สาระน่ารู้ » สรรพคุณและประโยชน์ของ “ใบบัวบก” และ วิธีทำชาใบบัวบก

สรรพคุณและประโยชน์ของ “ใบบัวบก” และ วิธีทำชาใบบัวบก

23 ตุลาคม 2021
3732   0

สรรพคุณและประโยชน์ของ “ใบบัวบก” และ วิธีทำชาใบบัวบก

หากกล่าวถึงสมุนไพรที่แก้อาการช้ำใน ใครๆต่างก็คิดถึงสมุนไพรที่ชื่อว่า ใบบัวบกอย่างแน่นอน  ใบบัวบกเป็นไม้ล้มลุก เลื้อยไปตามพื้นดิน ขึ้นง่าย รากออกตามข้อชูใบ ตั้งตรงขึ้นมา ใบ เป็นใบเดี่ยว มีก้านยาว ลักษณะรูปไต รอยเว้าลึกที่ฐานใบ ขอบมีรอยหยัก เป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกเป็นดอกช่อคล้ายร่ม มี 2-3 ข้อ ช่อละ 3-4 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอมแดง เรียงสลับกับเกสรตัวผู้ ผลเล็ก สีดำ แช่น้ำไม่ตาย ทนน้ำขังได้ดี

สรรพคุณและประโยชน์ของ “ใบบัวบก” และ วิธีทำชาใบบัวบก

บัวบก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ใบบัวบกประกอบด้วยสาระสำคัญหลายอย่างด้วยกัน เช่น ไตรเตอพีนอยด์ (อะซิเอติโคไซ) บราโมไซ บรามิโนไซ มาดิแคสโซไซ (เป็นไกลโคไซด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ) กรดมาดิแคสซิค ไทอะมิน (วิตามินบี 1) ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2) ไพริดอกซิน (วิตามินบี 6) วิตามินเค แอสพาเรต กลูตาเมต ชีริน ทรีโอนีน อลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน แมกนิเซียม




สรรพคุณใบบัวบก

  1. เพิ่มความจำ บำรุงสมอง
  2. แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
  3. ใบบัวบก ช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย
  4. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย
  5. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะบัวบกมีวิตามินเอสูง
  6. ช่วยรักษาอาการตาอักเสบบวมแดง ด้วยการใช้ใบบัวบกล้างน้ำสะอาด คั้นเอาแต่น้ำนำมาหยดที่ตา 3-4 ครั้งต่อวัน
  7. ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือน
  8. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว
  9. ช่วยผ่อนคลายความเครียด
  10. ช่วยบำรุงหัวใจ
  11. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี

การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาใบบัวบก

ส่วนประกอบ: บัวบก 1,000 กรัม ใบเตย 200 กรัม




ขั้นตอนการทำชาใบบัวบก 

  1. ทุกขั้นตอนต้องสะอาด
  2. เก็บบัวบกที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป
  3. คัดแยกส่วนที่ไม่สมบูรณ์ออก
  4. ล้างน้ำให้สะอาด 4-5 ครั้ง
  5. ผึ่งแดดอ่อนๆ ให้สะเด็ดน้ำ และให้แห้งพอประมาณ
  6. อบในตู้อบ อุณหภูมิ 60 องศาจนแห้งกรอบ
  7. บดแบบหยาบไม่ต้องละเอียดมาก
  8. บรรจุลงในซองชาพร้อมซีลปิดปากถุงซองชาให้เรียบร้อย
  9. บรรจุซองชาขนาดเล็กที่ได้ในซองชาขนาดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง พร้อมบรรจุภัณฑ์ / ฉลากที่เตรียมไว้

ข้อควรระวังในการนำมารับประทาน

  • บัวบกเป็นยาที่มีฤทธิ์เย็น ถ้าทานมาก ไปจะทำให้สะสมในร่างกายจนรู้สึกหนาวมากขึ้น หลีกเลี่ยงการทานใบบัวบกติดต่อกันทุกวัน เมื่อทานติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้ว ควรหยุดพัก 1 สัปดาห์ แล้วค่อยกลับมารับประทานใหม่
  • สำหรับผู้ที่รับประทานใบบัวบกสดๆ ติดต่อกันทุกวัน ควรรับประทานประมาณวันละ 3-6 ใบ ไม่ควรเกินไปกว่านี้
  • หากมีอาการอ่อนเพลีย เวียนหัว ใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดปกติ รู้สึกคันตามผิวหนัง ท้องร่วง ภายหลังจากการรับประทาน ควรหยุดรับประทานและรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ในกลุ่มคนที่ต้องรับประทานยาแก้แพ้ ยานอนหลับ หรือยากันชัก ไม่ควรรับประทานใบบัวบก เนื่องจากจะยิ่งไปเพิ่มฤทธิ์ให้รู้สึกง่วงซึมมากขึ้น
  • การนำมาใช้ภายนอกบางคนอาจมีอาการแพ้ มีอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง
  • อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นหากรับประทานบัวบกในปริมาณที่มากเกินไป หรือมีอาการแพ้ ได้แก่ ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้เวียนศีรษะและอาการง่วงนอนอย่างรุนแรง



ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ