เลี้ยงแพะยังไงให้ประสบความสำเร็จ สำหรับมือใหม่
การเลี้ยงแพะ สัตว์เลี้ยงที่ได้ผลผลิตหลายอย่าง การเลี้ยงแพะขายได้ทั้งเนื้อ นม หนัง และขน แต่การเลี้ยงแพะในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังขาดข้อมูลบางอย่างทำให้ผลผลิตได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น
แพะ สัตว์ที่หลายคนคิดว่ากลิ่นเหม็นสาบ สกปรก ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยง ใครจะคิดบ้างว่า แพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใช้เลี้ยงทดแทนโค – กระบือ และ ยังมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากอีกด้วย ข้อดี-ข้อเสียของการเลี้ยงแพะมีดังนี้
ข้อดีของการเลี้ยงแพะ
- เลี้ยงแพะใช้ระยะเวลาสั้นกว่าเลี้ยงวัว จึงให้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่า
- หากินเก่ง กินพืชใบไม้ได้หลายชนิด จึงทำให้ประหยัดต้นทุนด้านอาหาร
- แพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ
- ขนาดตัวเล็ก ใช้พื้นที่น้อย เลี้ยงดูง่าย
- ให้ผลผลิตเนื้อ นม หนัง ขน ได้แถบทุกส่วน
ปัจจัยที่ทำให้การเลี้ยงแพะประสบความสำเร็จ
- พันธุ์ดี แพะนั้นมีมากมายหลายสายพันธุ์ ซึ่งในการเลี้ยงนั้นถ้าเราเริ่มต้นจากสายพันธุ์ที่ดี เราก็สามารถที่ะต่อยอดได้อย่างรดเร็ว เช่น แพะพันธุ์บอร์ (Boer),แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen),แพะพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้น
- โรงเรือนดี ในการเลี้ยงสัตว์นั้น โรงเรือนถือว่ามีความสำคัญมาก พอๆ กับสายพันธุ์ สำหรับแพะก็เช่นกัน โรงเรือนนั้นจะต้องออกแบบให้ดีและให้ได้มาตฐาน เพื่อให้เอื่อยอำนวยต่อการเลี้ยงแพะ
- อาหารดี อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแพะ บางคนคิดว่าแพะเลี้ยงง่ายกินกระถินหรือปล่อยให้หากินใบไม้ กินหญ้าริมทางก็โตแล้ว ความคิดถูกเพียงครึ่งเดียวครับ จากการวัดการเจริญเติบโตงานวิจัยหลายที่ จะได้ผลเฉพาะหน้าฝนที่มีหญ้า หรือกระถินอุดมสมบูรณ์แต่ในหน้าแล้งบางช่วงแพะน้ำหนักลด ยกเว้นภาคใต้ฝนตกตลอดปี แต่ฝนตกมากๆแพะก็ออกไปกินหญ้าไม่ได้
แพะน้ำหนักลดก็มีครับ - การจัดการเลี้ยงดูดี
- การป้องกันโรคดี
- การตลาดดี
พันธุ์แพะ
มี 3 พันธุ์ คือ พันธุ์เนื้อ,พันธุ์นม,พันธุ์กึ่งเนื้อกึ่งนม
พันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglonubian) เป็นแพะที่ให้ทั้งเนื้อและนม มีหลายสี ทั้งสีเดียวในตัวและสีด่างปัน สันจมูกเป็นเส้นโค้ง ใบหูยาวปรกลง นำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ในไทยกว่า 20 ปี
- ให้ทั้งเนื้อและนม
- มีหลายสีทั้งสีเดียวในตัว หรือสีด่างปน
- สันจมูกมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง
- ใบหูยาวปรกลง
- แรกเกิด มีน้ำหนักเฉลี่ย 2.5 กิโลกรัม
- หย่านม มีน้ำหนักเฉลี่ย 15 กิโลกรัม
- โตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 60-70 กก. ตัวเมีย 50-60 กก.
แพะพันธุ์บอร์ (Boer) เป็นแพะพันธุ์เนื้อขนาดใหญ่ จากประเทศแอฟริกาใต้ มีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก
-
- ให้ทั้งเนื้อ
- ลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง
- ใบหูยาวปรกลง
- แรกเกิด มีน้ำหนักเฉลี่ย 4 กิโลกรัม
- หย่านม มีน้ำหนักเฉลี่ย 20 กิโลกรัม
- โตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 65 กก.
แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen) เป็นแพะพันธุ์นม สีขาวทั้งตัว หูใบเล็กตั้ง หน้าตรง
- ให้นม
- สีขาวทั้งตัว
- ใบหูเล็กและตั้ง
- หน้าตรง
- โตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 75 กก. ตัวเมีย 60 กก.
แพะพันธุ์พื้นเมือง แพะพันธุ์พื้นเมืองในภาคใต้ มีสีหลากหลาย ส่วนใหญ่พบว่ามีสีดำ น้ำตาล หรือน้ำตาลสลับดำ แพะโตเต็มที่เพศเมียนมีความสูงตรงปุ่มหน้าขาประมาณ 48.5 ซม. มีน้ำหนักตัวประมาณ 12.8 – 16.4 กก. แพะพันธุ์พื้นเมืองไทยมีลักษณะคล้ายกับแพะพันธุ์กัตจัง (Kambing Katjang) พันธุ์พื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย
การคัดเลือกแพะที่มีลักษณะดีไว้ทำพันธุ์
ตัวผู้
- หลังเป็นเส้นตรง
- หน้าอกลึก และกว้าง
- ส้นเท้าสูง
- อัณฑะปกติ
- ขาตรงแข็งแรง
ตัวเมีย
- หลังเป็นเส้นตรง
- เต้านมเท่ากัน
- ขาตรงแข็งแรง
การคัดลักษณะไม่ดีออกจากฝูง
- ขากรรไกรบนล่างไม่เสมอกัน
- ตาบอด
- ขาโค้งงอ
- ปลายเขาโค้งแทงคอ
- อัณฑะใบเดียว
- ส้นเท้าไม่สูง
- เต้านมแฟบ
ลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะ
การเลี้ยงแบบผูกล่าม
- ใช้เชือกที่มีความยาว 5-10 เมตร ผูกล่ามที่คอแพะ ต้องมีน้ำ อาหาร แร่ธาตุไว้ให้กิน
การเลี้ยงแบบปล่อย
- ปล่อยออกหากินโดยเจ้าของต้องตามดูแล ไม่ควรปล่อยในเวลาที่แดดร้อนจัดหรือฝนตก
การเลี้ยงแบบขังคอก
- ขังแพะไว้ในคอกแล้วตัดตัดหญ้าหรือใบไม้ให้กิน ในคอกต้องมีน้ำ และอาหารข้นให้กิน
การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช
- เป็นการเลี้ยงปะปนกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยาง, มะพร้าว ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการเพาะปลูกอย่างเดียว
การจัดการด้านอาหารแพะ
นิสัยการกินอาหารของแพะ
หากินเก่ง สามารถกินใบไม้ตามพุ่มไม้ที่มีหนามได้ ทนต่อรสขม ชอบกินใบไม้มากกว่าใบหญ้า และ เลือกกินอาหารที่อยู่สูงกว่าระดับพื้นดิน ไม่ชอบกินอาหารเพียงชนิดเดียวเป็นเวลานานๆ ไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ และชอบกินหญ้าที่มีความสูงมากกว่า 10 นิ้ว รวมทั้งชอบกินไม้พุ่มไม้หนาม และยอดอ่อนของต้นพืช
ช่องทางการจำหน่ายแพะ
การซื้อ-ขาย แพะ ในปัจจุบัน
- จำหน่ายขนาดอายุ3 เดือน ขึ้นไป หรือ น้ำหนัก 20 กก. ขึ้นไป
- เพศผู้ คิดราคาตามน้ำหนักตัว กิโลกรัมละ 50-60 บาท
- เพศเมีย คิดราคาตามน้ำหนักตัว กิโลกรัมละ 100-120 บาท
- เพศเมียคัดทิ้ง คิดราคาตามน้ำหนักตัว กิโลกรัมละ 50-60 บาท
- จำหน่ายในรูปแพะสด
- จำหน่ายในรูปพร้อมรับประทาน
ที่มา | สถานีฟาร์มฝึกนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ