เลี้ยงปลาซิวในบ่อพลาสติก เลี้ยงง่าย ได้ผลดี
เลี้ยงปลาซิวในบ่อพลาสติก
เลี้ยงปลาซิวในบ่อพลาสติก ปลาซิว คือหนึ่งปลาเศรษฐกิจที่ขายได้ราคาดี มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่เลี้ยงปลาซิวเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ปลาซิวนั้น ได้ถูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารหลากหลายชนิด และก็มีคนนิยมทานกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ปลาซิวที่ดีควรมีลักษณะ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ปลาซิวที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
- ควรเป็นปลาวัยเจริญพันธุ์ เพศผู้ รูปร่างปราดเปรียว บริเวณสามเหลี่ยมตรงกลางลำตัว มีสีเข้มเด่นชัดคล้ายด้ามขวาน เพศเมียลำตัวสั้นป้อม มีท้องอูมเป่ง ควรเป็นปลาวัยเจริญพันธุ์ เพศผู้ รูปร่างปราดเปรียว บริเวณสามเหลี่ยมตรงกลางลำตัว มีสีเข้มเด่นชัดคล้ายด้ามขวาน เพศเมียลำตัวสั้นป้อม มีท้องอูมเป่ง
- พ่อแม่พันธุ์ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 0.30-0.60 กรัม พ่อแม่พันธุ์ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 0.30-0.60 กรัม
- ตามลำตัวไม่ควรมีบาดแผล เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อและลุกลามถึงตายในที่สุด ตามลำตัวไม่ควรมีบาดแผล เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อและลุกลามถึงตายในที่สุด
ขั้นตอนการเลี้ยงปลาซิว
1. เตรียมบ่อเลี้ยงขนาดบ่อ 2 x 4 เมตร ลึก 1 เมตร (เป็นบ่อปูนหรือบ่อพลาสติกก็ได้)
2. หลังจากเตรียมบ่อแล้วให้ทำการเปิด น้ำเข้าบ่อสูง 80 เซนติเมตร และนำท่อนกล้วยแช่นาน 1 สัปดาห์
3. นำปลาซิวลงบ่อเลี้ยงประมาณ 10 กิโลกรัม
4. อาหารให้รำอ่อน วันละ 1 ครั้ง
5. ระบบการเปลี่ยนน้ำให้ทำการเปลี่ยนน้ำโดย การเปิดก๊อกน้ำใส่บ่อและทำตัวจุกน้ำออกจากบ่อที่ก้นบ่อด้วย และนำมุ้งเขียวกันไว้ไม่ให้ปลาหลุ ด (ให้ทำการเปลี่ยนน้ำปีละ 1 ครั้ง)
6.อาหารเสริมสามารถนำปลวกมาสับ ให้ละเอียดเพื่อนำไปเป็นอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนให้ปลาซิวได้ เลี้ยงไว้ 2-3 เดือน สามารถใช้ได้เลย
สูตรอาหารเลี้ยงปลาซิว
ส่วนผสม
- ยอดผักบุ้ง หน่อไม้ หน่อกล้วย รวมกัน 10 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 10 ลิตร
- ฟอสเฟต 10 กก.
- รำละเอียด 2.5 กก.
- เกลือ 2 ขีด
- น้ำ 70 ลิตร
วิธีการทำ
- นำผักมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ
- นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 15 วัน สามารถนำไปใช้ได้
การนำไปใช้
ฉีดพ่นหรือราดลงดิน เพื่อบำรุงพืชผักสวนครัว พืชสวน พืชไร่ ไม้ผลทุกชนิด เพื่อเพิ่มเติมความเขียวงาม เป็นอาหารเสริม และทำให้ลำต้นแข็งแรง และช่วยบำบัดน้ำเสียปรับสภาพน้ำ
โรคและการป้องกันโรค
1.โรคแผลตามลำตัว
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ เกล็ดจะพองและตกเลือดสีแดงตามลำตัว
การป้องกัน ใช้ยาต้านจุลชีพ ชนิดซัลฟาไตรเมทโทรพริม ในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร แช่ปลานาน 2-3 วัน โรคแผลตามลำตัว
2.โรคครีบกร่อน หางกร่อน
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ ตามโคนหางจะเป็นแผล แล้วค่อยๆลามเข้าไป จนทำให้ครีบมีขนาดเล็กลงบางครั้งครีบกร่อนไป จนหมด
การป้องกัน ใช้ยาต้านจุลชีพ ชนิดซัลฟาไตรเมทโทรพริม ในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร แช่ปลานาน 2-3 วัน โรคครีบกร่อน หางกร่อน
ตัวอย่างผลผลิตที่ถูกแปรรูปจากปลาซิว
ขอบคุณบทความเเละรูปจาก | www.withikaset.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ