ติดแอร์บ้าน ยังไงให้เย็นฉ่ำ พร้อมเทคนิคติดตั้งแอร์ให้สวยไม่รกตา
ติดแอร์บ้าน ยังไงให้เย็นฉ่ำ
สวัดดีครับ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง ติดแอร์บ้าน ยังไงให้เย็นฉ่ำ พร้อมเทคนิคติดตั้งแอร์ให้จสวยไม่รกตา ซึ่ง แอร์ นั้นถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมอากและคู่ใจคนไทยเป็นอันอับต้น ๆ เพราะจากสภาพอากาศประเทศไทยนั้นข่อนข้างร้อน ถึงร้อนมาก โดยเฉพาะช่วงเดือน เมษาบน นั้นถือได้ว่าร้อนสุดๆ กันเลยทีเดียวครับ จำเป็นที่จะต้องปรับอุณหภูมิแอร์ต่ำ ๆ ให้เย็นฉ่ำต่อสู้กับอากาศร้อนของเมืองไทย แต่จะดีกว่าไหมถ้าสามารถเพิ่มความเย็นภายในห้องได้ โดยที่ไม่ต้องให้แอร์ทำงานหนักด้วยการปรับตำแหน่งการติดแอร์ ให้เหมาะสม กับห้องของเรา โดยในวันนี้เราได้นำเคล็ดลับ การติดแอร์บ้าน ยังไงให้เย็นฉ่ำ พร้อมเทคนิคติดตั้งแอร์ให้สวยไม่รกตา มาฝากกันครับ
ทำความเข้าใจแอร์ก่อนติดตั้งแอร์
เครื่องปรับอากาศ หรือที่เรียกกันติดปาก ว่าแอร์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นให้กับห้องด้วยการปรับอุณหภูมิ ซึ่งในการติดแอร์มีสิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นก่อนติดตั้งดังนี้
- เลือกขนาด BTU ที่เหมาะสม
ขนาด BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ซึ่ง 1 ตันความเย็น จะเท่ากับ 12000 BTU ต่อชั่วโมง ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงขนาดของแอร์กับขนาดของห้องให้พอดีกัน เพราะหากเลือกแอร์ที่มี BTU สูงหรือต่ำจนเกินไป จะทำให้เปลืองไฟ และแอร์เสียได้ง่ายอีกด้วยการคำนวณค่า BTU แบบคร่าว ๆ เพื่อเลือกแอร์ที่มีขนาด BTU เหมาะสมกับห้องนั้น สามารถทำได้ด้วยการใช้ขนาดของพื้นที่คูณด้วย 650-800 BTU ต่อ 1 ตารางเมตร ทั้งนี้ สามารถบวกลบได้อีก 5% ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ เช่น ทิศทางของห้อง การโดนแดด ลักษณะการใช้งาน เป็นต้น
-
คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
ควรเลือกคอมเพรสเซอร์ที่เหมาะสมกับความต้องการ โดยคอมเพรสเซอร์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
- คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (Reciprocating Compressor) ทำงานด้วยการใช้กระบอกสูบในการอัดน้ำยา ให้กำลังแรงสูง แต่มีความสั่นสะเทือนสูง และเสียงค่อนข้างดัง นิยมใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่
- คอมเพรสเซอร์โรตารี่ (Rotary Compressor) ทำงานด้วยการหมุนของใบพัดที่มีความเร็วสูง มีความ สั่นสะเทือนน้อย เสียงเงียบ เหมาะสำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก
- คอมเพรสเซอร์แบบขด (Scroll Compressor) ทำงานด้วยใบพัดรูปก้นหอย มีความสั่นสะเทือนน้อย มาก มีเสียงเงียบ ให้พลังงานสูง ถือว่าดีกว่าคอมเพรสเซอร์ชนิดอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน
-
คอยล์ (Coil)
เป็นอุปกรณ์สำหรับระบาย และดูดซับความร้อนจากอากาศ ประกอบด้วย ท่อทองแดง และครีบอะลูมิเนียม (Fin) ก่อนเลือกซื้อให้พิจารณาวัสดุที่ใช้ทำคอยล์ เช่น สารที่เคลือบป้องกันการกัดกร่อน หรือความหนาของครีบ เป็นต้น หากเลือกคอยล์ที่มีคุณภาพดี แอร์ของคุณก็จะมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
-
ระบบฟอกอากาศ (Air Purifier)
ระบบฟอกอากาศกลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ไปแล้วสำหรับแอร์ที่วางขายอยู่ในปัจจุบัน เพราะระบบฟอกอากาศจะช่วยหมุนเวียนให้อากาศภายในห้องสะอาดบริสุทธิ์มากขึ้น โดยแบ่งออกเป็นหลายระบบ ดังนี้
- การกรอง (Filtration) เป็นการใช้แผ่นกรองอากาศดักจับฝุ่นละอองเอาไว้ และต้องหมั่นเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศเมื่อหมดอายุการใช้งาน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคในอากาศ นอกจากนี้หากต้องการกำจัดกลิ่นให้เลือกแผ่นกรองที่เป็นคาร์บอน เพื่อดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ
- การดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) คือ การดักจับฝุ่นละอองในอากาศด้วยการใช้ตะแกรงไฟฟ้า (Electric Grids) และใช้แผ่นโลหะอีกชุดเรียงขนานกันเพื่อดูดฝุ่นละอองเอาไว้ หากมีการหมดอายุต้องหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาด
- การปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionizer) คือ การผลิตประจุไฟฟ้าประจุลบเพื่อปล่อยออกมาพร้อมกับลมเย็น เพื่อให้ดักจับฝุ่นละอองที่เป็นประจุบวก ซึ่งฝุ่นละอองที่ถูกดักจับจะรวมตัวกัน และร่วงหล่นมาบนพื้นห้อง สามารถทำความสะอาดห้องได้ตามปกติ โดยไม่ต้องทำความสะอาดภายในเครื่องปรับอากาศ
-
ขนาดของประตูและหน้าต่าง
ในห้องประตูและหน้าต่างที่มีขนาดใหญ่ หากเปิดเข้า-ออกบ่อยครั้ง ความเย็นจากภายในห้องสามารถระบายออกไปได้เร็ว และหากห้องนั้นมีหน้าต่างกระจกบานใหญ่ ความร้อนจากด้านนอกจะสามารถแผ่กระจายเข้ามาภายในห้องได้ ดังนั้นการเลือกแอร์สำหรับห้องที่มีขนาดประตูและหน้าต่างใหญ่ ต้องเผื่อขนาดแอร์ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการรั่วของอุณหภูมิ
-
เลือกประเภทของการใช้งาน
เครื่องปรับอากาศนั้นมีให้เลือกประเภทในการใช้งานอยู่ 2 รูปแบบแตกต่างกัน ดังนี้
- แอร์ติดผนัง เป็นแบบยอดนิยม เพราะมีความเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย หรือไม่ต้องการวางบนพื้นให้เกะกะ เสียงเงียบ และรูปลักษณ์ทันสมัย แต่ไม่เหมาะกับงานหนัก หรือห้องที่ต้องการความเย็นสูง และเป็นเวลานาน
- แบบตั้งพื้น หรือแบบแขวน เป็นแอร์ที่ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับห้องทุกขนาด สามารถเลือกติดตั้งกับพื้นหรือแขวนเพดานก็ได้ แต่ข้อเสียคือหน้าตาไม่ทันสมัย รวมทั้งกินไฟมากกว่าด้วย
- แอร์ติดผนัง เป็นแบบยอดนิยม เพราะมีความเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย หรือไม่ต้องการวางบนพื้นให้เกะกะ เสียงเงียบ และรูปลักษณ์ทันสมัย แต่ไม่เหมาะกับงานหนัก หรือห้องที่ต้องการความเย็นสูง และเป็นเวลานาน
เทคนิคติดตั้งแอร์ยังไงให้ออกมาสวย ไม่รกตา
สำหรับการติดตั้งแอร์ให้ออกมาสวย และดุสบายตานั้น เป็นความสามารถเฉพาะทางของช่างและมุงมองของเจ้าของบ้าน ในการเลือกตำแหน่งในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ หรือที่เราเรียกว่า แอร์ เหมือนจะเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ เพราะหากไม่มีการวางแผนในการติดตั้ง ไว้ล่วงหน้า ว่าจะติดตำแหน่งไหน พูดง่ายๆ ปล่อยให้ช่างทำงานอย่างอิสระ ผลลัพธ์ที่ได้ อาจจะไม่ได้ดังใจ นายช่างอาจติดในตำแหน่งที่ดูไม่เหมาะสม ส่งผลทำให้ห้องดูไม่สวยงาม และอาจทำให้ภายในห้องของเรามีท่อแอร์เดินลอยบนผนังพาดไปพาดมา ดูรกสายตาในทันที ก่อนติดตั้งแอร์จึงจำเป็นต้องวางแผนให้ดีล่วงหน้า พร้อมกับระบุจุดติดตั้งให้ช่างได้ทราบอย่างชัดเจน ซึ่งวันนี้เรามีไอเดีย ในการติดตั้งแอร์ เพื่อให้ภายในห้องของเราดูสวยไม่รกตามาฝากครับ
โดยทั่วไปแล้วการติดตั้งแอร์บ้านนั้น ประมาณก 80-90% นั้นนิยมเลือกแอร์ติดผนัง เพราะเป็นแอร์ที่มีความเรียบง่าย งานติดตั้งสะดวกไม่ซับซ้อน ที่สำคัญช่วยประหยัดงบกว่าแอร์ประเภทอื่น ๆ เพราะช่วยประหยัดค่าไฟได้ดี ปัจจุบันแอร์ติดผนังนั้นก็มีให้เลือกหลากหลายรุ่น หลายแบรนด์ รองรับการใช้งานตั้งแต่ 8,000 – 30,000 BTU ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะเลือกตามความเหมาะสม หลายคนติดตั้งไปแล้วอาจเจอปัญหาเรื่องของการติดตั้งแอร์จากทีมช่างติดตั้งให้ไม่สวยงาม ทำได้แค่บ่นและจำยอมใช้ไป ความเป็นจริงแล้วช่างเขาก็มีหน้าที่แค่ติดตั้งครับ เราในฐานะผู้ใช้งาน เจ้าของบ้าน นั้นควรมีการวางแผนการติดตั้งก่อนเพื่อให้เกิดความสวยงามตั้งแต่ต้น พร้อมกับแจ้งตำแหน่งให้ชัดเจน ก่อนลงมือจ้างช่างมาติดตั้งอีกทีครับ
-
เช็คขนาดเครื่องของรุ่นแอร์ที่ต้องการติดตั้ง
ขนาดแอร์ติดผนังโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับขนาด BTU จำเป็นต้องทราบก่อนว่า ห้องที่ต้องการติดแอร์มีพื้นที่กี่ตารางเมตร ควรติดตั้งแอร์กี่ BTU (คำนวณ BTU แอร์) โดยทั่วไปแอร์ติดผนังมีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 80 -110 cm และสูงประมาณ 30-35 cm แต่หากให้ชัวร์นั้น สามารถเช็คขนาดที่ชัดเจนได้จากคู่มือลายระเอีนด หรือดูข้อมูลจากเว็บไซต์ผู้จำหน่ายได้เลยครับ
สำหรับการติดตั้งจริงนั้นจำเป็นต้องเผื่อระยะ ด้านบน และ ด้านล่าง รวมทั้งด้านข้าง ซ้ายและขวา อย่างน้อยด้านละ 10-20 cm เช่น แอร์มีความสูง 30.5 cm ควรเผื่อระยะใต้ฝ้า 10-25 cm ดังนั้นพื้นที่ติดแอร์ ควรมีความกว้างและสูงประมาณ 110 x 50 cm เป็นอย่างน้อย
-
การวางตำแหน่งแอร์ให้เหมาะสมกับห้องหรือการใช้งาน
การติดตั้งแอร์แต่ละห้องมีความเหมาะสมที่แตกต่างกัน เช่น ห้องนอนควรติดตั้งแอร์ไว้บริเวณผนังข้างเตียง อาจฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวา ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของห้องนั้น ๆ ส่วนจุดที่ควรเลี่ยงติดตั้งคือบริเวณหัวเตียง เพราะโดยทั่วไปแอร์จะมีความหนานูนออกจากผนังประมาณ 30 cm หากแอร์อยู่เหนือหัวนอนย่อมส่งผลให้รู้สึกเหมือนมีอะไรมากดทับ และยากต่อการตกแต่งผนังหัวเตียงให้ดูสวยงามได้
-
หาจุดศูนย์กลางให้ลงตัว
เมื่อได้ขนาดของแอร์และบริเวณที่จะติดตั้งแล้ว ให้ทำการวัดขนาดพื้นที่รวมในจุดนั้น ๆ จากนั้นหาจุดศูนย์กลางของพื้นที่ดังกล่าว คำว่าจุดศูนย์กลางนี้ไม่ได้หมายถึงกลางผนัง แต่ให้มีจุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่ง เช่น กลางหน้าต่าง, กลางพื้นที่ว่าง, ตัวอย่างภาพประกอบนี้ วัดจากกลางผนัง โดยวัดจากขอบหน้าต่างมาถึงขอบประตู
อย่างไรก็ตาม คำแนะนำแนวทางนี้เป็นเพียงวิธีการเบื้องต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วภายในห้องอาจมีผนังจุดอื่น ๆ ที่เหมาะสมกว่า และไม่จำเป็นต้องอยู่ในจุดกึ่งกลางเสมอไป สิ่งสำคัญคือติดตั้งแล้วต้องดูสมดุลกับจุดนั้น ๆ เช่น กรณีเป็นผนังโล่ง ๆ อาจทำการแบ่งผนังด้วยกฎ 3 ส่วน โดยวัดขนาดความกว้างของผนังรวมและแบ่งให้เท่ากัน 3 ส่วน ตามเส้นสีชมพู จากนั้นเลือกติดตั้งบริเวณกึ่งกลางของส่วนใดส่วนหนึ่ง ดังเช่นภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ เส้นสีฟ้าคือกึ่งกลางของส่วนแรกครับ
-
บ้านสร้างใหม่ ควรจบงานท่อแอร์ก่อนฉาบผนัง
หากตำแหน่งแอร์ภายใน กับคอมเพรสเซอร์แอร์นอกอยู่ไม่ห่างกันมาก มักไม่เป็นปัญหาครับ เพราะช่างสามารถเจาะผนังหลังแอร์ เพื่อให้ท่อแอร์โผล่ออกนอกผนัง สามารถเชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์แอร์ได้เลย แต่โดยทั่วไปมักไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากตำแหน่งดังกล่าวอยู่ตรงกับพื้นที่ใช้งานนอกบ้านหรือเป็นผนังของอีกห้อง หากมีคอมเพรสเซอร์แอร์มาวางเกะกะ ย่อมไม่เหมาะสมอย่างแน่นอนใช่ไหมครับ
สำหรับบ้านที่กำลังก่อสร้าง แนะนำให้รีบวางแผนติดตั้งแอร์ไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลยครับ เพราะการติดตั้งท่อแอร์ตั้งแต่ขั้นตอนงานก่อสร้าง จะช่วยให้ผนังบ้านของเราดูสวยสะอาดตา โดยช่างจะทำการกรีดผนังและฝังท่อแอร์และท่อน้ำทิ้งเข้าไปก่อน หลังจากฉาบทาสีแล้วผนังจะดูสวยเรียบ ดูไม่ออกเลยว่าในผนังมีท่อแอร์ฝังอยู่
-
ปิดท่อแอร์ด้วยงาน Built-in
งานติดตั้งแอร์ร่วมกับบ้านเก่าหรือบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว ย่อมมีข้อจำกัดมากกว่าบ้านที่กำลังก่อสร้าง โดยเฉพาะข้อจำกัดเรื่องการฝังท่อแอร์ลงในผนัง เพราะหากกรีดผนังภายหลังย่อมส่งผลให้ผนังบ้านมีรอยซ่อมแซม อาจเป็นวิธีที่ไม่คุ้มนัก หลายบ้านจึงเลือกที่จะทำตู้เก็บของ โดยออกแบบ Built-in ตู้ขึ้นมา กำหนดให้มีช่องสำหรับแอร์โดยเฉพาะ ส่วนจุดอื่น ๆ ใช้สำหรับจัดวางของ เก็บของ Built-in จะปิดซ่อนท่อแอร์ไปโดยอัตโนมัติ นับเป็นวิธีที่ได้ทั้งความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานไปพร้อม ๆ กันครับ
-
ไม่มีพื้นที่ผนังให้ติดตั้ง จบสวยด้วยแอร์ฝังฝ้า
ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับบ้านสไตล์โมเดิร์น ที่เจ้าของบ้านต้องการความโปร่งโล่ง สถาปนิกจึงมักออกแบบผนังบ้านด้วยบานกระจกสูงจรดคาน ส่งผลให้ไม่มีพื้นที่ผนังให้ติดตั้งแอร์เลยครับ บ้านโมเดิร์นส่วนใหญ่จึงเลือกใช้แอร์ฝังฝ้า หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วแอร์จะดูเรียบเนียนไปกับฝ้าเพดานจึงหมดปัญหาไม่มีพื้นที่ผนังให้ติดแอร์ไปเลยครับ
-
เลือกแอร์ที่มีดีไซน์สวยงาม
แม้จะเลือกตำแหน่งแอร์ได้ดีแค่ไหน หากท้ายที่สุดแล้วแอร์ที่ซื้อมามีรูปทรงเทอะทะ ความสวยงามย่อมไม่เกิดขึ้นได้ การเลือกซื้อแอร์จึงไม่เพียงแค่มองที่คุณสมบัติเท่านั้น แต่จำเป็นต้องดูรูปลักษณ์ภายนอกร่วมด้วยครับ
อีกจุดเล็ก ๆ ที่หลายบ้านมักมองข้าม โดยทั่วไปแอร์ใหม่แต่ละรุ่น มักติดสติกเกอร์ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ไว้บริเวณหน้าแอร์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก banidea, nocnoc
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ