บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูกพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี

การปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูกพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี

8 กุมภาพันธ์ 2022
1779   0

การปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูกพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี

การปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูกพืช

การปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูกพืช





ปรับสภาพพื้นที่นาพื้นที่ไร่เพื่อทำการปลูกพืชชนิดใดโดยเฉพาะการปลูกพืชที่มีลักษณะแตกต่างกันเป็นอยากมากเช่น มาแล้วมาปลูกที่ใกล้พืชผักผลไม้ประดับ เป็นต้น เกษตรกรควรตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูกพืช  เพื่อที่จะได้รู้ถึงถึงสภาพทางกายภาพของดินรมทั้งสภาวะธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืช  และการประเมินระดับความอุดมสมบรูณ์ของดิน แล้วจึงทำการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับดิน เพื่อเพิ่มการเจริงเติบโตของพืชที่ปลูก ดังนี้

  1.  การใช้ปุ๋ยคอก  ควรใช้ในอัตรา 1-3 ตันต่อไร่  โดยใส่ในขณะเจตรียมดิน กรณีที่ใช้มูลสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการหมัก ควรไถ่กลบทิ้งไว้ประมาณ 15-30 วัน ก่อนการปลูกพืช สำหรับพืชที่ปลูกพืชไปแล้วนั้นควรใช้มูลสัตว์ห้งเก่า ๆ โรยเป็นแถบแล้วจึงพรวนดินกลบ
  2. การใช้ปุ๋ยหมัก
        –  พืชไร่ ใช้ในอัตรา 2-3 ตันต่อไร่ โดยใส่เป็นแถวตามแนวปลูกพืชแล้วคลุกเคล้ากับดินใก้เข้ากัน
        –  พืชผัก  และไม้ดอกไม้ประดับ ใช้ในอัตรา3-4 ตันต่อไร่ โดยว่านให้ทั่วพื้นที่แล้วไถ่กลบก่อนการปลูกพืช 7- 14 วัน
    ” เกษตรควรตรวจวิเคราะห์ดินก่อนทำการปลูกพืช เพื่อจะได้รู้ถึงคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดิน สภาวะธาตอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และประเมินระดับความสมบูรณ์ของดินและจึงทำการปรับปรุงดินก่อนปลูกพืชผัก “
  3. การใช้ปุ๋ยพืชสด ไถกลบส่วนต่างๆ ของพืชที่ยังสดอยู่งลงในดิน  เพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ส่วนใหญ่จะใช้พืชตระกูลถั่ว เพราะธาตุในโตเจนจะสูง และย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอก พืชที่นิยมนำไปใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนแอฟริกัน สนอินเดีย ปอเทือง  ตัวเหลือง ตัวเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า เป็นต้น

  4. การคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชคุมดิน เพื่อรักษาความชื้น ในดิน ป้องกันวัชพืชขึ้น และเมื่อเศษพืชเหล่านั้นสลายตัว จะกลายเป็นปุ๋ย เพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้แก่ดิน เศษพืชที่นิยมใช้คลุมดิน ได้แก่ ฟางข้าว เปลือกถั่ว เป็นต้น
  5. ใช้เศษเหลือของพืช  หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืขที่เหลือ เช่น ต้นและเปลือก แกลบ ตอชัง หรือ วัสดุอื่นๆ ถเาไม่มีหารใช้ ประโยชน์ควรไถกลบคืนลงไปในดิน
  6. การปลูกพืชแบบหมุ่นเวียน  ควรมีพืชตระกูลถั่วซึ่งมีคุณสมบัติบำรุงรวมอยู่ด้วย เพื่อให้การใช้ธาตุอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้ชั้นดินมีเวลาพักตัว  ในกรณีพืชที่ปลูกมีระบบรากลึกแตกต่างกัน การปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้หลายๆวิธีดังกล่าวข้างต้นรวมกัน เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ  หากใช้ปูนชนิดเดียวต้องใช้ปริมาณที่มาก ควรพิจารณาปริมาณการใช้ตามกำลังความสามารถที่มีใช้หลายชนิดรวมกัน  ปริมาณการใช้ในแต่ละชนิดก็จะลดลง  และคนมีการปฏิบัติบำรุงดินอย่างต่อเนื่องทุกปี  เพื่อรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้อยู่เท่าเดิมเสมอ  เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตพืชผลทางการเกษตรในระยะยาว

ที่มา :  วารสารส่งเสริมการเกษตร, https://esc.doae.go.th



บทความอื่นๆที่น่าสนใจ