ผลไม้พื้นถิ่นทางภาคอีสาน ใกล้สูญพันธุ์ที่ทานแล้วต้องนึกถึงวัยเด็ก
ผลไม้พื้นถิ่นทางภาคอีสาน
ณ. ดินแดนแห่งที่ราบสูงที่มีเทือกเขาลำเนาไพรรายล้อม นามว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสานในสมัยก่อน ๆ เป็นพื้นที่ราบสูงที่ค่อนข้างจะแห้งแล้ง แต่ก็มีป่าเยอะอยู่เหมือนกัน เป็นแหล่งศูนย์รวมอาหารของชาวอีสาน ถือได้ว่า เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่มีอาหารเลี้ยงคนอีสานมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นเห็ดป่า หน่อไม้ ผักต่างๆ รวมไปถึงผลไม้ที่เราไม่สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วๆไป นั้นเองและในวันนี้ เรานำเสนอ ผลไม้พื้นถิ่นทางภาคอีสาน ใกล้สูญพันธุ์ที่ทานแล้วต้องนึกถึงวัยเด็ก มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกัน จะมีอะไรบ้างตามมาดูด้วยกันครับ
อนึ่ง คนอีสานมักนิยมเรียกใช้คำนำน่าผลไม้ว่า “บัก” หรือ “หมาก” สำหรับเรียกชื่อผลไม้หรือผักต่างๆ เช่น แตงโม อาจจะเรียกว่า “หมากโม” หรือ “บักโม” ก็ได้ หรือ หมากหุ่ง หรือ บักหุ่ง หมายถึง มะละกอ , บักม่วง หรือ หมากม่วง หมายถึง มะม่วง , บักขาม หรือ หมากขาม หมายถึง มะขาม เป็นต้น
หมากผีผวน
ชื่ออาจจะดูน่ากลัวแต่ตัวสุดน่ารัก ลูกสุกจะสีแดงอมชมภู แต่ละภาคมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน เช่น นมควาย (ภาคใต้), นมแมวป่า (เชียงใหม่), หำลิง (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ติงตัง (นครราชสีมา), ตีนตั่งเครือ (อุบลฯ ศรีสะเกษ), พีพวน (อุดรธานี), สีม่วน (ชัยภูมิ), หำลิง พีพวนน้อย (ภาคอีสาน), นมแมว นมวัว (ภาคกลาง) มีกลิ่นหอมแรงเวลากลางคืน ผลสุกกินได้มีรสชาติเปรี้ยว ต้องปอกเปลือกออกด้วย
ลักษณะโดยทั่วไปจะเป็นไม้เลื้อย ชอบเลื้อยขึ้นตามต้นไม้ใหญ่ จะออกดอกออกผลในช่วงเข้าหน้าฝน ใบมีขนาดใหญ่ ออกลูกเป็นพวงมีตั้งแต่ 5 ลูกขึ้นไปแล้วแต่ความสมบูรณ์ของต้น ลูกจะเป็นผลเรียวยาว โดยตอนดิบจะมีผลสีเขียว ตอนดิบจะมีรสฝาด ห่ามจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง รสชาติจะออกเปรี้ยวๆ หลังจากที่เริ่มสุกจะเปลี่ยนจากสีเหลืองกลายเป็นสีแดง รสชาติจะเปลี่ยนเป็นเปรี้ยวอมหวาน มีเมล็ดแข็งๆสีดำ โดยสามารถกลืนกินได้ทั้งเมล็ดเพราะส่วนเนื้อสีขาวจะติดกับเมล็ดไม่สามารถแยกออกได้ คนจึงนิยมทานทั้งเมล็ดเลยหรือหากใครไม่กล้ากินเมล็ดก็คายทิ้งก็ได้แล้วแต่คนชอบ เป็นผลไม้ที่ต้องใช้ความพยายามสูงเพราะบางต้นสูงลิบหลิ่วเลยทีเดียว
หมากต้องแล่ง
บักหวดข้า
หมากบก
หมากเม่า
บักแงว หรือ ลิ้นจี่ป่า
หมากเล็บแมว (Cat nail)
มีลำต้นเป็นพุ่มเลื้อยยาว หนามเล็กคมโค้งงอคล้ายเล็บของแมว ผลดิบรสเปรี้ยว ผลสุกสีดำรสหวาน จะคายในหรือไม่ก็ได้ แต่ส่วนมากจะเคี้ยวทั้งเมล็ดกรุบกรอบอร่อยดี ความท้าทายคือจะเข้าไปเก็บกินยังไงให้มีเสียเลือดน้อยที่สุด สพรรคุณทางสมุนไพรทำให้ชุ่มคอ แก้เสมหะ ภูมิปัญญาพื้นบ้านจำแนกเล็บแมวไว้เป็น 2 ชนิดคือเล็บแมวตัวผู้และเล็บแมวตัวแม่ โดยใช้ลักษณะของหนามที่แตกต่างกันเป็นตัวจำแนก เล็บแมวผู้นิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพรมากกว่าเล็บแมวตัวแม่ โดยส่วนของเปลือกและรากนำมาต้มดื่มใช้ขับปัสสาวะ
หมากตูม
มะตูมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบใหญ่ยาวสีเขียวอ่อน ลำต้นโตสีค่อนข้างขาว มีหนามแหลมคมและยาว ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม ผลกลมโต เปลือกแข็ง เนื้อข้างในมีสีนวลออกทางเหลืองอ่อน มีเมล็ดมาก ยางที่อยู่โดยรอบเมล็ดจะเป็นเมือกเหนียว เนื้อมะตูมจากผลแก่จัด นำมาเชื่อมกับน้ำตาล เป็นมะตูมเชื่อม หรือเอาผลอ่อนมาหั่นบางๆ ตากแดดใช้เป็นชามะตูม โดยต้มเอาน้ำมาดื่ม
การปลูก ต้นมะตูมป่ามักเกิดตามป่าดงทั่วไป โดยเฉพาะป่าเบญจพรรณ เจริญงอกงามได้ในดินทั่วไปทุกภาค การปลูกนิยมตอนเอากิ่งมาปลูกจะได้ผลดี หรือเอาเมล็ดมาเพาะก็ได้ โดยเอาต้นกล้าที่ปลูกเอาไว้ในถุงพลาสติก รอจนต้นแข็งแรงเสียก่อนจึงเอาไปปลูกในหลุมต่อไป ดูแลรดน้ำเป็นระยะ พร้อมทั้งกำจัดวัชพืช
สรรพคุณทางยา
- เปลือกรากและลำต้น แก้ไขจับสั่น ขับลมในลำไส้
- ใบสดคั้นเอาน้ำแก้หวัด หลอดลมอักเสบ ตาอักเสบ
บักค้อ
บักค้อ เป็นชื่อเรียกภาษาอีสานของ ลูกตะคร้อ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีอีกหลายชื่อที่ใช้เรียก เช่น กาซ้อง คอส้ม มะเคาะ กาซ้อ ตะค้อ หมากค้อ เป็นต้น ต้นตะคร้อสามารถพบเห็นได้ในแทบทุกภาคของประเทศไทย เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 15-25 เมตรเลยทีเดียว และแน่นอนว่าผลของบักค้อหรือตะคร้อนั้นสามารถเอามากินได้ด้วย เป็นผลไม้ป่ารสเปรี้ยว จึงอุดมด้วยวิตามินซี แคลเซียม ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง มีส่วนช่วยสร้างคอลลาเจน, เนื้อเยื่อเอ็นและกระดูกอ่อน
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ