช้ไรแดง ให้กินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อมีอายุได้ 6 สัปดาห์ จะมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ก็จะกินเนื้อปลาบดได้ พร้อมฝึกให้กินอาหารสมทบ โดยฝึกให้กินอาหารกึ่งเปียกสำเร็จรูป โดยปั้นเป็นก้อนๆ ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ควรมีการคัดขนาดเพื่อช่วยลดการกินกันเองด้วย

การอนุบาลลูกปลา ขนาด 5-10 เซนติเมตร

ลูกปลาไหล

เมื่ออนุบาลปลาจนได้ขนาด 5 เซนติเมตร ปลาจะมีขนาดปากที่กว้างขึ้น ลดไรแดง และให้อาหารสมทบวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น โดยปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกสัปดาห์เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกปลา นอกจากนี้ อาจผสมน้ำมันปลาหมึกเพื่อช่วยดึงดูดลูกปลาให้กินอาหารได้ดีขึ้น และควรมีวัสดุหลบซ่อนโดยใช้ท่อเอสล่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6/8 นิ้ว ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 20 เซนติเมตร บ่อละ 3-5 ท่อน ลูกปลาค่อนข้างตกใจได้ง่ายถ้ามีเสียงดัง ใช้เวลา 6 สัปดาห์ ก็จะได้ปลาขนาด 10 เซนติเมตร ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1-2 กรัม สามารถแยกลงบ่อเลี้ยงต่อไป

การให้อาหารปลาไหล

  • ปลาไหลขนาดความยาว 2.5-3 เซนติเมตร จะกินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆวันละ 2 ครั้ง
  • ปลาไหลขนาดความยาว 5 เซนติเมตร ฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปร่วมกับหนอนแดง
  • ปลาไหลขนาดความยาว 8-10 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 6 สัปดาห์ เริ่มให้อาหารสดบด เช่น โครงไก่ วันล่ะ 2 ครั้ง

ให้อาหารเสริมปลาไหล 2 วัน/ครั้ง ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารปลาดุก อาหารปลานิล อาหารลูกอ๊อด ต้นกล้วยสับ

ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาไหลนา

  1. การรวบรวมพันธุ์ปลาจากธรรมชาติเข้ามาเลี้ยง ควรระมัดระวังในเรื่องการลำเลียง ไม่ควรให้หนาแน่นมากเกินไป ปลาจะบอบช้ำได้และอาจทำให้ตายในภายหลังจากการปล่องลงบ่อเลี้ยงได้
  2.  ปลาที่เลี้ยงควรเป็นปลาขนาดเดียวกัน เพื่อลดปัญหาการกินกัน
  3. อาหารสดที่นำมาเลี้ยงปลา ควรล้างน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วนำมาแช่ด่างทับทิมเข้มข้น นานประมาณ 10 นาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปเลี้ยงปลาไหล
  4. ปลาไหลเป็นปลาที่ตกใจง่าย ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงควรใส่ฟางข้าวแห้งเพื่อให้ปลาใช้หลบซ่อน และลดความเครียดได้เมื่อมีคนเดินผ่าน หรือทำให้ตกใจ ปลาถ้าตกใจจะไม่กินอาหาร
  5. บ่อควรมีร่มเงาบังแสงแดดบ้าง

ตลาดปลาไหล และ ช่องทางการจำหน่าย

สำหรับตลาดของปลาไหลนั้นยังมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะปลาไหลตามธรรมชาตินั้นหายากมาก ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศด้วยซ้ำไป หรือ สำหรับผู้ที่ในระดับฟาร์ม นั้น การจำหน่ายปลาไหลนั้นจะมีพ่อค้าคนกลาง วิ่งมารับถึงที่ เพื่อไปจะหน่ายยังตลาดไท และ ส่งตามร้านอาหารป่า หรือ จะหันมาจำหน่ายตัวเล็ก หรือ จำหน่ายลูกพันธุ์ ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่ดี และทุกวันนี้ ยังมีการจำหน่ายหรือขายผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ในกลุ่ม Facebook  หรือ กลุ่ม Line ด้วย

การเลี้ยงปลาไหลนา | เตรียมบ่อเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ | มือใหม่แบบละเอียด (Swamp eel)

ขอบคุณแหล่งที่มา : กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน                   
               โทรศัพท์  :  0-2629-8972   
                                :  www.opsmoac.go.th

เอกสารอ้างอิง

สุวรรณดี ขวัญเมือง, บุษราคัม หมื่นสา, จีรนันท์ อัจนากิตติ และ สุชาติ รัตนเรืองสี. 2536. การศึกษาเบื้องต้นทางชีววิทยาบางประการ และการทดลองเพาะพันธุ์ปลาไหลนา.เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 54/2536. กองประมงน้ำจืด, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ศราวุธ เจะโส๊ะ และ สุวรรณดี ขวัญเมือง. 2536. ปลาไหลนา คุณลักษณะด้านชีววิทยาและธุรกิจการเพาะเลี้ยง. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 1/2536. กองประมงน้ำจืด, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุปราณี ชินบุตร, เต็มดวง สมศิริ, พรเลิศ จันทร์รัชชมึงล, สมเกียรติ กาญจนาคาร และ ฐิติพร หลาวประเสริฐ. 2546. เอกสารคำแนะนำ. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ