ใบหม่อน รักษาตาแดง ตาแฉะ ตาต้อ
สวัสดีค่ะ วันนี้เรามีสมุนไพรดีๆ มาฝากกันค่ะ นั่นคือหม่อน ส่วนที่เราจะใช้ในวันนี้ก็คือ ใบหม่อนนั่นเอง ในใบหม่อนนั้น มีสรรพคุณทางยามากมาย ที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักกับหม่อนและใบหม่อน และสูตรใบหม่อน รักษา อาการตาแดง ตาแฉะ และตาต้อ กันค่ะ
หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ (Mulberry) ชื่อสามัญ Mulberry tree, White Mulberry หม่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba Linn. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรหม่อน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มอน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน), ซึงเฮียะ ซึงเอียะ (จีนแต้จิ๋ว), ซางเย่ (จีนกลาง) เป็นต้น หม่อนที่เรารู้จักกันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ หม่อนที่ปลูกเพื่อรับประทานผล (ชื่อสามัญ Black Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus nigra L.) ชนิดนี้ผลจะโตเป็นช่อ เมื่อสุกผลจะเป็นสีดำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทาน ทำแยม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ส่วนอีกชนิดนั้นก็คือ หม่อนที่ใช้ปลูกเพื่อการเลี้ยงไหมเป็นหลัก (ชื่อสามัญ White Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba L.) เป็นชนิดที่เรากำลังกล่าวถึงในบทความนี้ครับ ชนิดนี้จะมีใบใหญ่และออกใบมากใช้เป็นอาหารของไหมได้ดี ส่วนผลจะออกเป็นช่อเล็ก เมื่อสุกแล้วจะมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ครับ แต่ไม่เป็นที่นิยมสักเท่าไหร่
สรรพคุณ ของใบหม่อน
สารสกัดใบหม่อน ทำให้การย่อยสลายน้ำตาลเชิงซ้อนช้าลง และการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง เป็นผลให้ระดับกลูโคสหลังอาหารลดต่ำลง แก้ไอ ระงับประสาท แก้ตาแดง แฉะ ฝ้าฟาง
ยาพื้นบ้าน: ใช้ ใบ รสจืดเย็น เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำยาต้มใช้อมแก้เจ็บคอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะ ฝ้าฟาง ใบแก่ ตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก ใบ แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะฝ้าฟาง ใบ ใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ใบ น้ำต้ม และยาชง มีฤทธิ์เป็นยาชะล้าง ใช้ล้างตาแก้ตาอักเสบ ใบอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าวใช้วางบนแผล หรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไอ ยาหล่อลื่นภายนอก น้ำต้มใบใช้กลั้วคอแก้เจ็บคอ ใช้ล้างตา แก้อาการติดเชื้อ ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอก รักษาแผลจากการนอนกดทับ
สรรพคุณของหม่อน
- ใบหม่อนมีรสจืดเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระงับประสาท (ใบ)
- ใบใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (ราก)
- กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น (กิ่ง)
- ช่วยบำรุงหัวใจ (ผล)
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
- ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ (ผล)
- ผลหม่อนมีรสเปรี้ยวหวานเย็น มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ขับลมร้อน ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการกระหายน้ำ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น (ผล)
- ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัด ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ และเป็นยาช่วยขับลมร้อน (ใบ)
- ใบมีรสขม หวานเล็กน้อย เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาแก้ไอร้อนเนื่องจากถูกลมร้อนกระทบ (ใบ)
- ใบมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
ในจีน : ใช้ เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ ผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ขับปัสสาวะ แก้ไอ หืด วัณโรคปอด การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ โรคปวดข้อ เปลือกต้น เป็นยาถ่าย และยาขับพยาธิ
การศึกษาทางเภสัชวิทยา : ลดน้ำตาลในเลือด ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต บำรุงผิว กำจัดหอยทาก ฤทธิ์ควบคุมภาวะเลือดมีน้ำตาลมากเกินหลังอาหาร สารสกัดใบหม่อนด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ disaccharidase ในลำไส้เล็ก ทั้งในหนูแรทปกติ และหนูเบาหวาน โดยทำให้การย่อยสลายน้ำตาลเชิงซ้อนช้าลง และการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง เป็นผลให้ระดับกลูโคสหลังอาหารลดต่ำลง ใกล้เคียงกับการให้ยามาตรฐาน
เตรียมวัตถุดิบ น้ำต้มใบหม่อน
- ใบหม่อน สด 2 กำมือ
- น้ำสะอาด 2 ลิตร
- หม้อสแตนเลส
- น้ำมะนาวสด 5 – 10 หยด
วิธีทำ น้ำใบต้มหม่อน
- นำใบหม่อนล้างน้ำให้สะอาด พักไว้
- ตั้งไฟกลางๆ ใช้หม้อสแตนเลส ในการต้มน้ำใบหม่อน ใส่น้ำลงไปในหม้อแล้วตามด้วยใบหม่อนสด
- ต้มพอน้ำเดือด ปิดไฟ ยกลงจากเตา
- เสร็จแล้วให้กรอกเอาแต่น้ำใบหม่อน
- ตวงน้ำต้มใบหม่อน 60 บีบน้ำมะนาว 5 -10 หยดลงไป
วิธีรับประทาน
รับประทานก่อนอาหาร เช้า – เย็น ครั้งละ 60 ml. ( 1 แก้วกาแฟ ) เป็นเวลา 1 เดือน
อ้างอิงข้อมูล : www.medthai.com , www.ananhosp.go.th, www.withikaset.com, ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทย – หมอพื้นบ้าน วัดคีรีวงก์ ( วัดน้ำตก )
เรียบเรียง : นงนุช
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ