บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย เสริมอาชีพหลัก

การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย เสริมอาชีพหลัก

28 มกราคม 2021
3400   0

การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย เสริมอาชีพหลัก

การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย เสริมอาชีพหลัก

“การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย เสริมอาชีพหลัก”  แพะเป็นสัตว์เลี้ยงง่ายให้ผลตอบแทนเร็วโดยเฉพาะ แพะเนื้อ หรือ แพะขุน อีกอย่างยังลงทุนน้อย เนื่องจากแพะสามารถใช้พืชอาหารหยาบและวัสดุเหลือใช้พืชอาหารหยาบและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่นเป็นอาหารได้แล้วแต่พื้นที่ สำหรับการเลี้ยงแพะสามารถใช้แรงงานภายในครอบครัวได้ ไม่จำเป็นต้องใช้คนเยอะ  ปัจจุบันปริมาณแพะพันธุ์ดี มีไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร หรือ พ่อค้าคนกลางที่รับซื้อ เพื่อที่จะนำไปใช้เลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์ – แม่พันธุ์ เนื่องจากมีเกษตรกรให้ความสนใจและหันมาเลี้ยงแพะกันมากขึ้นทุกพื้นที่ ทั่วประเทศแล้ว และยังมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อถึงบ้าน เพื่อรววบรวมแพะให้นายทุน ส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย จึงทำให่ปริมาณเพะไม่เพียงพอต่อความต้องการ และราคาก็สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งวันนี้เราจะมาดู วิธีการเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย กันครับ

ความพร้อมของเกษตรกรผู้ที่จะเลี้ยงแพะ
การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย

  1. เกษตรกร หรือ ผู้ที่สนใจ คิดที่จะเริ่มเลี้ยงแพะนั้น ควรมีประสบการณ์ หรือ มีความรู้และมีความตั้งใจจริงในการผลิตแพะพันธุ์ดี
  2. เกษตรกรต้องมีความพร้อมในด้านพื้นที่ โรงเรือน ที่ใช้ในการเลี้ยงแพะพร้อมทั้งแรงงาน และ มีแหล่งพืชอาหารหยาบหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับใช้เลี้ยงแพะอย่างเพียงพอ เช่น กระถิ่น , หญ้า, ฟางข้าว หรือ อื่นตมามความเหมาะสมของแต่ล่ะพื้นที่ 
  3. ควรมีการจัดการเลี้ยงในลักษณะกลุ่มหรือมีเครือข่ายด้านการตลาดที่ชัดเจน เพื่อรองรับแพะที่เราเลี้ยง
  4. จำเป็นจะต้องรู้เทคโนโลยีและกระบวนการเลี้ยง และ ดูแลจัดการเบื้องต้นด้วย

สายพันธุ์แพะที่นิยมเลี้ยง

เรื่องของ สายพันธุ์แพะเนื้อ ที่นิยามเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายนั้น ได้แก่ แพะพันธุ์พื้นเมือง แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน และพันธ์บอร์ นั้นเอง ซึ่งในการเลี้ยงของเกษตรกรผุ้ที่สนใจนั้น สำหรับพ่อพันธุ์ ควรเป็นแพะพันธุ์แองโกลนูเบียน หรือ พันธุ์บอร์ ซึ่งรูปร่างสูงใหญ่ แข็งแรงมีความสมบูรณ์ และควรมี อายุ 1 ปี ขึ้นไป ส่วนแม่พันธุ์ ควรเป็นพันธุ์พื้นเมือง หรือพันธุ์ลูกผสมแงโกลนูเบียน หรือพันธุ์บอร์ ที่มีลักษณะลำตัวยาว เต้านมโตหัวนมยาวสมส่วน ปริมาณน้ำนมมาก ความสามารถในการผสมติดสูง และให้ลูกแฝด ทำให้ขยายพันธุ์ได้เร็ว คืนทุนไว

เกร็ดความรู้**

  • แพะพันธุ์พื้นเมือง แพะพันธุ์พื้นเมืองในภาคใต้ มีสีหลากหลาย ส่วนใหญ่พบว่ามีสีดำ น้ำตาล หรือน้ำตาลสลับดำ แพะโตเต็มที่เพศเมียนมีความสูงตรงปุ่มหน้าขาประมาณ 48.5 ซม. มีน้ำหนักตัวประมาณ 12.8 – 16.4 กก. แพะพันธุ์พื้นเมืองไทยมีลักษณะคล้ายกับแพะพันธุ์กัตจัง (Kambing Katjang) พันธุ์พื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย
  • แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglonubian) เป็นแพะที่ให้ทั้งเนื้อและนม มีหลายสี ทั้งสีเดียวในตัวและสีด่างปัน สันจมูกเป็นเส้นโค้ง ใบหูยาวปรกลง นำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ในไทยกว่า 20 ปี
  • แพะพันธุ์บอร์ (Boer) เป็นแพะพันธุ์เนื้อขนาดใหญ่ จากประเทศแอฟริกาใต้ มีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก นำเข้ามาเมื่อปลายปี 2539
  • แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen) เป็นแพะพันธุ์นม สีขาวทั้งตัว หูใบเล็กตั้ง หน้าตรง
  • แพะพันธุ์หลาวซาน (Laoshan) เป็นแพะพันธุ์นม จากประเทศจีน มีลักษณะคล้ายพันธุ์ซาเนน
  • แพะพันธุ์อัลไพน์ (Alpine) เป็นแพะพันธุ์นม สีน้ำตาลหรือดำ ใบหูเล็กตั้ง หน้าตรง มีแถบสีข้างแก้ม
  • แพะพันธุ์ทอกเก็นเบิร์ก (Toggenburg) เป็นแพะพันธุ์นม ลำตัวสีช็อกโกแบต ใบหูตั้ง หน้าตรง มีแถบสีขาวข้างแก้ม

โรงเรือนเลี้ยงแพะและอุปกรณ์

โรงเรือนเลี้ยงแพะ
  • โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงแพะ พื้นที่ตั้งคอกควรยกสูงกว่าพื้นดินประมาณ 1-2 เมตร และ มีบันไดขึ้นลงเป็นทางลาดเอียงสำหรับขึ้นลงพื้นประมาณ 45 องศา
  • พื้นคอกควรทำเป็นร่องเว้นระยะห่าง 1.5 เซนติเมตร เพื่อเพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด
  • ผนังคอกควรสร้างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ความสูงประมาณ 1.5 เมตร ควรมีรั้วกั้นที่แข็งแรง เพื่อป้องกัน ไม่ให้แพะกระโดดข้าม
  • สำหรับหลังคาโรงเรือน สามารถสร้างได้หลายแบบให้เหมาะสมกับสภาพอากาศหรือต้นทุนในการสร้าง แต่ควรให้หลังคาโรงเรือนสูงจากคอกประมาณ 2 เมตร
  • พื้นที่ในการเลี้ยงแพะ แพะแต่ละตัวต้องการพื้นที่ส่วนตัวละ1-2 ตารางเมตร หรือแล้วแต่ขนาดตัวของแพะ สามารถแบ่งคอกในโรงเรือนได้ตามการใช้งานต่างๆอาทิ คอกแม่แพะอุ้มท้อง, คอกสำหรับคลอดลูกแพะ, คอกสำหรับลูกแพะ เป็นต้น

อาหารและการให้อาหาร
การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อผลิตพันธุ์จำหน่าย เสริมอาชีพหลัก

แพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องคล้ายโค อาหารหลักตามปกติของแพะ คือ อาหารหยาบ เช่นหญ้าสดต่างๆ ใบไม้ และพืชตระกูลถั่ว หรือ ไม้พุ่ม เช่น ใบพุทรา ใบปอสา ใบมะขามเทศ เป็นต้น ในการเลี้ยงแพะพันธุ์ควรเสริมอาหารข้นเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้แพะ เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีขึ้น

การจัดการเลี้ยงดูแพะ

สำหรับวิธีการเลี้ยงแพะนั้นมีหลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น การเลี้ยงแบบผูกล่าม การเลี้ยงแบบปล่อย หากินในสวนยางหรือผลไม้ และยังมีการเลี้ยงแบบขังคอก โดยมีการปล่อยแปลงหญ้าเป็นระยะ ๆ หรือตัดหญ้ามาให้กินในคอก การเลี้ยงดูแพะตัวผู้ตัวเมียจะคล้ายกัน แต่ควรแยกแพะตัวผู้ และตัวเมีย ตั้งแต่อายุได้ 3 เดือน อัตรส่วนการผสมพันธุ์จะใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 15 – 25 ตัว พ่อและแม่พันธุ์ที่จะเริ่มผสมพันธุ์ได้ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 8 เดือน ใน 1 ปีแม่แพะจะสามารถให้ลูกได้ 2 – 3 ตัว การเลี้ยงดูลูกแพะต้องให้อยู่กิบแม่ในระยะแรกและแยกออกเป็นอายุเลย 3 เดือนไปแล้ว

ต้นทุนและผลตอบแทน

สำหรับการเลี้ยงแพะพันธุ์ดี 1 ชุด ประกอบด้วย พ่อพันธุ์ 1 ตัวแม่พันธุ์ 10 ตัว

ด้านต้นทุน

สำหรับการเลี้ยงแพะพันธุ์ดีจำนวน 11 ตัว ต้นทุนในระยะแรกจะได้แก่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรงเรียน อุปกรณ์ ค่าพันธุ์แพะ ค่าจัดทำแปลงหญ้า ค่าอาหาร ค่าเวชภัณฑ์ ค่าวัคซีนรวมประมาณ 35,000 – 40,000 บาท ในปีที่ 2 และปีต่อไปค่าใช้จ่ายจะลดลงเนื่องจากไม่ต้องลงทุนในเรื่องโรงเรือน อุปกรณ์ และพันธุ์แพะ

ด้านผลตอบแทน

จะเริ่มจำหน่ายแพะในปีที่ 2 ได้ประมาณ 20 – 30 ตัว โดยเป็นแพะลูกผสมอายุ 1 ปี มีน้ำหนักประมาณ 25 – 30 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท ขายได้ตัวละ 2,500 – 3,000 บาท จะมีผลตอบแทนประมาณ 50,000 – 60,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ต้นทุนและผลตอบแทนในการเลี้ยงจะแตกต่างกันไปตามแหล่งเลี้ยง และภาวะการณ์ตลาดของแต่ละพื้นที่ 

แหล่งข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม

  1. เอกสารคำแนะนำ “การเลี้ยงแพะ” กรมปศุสัตว์ โทร. 0-2653-4444 ต่อ 2431
  2.  สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมปศุสัตว์ โทร. 0-2653-4471
  3. กลุ่มวิจัยและพัฒนาสัตว์เล็ก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ โทร. 0-2653-4453
  4. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์/สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ ในพื้นที่ใกล้เคียง
  5. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ www.opsmoac.go.th
  6. สำนักกสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 1 – 9