2. จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus Bimaculatus Degeeer)

จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus Bimaculatus Degeeer)
หรือบางพื้นที่เรียก จิโหลน เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.6-0.7 ซม. ยาวประมาณ 2.8-3.0 ซม. ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน
3. จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus Testaceus Walker)

จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus Testaceus Walker)
หรือบางพื้นที่เรียก จิ้งหรีดนิล หรือ จินาย เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.5-0.6 ซม. ยาวประมาณ 2.5-2.80 ซม. ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน
4. จิ้งหรีดทองลาย (Modicogryllus Confirmata Walker)

จิ้งหรีดทองลาย (Modicogryllus Confirmata Walker)
หรือนิยมเรียกว่า แมงสดิ้ง เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง ขนาดลำตัวกว้างประมาณ 0.4-0.55 ซม. ยาวประมาณ 2.0-2.5 ซม. ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย
วงจรชีวิต และพฤติกรรม
ระยะแรก ระยะไข่ รูปร่างยาวเรียว คล้ายเมล็ดข้าวสาร สีน้ำตาลอ่อน ความกว้างของไข่ 5.1 มม. ความยาว 2.38 มม.

ไข่จิ้งหรีด
ระยะสอง ระยะตัวอ่อน ลำตัวสำน้ำตาลปนเหลือง ฟักออกจากไข่ช่วงแรกยังไม่มีปีก จะเริ่มมีตุ่มปีกในเมื่อถึงกลางวัยอ่อน พอลอกคราบ 8 ครั้ง จึงเข้าสู่วัยแก่ (รวมอายุวัยอ่อนระหว่าง 42 – 55 วัน)

ตัวอ่อนจิ้งหรีด
ระยะสาม ระยะตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ เพศผู้ ปีกคู่หน้าย่น มีหนาม ไว้ทำเสียง เพศเมีย มีปีกเรียบ และมีเข็มวางไข่อยู่ส่วนท้ายของลำตัว อายุวัยแก่ประมาณ 38 – 49 วัน
ระยะสี่ การผสมพันธุ์ ตัวเต็มวัยอายุ 3 – 4 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ตัวผู้จะขยับปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียงหลายจังหวะ หลายสำเนียงในการสื่อสารความหมายต่างๆ สำหรับการผสมพันธุ์จะเกิดตลอดช่วงอายุตัวเต็มวัย โดยตัวเมียจะขึ้นคร่อมบนหลังตัวผู้
ระยะห้า การวางไข่ ตัวเมียเริ่มวางไข่เมื่อผสมพันธุ์ผ่านไป 3 – 4 วัน แบ่งการวางไข่เป็น 5 รุ่น วางไข่ได้เฉลี่ย 1,200 – 1,700 ฟอง/จีง โดยวางไข่ไว้ใต้ดิน และฟักออกเป็นตัวเมื่อไข่อายุครบ 7 วัน