บทความเกษตร/เทคโนโลยี » นวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ ตอบโจทย์ “สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ”

นวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ ตอบโจทย์ “สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ”

2 พฤศจิกายน 2020
6037   0

สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ

นวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ ตอบโจทย์ “สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ”

นวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ ตอบโจทย์ “สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ” ในโลกยุค 4.0 ที่เทคโนโลยีไอทีพัฒนาและก้าวไกลไปมากในทุกอุตสาหกรรมตั้งแต่ภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม ความบันเทิง คมนาคม จนรวมไปถึงภาคการเกษตรที่หลายคนคิดว่าได้ถูกทิ้งให้ล้าหลังยุค 4.0 นี้ไป แต่ในแท้ที่จริงแล้ว เทคโนโลยีด้านการเกษตรนั้นก็ได้มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้าเป็นอย่างมาก โดยใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเข้ามาเพื่อพัฒนากระบวนการด้านการเกษตรให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น พร้อมทั้งมีพัฒนาการอย่างมั่นคง และ ยั่งยืน

เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm หรือ Intelligent Farm)

เกษตรอัจฉริยะนั้นเป็นการทำการเกษตรรูปแบบใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาท และ มีความแม่นยำสูง เข้ามาช่วยในการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งในยุคที่แรงงานในภาคเกษตรลดลงมาตลอดหลายปี ทำให้ภาคการเกษตรจำเป็นต้องมีการปรับตัวโดยการนำเอาเทคโนโลยีด้านต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น

สำหรับองค์ประกอบสำคัญในการทำ “สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ” นั้นจะต้องมี ด้านด้วยกัน จึงจะทำให้ฟาร์มอัจฉริยะนั้นมีประสิทธิภาพคือ

1.  การระบุตำแหน่งพื้นที่เพาะปลูก 

2.  การแปรวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรงกับระยะเวลาของการเพาะปลูกพืช

3.  การบริหารจัดการพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร และต้องเข้ากับการเพาะปลูกพืชในชนิดนั้น ๆ

ด้วยเทคโนโลยีที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ความรู้ทางการทำการเกษตรอัจฉริยะมีมากขึ้นบนอินเตอร์เน็ต และทำให้ผู้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงเนื้อหาเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นมาก เพราะการทำการเกษตรอัจฉริยะเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการทำการเกษตรในศตวรรษที่ 21 โดยหากมีการใช้เทคโนโลยีที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างแม่นยำ มีเทคนิคในการตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้อง จะช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิต เพื่อมผลผลิตต่อพื้นที่ ควบคุมคุณภาพผลผลิต และสร้างมาตรฐานการผลิตให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว ผลผลิตจึงได้ราคาสูงกว่าฟาร์มทั่วไป

หลายฟาร์มในปัจจุบันเริ่มนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้ในการทำงานแล้ว โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ในการช่วยควบคุมและบริหารฟาร์ม เช่น การใช้ระบบการให้น้ำและปุ๋ยที่แม่นยำ ไม่จำเป็นต้องคาดเดาปริมาณการให้ปุ๋ยอีกต่อไป โดยนำเครื่องมือหรือเซ็นเซอร์มาคอยควบคุมเพื่อวัดค่าอุณหภูมิ ความชื้น สภาพความเป็นกรดด่าง และความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่าง  การนำ นวัตกรรมเกษตรยุคใหม่  หรือ การทำ สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ มาใช้ทางด้านการเกษตร

ฟาร์มไก่ไข่ระบบอัจฉริยะ (IoT)

สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ

       พรรัตภูมิฟาร์ม ใช้กระบวนการเลี้ยงไก่ไข่และการจัดการฟาร์มไก่ไข่ระบบอัจฉริยะ ควบคุมด้วยเทคโนโลยี IoT มีเซ็นเซอร์วัดระดับความชื่น อุณหภูมิความเข้มของแสง และปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่ มีการรับส่งข้อมูลจากโรงเรือนของผู้เลี้ยงมายังศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลโดยตรง มีทีมสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงเป็นที่ปรึกษา มีทีมเฝ้าติดตามระบบคอยตรวจสอบเฝ้าระวังสถานะการทำงานของอุปกรณ์ในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้นขณะเดียวกันเกษตรกรสามารถใช้แอปพลิเคชั่นในมือถือสั่งการควบคุมระดับความชื้น อุณหภูมิ และปัจจัยต่างๆ ภายในโรงเรือนได้

นวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ ตอบโจทย์ “สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ”

2. Getz Trac เทคโนโลยีจองรถเกี่ยวข้าว

Getz Trac เทคโนโลยี

เก็ทแทรค (Getz Trac) คือ แอปพลิเคชั่นส้าหรับจ้างรถเกี่ยวข้าวและอุปกรณ์การเกษตร 3 รูปแบบ ได้แก่
      1.  จองรถเกี่ยวข้าว ในระบบ 400 กว่าคันทั่วไทย ได้ล่วงหน้า 1 เดือน โดยคิดอัตราค่าบริการตามขนาดที่นา
พันธุ์ข้าวที่เก็บเกี่ยว เช่น ข้าวเจ้า ค่าบริการ 450 บาท ต่อไร่ ข้าวเหนียว 500 บาท ต่อไร่ ข้าวหอมมะลิ 600
บาท ต่อไร่
      2. บริการจองโดรนสำหรับฉีดยาวัชพืช ฉีดยาฆ่าแมลง หว่านปุ๋ย ค่าบริการ 120 บาท ต่อไร่
      3. จองรถแทรกเตอร์สำหรับเตรียมดินก่อนเพาะปลูก ราคา 500 บาท หรือบริการรับจ้างอัดฟาง ในอัตรา 15
บาท ต่อก้อน

ในอนาคตเก็ทแทรคยังจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ให้สามารถแจ้งเตือนได้ว่าขณะนั้นมีโรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อพืชผลอย่างไร เพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมความพร้อมและหาทางป้องกันได้อย่างถูกวิธีอีกด้วย

Farmbook.co วางแผนการเพาะปลูกสำหรับเกษตรกร

นวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ ตอบโจทย์ “สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ”

           แนวคิด Farmbook.co เป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือการวางแผนการผลิต การคาดการณ์ผลผลิต ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางการเกษตร ได้แก่ สภาพอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การจัดการโรค และ แมลงศัตรูพืช การนำเทคโนโลยีทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การส้ารวจระยะไกล การตรวจสอบ
คุณภาพดิน และระบบการให้น้ำ นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างสังคมการแบ่งปันอุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตร
แรงงาน และวัตถุดิบในกลุ่มเกษตรกรรายย่อยซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือทั้งการวางแผนการผลิต การคาดการณ์ผลผลิต ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางการเกษตร ได้แก่ สภาพอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช การนำเทคโนโลยีทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสำรวจระยะไกล การตรวจสอบคุณภาพดิน และระบบการให้น้ำ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างสังคมการแบ่งปันอุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตร แรงงาน และวัตถุดิบในกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ส่งผลให้สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและการจัดสรรสัดส่วนพื้นที่การเกษตรได้ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการตลาด การตรวจสอบและติดตามกระบวนการเพาะปลูกของผลผลิตได้ทุกขั้นตอน

ระบบการให้น้ำใต้ดินมิติใหม่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน

โรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ

การปลูกทุเรียนนอกฤดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกร เนื่องจากผลไม้ดังกล่าวเป็นที่นิยมในการรับประทานตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตามเทคนิคสำคัญในการจัดการทุเรียนนอกฤดูต้องควบคุมระบบการผลิต โดยเฉพาะการควบคุมระบบการให้น้ำ ซึ่งระบบการให้น้ำสำหรับต้นทุเรียนในปัจจุบันเป็นการให้น้ำบนดิน เช่น สปริงเกอร์ ระบบพ่นฝอย ระบบน้ำหยด ปัญหาที่ตามมาก็คือ เกิดการสูญเสียน้ำบนผิวดินในปริมาณมาก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปทุเรียนพันธุ์หลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้ร่วมมือกับนักวิจัยพัฒนาระบบการให้น้ำใต้ดินผ่านเซรามิกรูพรุน (Subsoil Irrigation System, SIS) ขึ้น เป็นแหล่งน้ำต้นทุนใต้ผิวดิน เซรามิกรูพรุนเป็นเครื่องมือควบคุมปริมาณน้ำ ปุ๋ย แร่ธาตุ และวัคซีน ออกสู่ดินอย่างช้าๆ และเป็นแหล่งน้ำต้นทุนใต้ผิวดินตลอดทั้งปี จึงใช้ได้กับทุเรียนทุกช่วงอายุ รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้ระบบการให้น้ำในพืชอื่นๆ ได้อีกด้วย

โรงเรือนเพาะปลูกสตรอเบอรี่ขนาดเล็ก

สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ

การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสภาวะเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการว่างเว้นจากการทำไร่ทำนาในบางช่วงฤดู และเพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องสูญเสียรายได้และมีรายได้เพิ่มขึ้น บริษัท เอแอนด์จี ออร์แกนิค จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตร จึงคิดโซลูชั่นสร้างรายได้ในช่วงว่างเว้นจากการทำนา ด้วยนวัตกรรมโรงเรือนเพาะปลูกสตรอเบอรี่ขนาดเล็กสำหรับชุมชน นำร่องใช้กับเกษตรกรใน จ.พิจิตร ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก นวัตกรรมดังกล่าวใช้เทคนิคการคัดชุดตาดอกที่สมบูรณ์เพียง 2 ชุด และกระตุ้นตาดอกก่อนเข้าสู่กระบวนการเพาะปลูกสตรอเบอรี่ ภายในโรงเรือนระบบขนาดเล็กที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย ประกอบด้วยระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง เพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี รวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตสตรอเบอรี่และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ถึง 2 เท่า

ข้อดีของการใช้ นวัตกรรมโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ

  1. สะดวก ต่อการใช้งาน สามารถจัดการกับพื้นที่ทำการเกษตรได้ทุกที่ทุกเวลา
  2. ลดขั้นตอน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตร
  3. เพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำเกษตรกรรม รวมถึงประสิทธิภาพผลผลิต
  4. เพิ่มผลผลิต ทางการเกษตร ให้เกษตรกรคุ้มค่าต่อการลงทุน
  5. เพิ่มคุณภาพ แก่ผลผลิต
  6. เพิ่มมูลค่า ให้แก่ผลผลิต
  7. ลดปัญหา การคาดแขลนแรงงาน
  8. สร้างความมั่นใจ ในการได้รับผลผลิตของเกษตรกร
  9. ลดต้นทุนที่สูญเสีย ไปในขั้นตอนการผลิต

ทุกวันนี้อุปกรณ์ไฮเทคที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้นในราคาที่จับต้องได้ ถึงแม้ว่านวัตกรรมด้านการเกษตรจะยังคงหายากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ในอาคตหากมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้รับการสนับสนุนโดยภารัฐ ในอนาคตเทคโนโลยี้กษตรของไทยจะพัฒนาขึ้นไปเปรียบเทียบกับชาติอื่น ๆ ได้อย่างแน่นอน

บทความอื่น :
รวมสูตรการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ
ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ศาสตร์พระราชา

ที่มา : https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_152734