บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เลี้ยงไก่พื้นเมือง ปล่อยตามธรรมชาติ เลี้ยงง่ายประหยัดต้นทุน

เลี้ยงไก่พื้นเมือง ปล่อยตามธรรมชาติ เลี้ยงง่ายประหยัดต้นทุน

25 พฤศจิกายน 2022
3312   0

เลี้ยงไก่พื้นเมือง ปล่อยตามธรรมชาติ เลี้ยงง่ายประหยัดต้นทุน

เลี้ยงไก่พื้นเมือง ปล่อยตามธรรมชาติ

เลี้ยงไก่พื้นเมือง ปล่อยตามธรรมชาติ





ปัจจุบันประชาชนนิยมรับประทาน ไก่พื้นเมือง กันมาก แม้ว่าประชาชนจะนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปก็ตาม แต่การ เลี้ยงไก่พื้นเมือง ก็ยัง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หรือประชาชนผู้รับประมาณเนื้อไก่พื้นเมือง ทั้งนี้เพราะผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองในชนบทโดยทั่วไป ใช้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหากินเองตามธรรมชาติ และเลี้ยงเป็นจำนวนน้อย จะให้อาหารบ้างเป็นบางครั้งคราว จึงทำให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตช้าและเป็นโรคตายจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ไก่พื้นเมืองมีลักษณะเด่น คือ เลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง เนื้อเป็นที่นิยมรับประทาน เพราะมีรสชาติดีดังนั้น หากผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองมีการศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ให้เข้าใจ พร้อมทั้งมีการดูแลป้องกันรักษาการเกิดโรคต่างๆ ก็จะทำให้ผลผลิตไก่พื้นเมืองดีขึ้น สามารถจำหน่ายได้ราคาดี เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอีกทางหนึ่งด้วย หากมองให้กว้างๆออกไปอีกไก่พื้นเมืองจะช่วยให้ธรรมชาติมีความสมดุลในระบบไร่นา คือ จะช่วยจิกกินแมลงที่ทำลายต้นพืชบางอย่างการ

เลี้ยงไก่พื้นเมือง

ไก่ถูกจัดอยู่ในสัตว์ปีกจำพวกนก แต่เดิมนั้นเป็นไก่ป่า (Red Jungle fovl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว ไก่พื้นเมืองของไทยมีการเลี้ยงกระจายอยู่ทั่วไปตามหมู่บ้านของเกษตรกร ซึ่งจำแนกตามลักษณะ ภายนอกและสีขน แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น. ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง และไก่ชน โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้ว ไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชน สังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนสีดำ หน้าดำและแข้งดำ หงอนหิน แต่จะมีพันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา สีทอง แต่หงอนก็ยังเป็นหงอน เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ไก่ชน เพราะว่าไก่ชนจะมีรูปร่างใหญ่และยาว เจริญเติบโตได้ดีและแม่พันธุ์ก็ไข่ พบว่าไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติการเจริญเติบโตในระยะอายุ 4 เดือนแรก เฉลี่ยใกล้เคียงกันมาก คือ เติบโตวันละประมาณ 9-10 กรัมเท่านั้น แต่การปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้เน้นในด้านการชนเก่งแต่เน้นในด้ายการเจริญเติบโต และไข่ดกเพื่อให้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สำหรับไก่ชนไทยแท้สีขนแยกได้หลากหลายถึง 17 สีขน เช่น เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เหลืองเลา ประดู่เลา แสมดำ เป็นต้น

พันธุ์ไก่พื้นเมือง

สายพันธุ์ไก่เหลืองหางขาว

ไก่เหลืองหางขาว

แหล่งกำเนิด ไก่เหลืองหางขาว มีถิ่นกำเนิดแถวภาคเหนือของไทย บ้านหัวเท ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นแหล่งกำเนิดไก่พันธุ์เหลืองหางขาวพันธุ์ดีสายเลือดแท้ นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป ประเภท ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัว เพศผู้ 3-4 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2 กิโลกรัม ขึ้นไป สีของเปลือกไข่ สีขาวนวล




ไก่เหลืองหางขาว คือ ไก่พื้นเมืองของไทยสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์กะตังอู หรือไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ใครใคร่ทำอะไรก็ได้ ก็นำไก่มาเล่นชนไก่ จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่กระจายกันสู่หมู่ขุนนาง เจ้าขุน เจ้านาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นกีฬาพระราชา เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น ไก่ เหลืองหางขาวที่นิยมเป็นพันธุ์แท้ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่บ้านกร่าง บ้านหัวเทจังหวัดพิษณุโลกเพราะไก่พิษณุโลกเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ที่ครั้ง หนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมัยทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าได้ทรงนำไก่เหลือง หางขาวจากพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองพระราชบิดาของพระองค์ไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชาไก่เหลืองหาง ขาว เป็นไก่ฉลาดปราดเปรียว อึด ทน เป็นไก่เชิงแปดกระบวนท่า ไก่เหลืองหางขาวจึงชนะไก่พม่ามาตลอด

สายพันธุ์ประดู่หางดำ

ประดู่หางดำ

ไก่ชนพันธุ์ประดู่หางดำมีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้ ปาก เป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีปากสีดา อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้าทั้งสองข้าง ระหว่างร่องน้าจะเป็นสันราง ตา ตาสีประดู่ หรือแดง อมม่วง หรือตาออกสีดา หรือสีแดง หงอน หงอนหินไม่มีจักเลย สร้อยคอ สร้อยคอ สีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น ขน ขนลาตัวขนปีกและหางสีดา กะลวยหางดา โคนขาใหญ่ หน้าอก หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น ขาแข้ง เล็บและเดือย สีดา เพศเมียสีเดียวกับเพศผู้แต่ไม่มีสร้อย ไก่ประดู่หางดา

สายพันธุ์เขียวหางดำหรือเขียวกา

เขียวหางดำหรือเขียวกา

เขียวกา หรือเขียวหางดำ ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายๆ กับประดู่หางดำ ปากดำ หงอนหิน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนจะตกกดกระหม่อม สร้อยคอหลังและสร้อยหางสีเขียว ขนปีและลำตัวเขียว หางดำแข้งดำ และเล็บดำ: เป็นไก่พื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ พัฒนา มาจากไก่บ้านพันธุ์ กะตังอู หรือ ไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ สืบได้ตั้งแต่ ต้นสมัยสุโขทัย เป็นต้นมา ไก่เขียวหางดา เป็นไก่พันธุ์หนึ่งมีชั้นเชิงดีมีลาหัก ลาโค่นดี นิยมเลี้ยงแพร่หลายตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เช่น พระยาพิชัยดาบหัก เลี้ยงไก่เขียวหางดา ชื่อ ไก่พาลี

ไก่แดง

มีรูปร่างสูง ทะมัดทะแมง ขนพื้นลาตัว หน้าคอ หน้าท้อง ขนใต้ปีก ขนสร้อยคอ สร้อยปีกแดง ขนหางมีสีดาหรือแดงมีขนสีขาว แซม ปากและแข้งสีเหลือง ผิวหนังสีขาวอมเหลือง เปลือกไข่สีน้าตาลอ่อน หงอนถั่ว

ไก่ชี

มีรูปร่างโปร่ง ขนลาตัว สร้อยคอ สร้อยหลังและขนหางมีสีขาว ปากและแข้งสีเหลืองและขาวอมเหลือง ผิวหนังสีขาวอมเหลือง เปลือกไข่ สีขาวนวล หงอนถั่ว

ข้อดีของ ไก่พื้นบ้าน

  • หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก
  • ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี
  • ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ
  • มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง
  • เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ

ข้อเสียของ ไก่พื้นบ้าน

  • โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก
  • ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 – 15 ฟอง
  • เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะออกเป็นลูกเจี๊ยบ และจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีก

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองส าหรับเกษตรสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะตามวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง ได้แก่

  1. เลี้ยงเป็นงานอดิเรก โดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าบริเวณบ้านหรือไร่นาให้เป็นประโยชน์วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน แต่เมื่อต้องการเงินสดมาใช้ก็จับไก่ไปขาย ถือเป็นกระปุกออมสิน การเลี้ยงนิยมเลี้ยงแบบปล่อยอิสระให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติอาหารที่ให้อาจอาหารเสริมบ้างในช่วงเช้าและเย็นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเศษเหลือจากครัวเรือนหรือผลพลอยได้จากการเกษตร เช่น รำ ปลายข้าว ฯลฯ การฟักไข่และการเลี้ยงลูกไก่มักจะให้แม่ไก่ฟักและเลี้ยงลูกเอง
  2. การเลี้ยงเป็นอาชีพ การเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรจะต้องเลี้ยงไก่คราวละมาก ๆ และเลี้ยงภายในโรงเรือน มีการให้ไก่กินอาหารและน้ำอย่างเต็มที่ ซึ่งจะใช้เวลาในการจับขายสั้นกว่าการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระแหล่งที่มาของลูกไก่จะได้จากฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงเพื่อผลิตลูกไก่โดยเฉพาะ

หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้

  • ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่นผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น
  • การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
  • ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยปั่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
  • ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วยามาต้าใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น



การป้องกันและรักษาโรคไก่พื้นเมือง

ปัญหาที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงไก่คือ เรื่องโรค เช่น โรคนิวคาสเชิล โรคหลอดลมอักเสบ โรคอหิวาต์ โรคฝีดาษ นอกจากนี้ยังมีโรคพยาธิต่าง ๆ ทั้งพยาธิภายนอก เช่น เหา ไร หมัด และพยาธิภายใน เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวแบน พยาธินัยน์ตาไก่

โรคนิวคาสเซิล

เป็นโรคระบาดไก่ที่ร้ายแรงที่สุด มีระบาดทั่วไป ถ้าเกิดขึ้นในฝูงใดมักจะทำให้ตายหมดเล้า ในไก่ใหญ่ทำให้ไข่ลด

อาการ

  • ปกติจะแสดงอาการป่วยหลังได้รับเชื้อโรคเป็นเวลา 3-6 วันโดยแสดงอาการหายใจลำบาก มีเสียงดังในเวลาหายใจ มีน้ำมูกไหล ท้องเสีย กระตุก คอบิด ขาและปัปีกเป็นอัมพาต ใช้การไม่ได้บางรายอุจจาระร่วงเป็นสีเขียว แม่ไก่ที่กำลังไข่จะหยุดไข่ทันทีและมักตายภายใน 1 อาทิตย์
  • ไก่ที่หายจากโรคนี้มักจะพิการ คอบิด ขาและปีกใช้งานไม่ได้ดี และจะเป็นตัวอมโรคต่อไป

สาเหตและการติดต่อ

  • โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง การติดต่อของโรคเป็นไปรวดเร็วมากดังนี้ติดต่อกันโดยตรงในไก่ป่วยที่อยู่ใกล้ชิดกัน กินน้ำและอาหารร่วมกัน
  • ติดไปกับอุปกรณ์การเลี้ยงไก่ คนและสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมวตลอดจนนก หนู และแมลงวันก็เป็นตัวนำโรคได้
  • จากการชำแหละไก่ที่ป่วยและตายด้วยโรคนี้ ซึ่งในซากไก่จะมีเชื้ออยู่ในปริมาณสูงมากพอที่จะแพร่ระบาดไปยังไก่ตัวอื่น ๆ ในเล้าและไก่บริเวณใกล้เคียงได้

การป้องกัน

โดยการใช้วัคซีนป้องกันซึ่งมี 2 ชนิด ด้วยกันคือ ชนิดหยอดจมูกและชนิดแทงปีกซี่งใช้กับไก่อายุ 3 เดือนขึ้นไป

โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ

เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ เกิดได้กับไก่ทุกอายุ แต่ในลูกไก่เล็กจะติดโรคนี้ได้ง่ายกว่าและตายมากกว่าในไกใหญ่

อาการ

ไก่แสดงอาการคล้ายเป็นหวัด โดยเฉพาะในลูกไก่จะมีอาการหายใจลำบาก อ้าปากเวลาที่หายใจและมีเสียงดังครืดคราด ตาแฉะ หงอยซึม ลูกไก่มักตายเพราะหายใจไม่ออก เนื่องจากจะมีน้ำเมือกอุดในหลอดลมส่วนในแม่ไก่จะตายน้อยกว่า แต่มีผลกระทบต่อการไข่ ทำให้ไข่ลดลงอย่างรวดเร็ว คุณภาพของไข่เลวลง เช่นเปลือกไข่บาง นิ่ม ขรุขระ ไข่ขาวเหลวเป็นน้ำ ฟักออกเป็นตัวน้อย

สาเหตุและการติดต่อ

เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง การแพร่ระบาดรวดเร็วมาก ไก่จะได้รับเชื้อโรคโดยการหายใจเอาเชื้อโรคที่ปลิวฟุ้งอยู่ในอากาศ หรือการกินเอาเชื้อโรค ที่ปนอยู่ในอาหารหรือน้ำเข้าไป

การป้องกัน

ในการป้องกันมิให้เกิดโรค มีข้อแนะนำ ดังนี้

  • อย่าเลี้ยงลูกไก่ต่างรุ่นปนเปกัน ควรเลี้ยงไก่เล็กให้อยู่ห่างจากไก่ใหญ่
  • หมั่นดูแลความสะอาดเล้าไก่ และภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้ในเล้าไก่และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
  • อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี อาหารที่ไก่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าปล่อยให้เน่าเสีย ควรกวาดล้างให้หมด
  • โรคนี้ไม่มียารักษาโดยตรง วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การให้วัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า โดยใช้วัคซึนหยอดตาหรือหยอดจมูกลูกไก่ เมื่ออายุได้ 2 อาทิตย์ และหยอดช้ำทุก ๆ 3 เดือน

ทีมา: โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, www.esanbanna.com





บทความอื่นๆที่น่าสนใจ