เป็นอีกหนึ่ง อาชีพที่สร้างรายได้งามๆ ” วิธีเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์ “ และเคล็ดลับการเตรียมบ่อ
เลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์
เลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์ กุ้ง เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงอย่างดีแบบต่อเนื่องมาตลอดก็ว่าได้ กุ้งมีหลายสายพันธ์ุและทุกๆสายพันธ์ุล้วนแล้วแต่สร้างรายได้อย่างมากมาย และกุ้งฝอย เป็น กุ้งที่เลี้ยงง่ายที่สุดในบรรดากุ้งในแต่ละสายพันธ์ุค่ะ ต้นทุน ในการเลี้ยงก็ถูกกว่ากุ้งชนิดอื่นมาก แต่ว่ารายได้ที่ได้รับไม่แพ้บรรดากุ้งชนิดอื่นเลย แถมยัง เลี้ยงง่าย ขยายพันธ์ุไวอีกต่างหาก ที่สำคัญเป็นที่ต้อง การทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง
มาทำความรู้จักกับ “กุ้งฝอย” ก่อนลงมือเลี้ยง
กุ้งฝอย เป็นกุ้งขนาดเล็กที่มีเปลือกหุ้มหัวค่อนข้างบาง ประกอบด้วยกรีบนมีฟันหยัก 4 ถึง 7 ซี่ และกรีด้านล่างมีฟันหยัก 1 ถึง 2 ซี่ มีตาสองข้าง มีก้านตาติดกับกรี ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง 6 ปล้อง เปลือกหุ้มลำตัวใสมองเห็นด้านใน ลำตัวยาวได้มากถึง 6 เซนติเมตร ขาเดินมีทั้งหมด 5 คู่ คู่ที่ 1 และคู่ที่ 2 เป็นก้ามหนีบ ก้ามหนีบของคู่ที่ 2 มีแต่ขนาดใหญ่และยาวกว่าก้ามหนีบคู่ที่ 1 ส่วนคู่ที่ 3,4,5 ใช้เป็นขาเดินแต่ละขามีปล้องเจ็ดปล้องและปล้องส่วนปลายมีลักษณะเรียวแหลมและมีความยาวใกล้เคียงกัน ถัดมาเป็นขาว่ายน้ำมีทั้งหมด 5 คู่ อยู่บริเวณใต้ลำตัว
ในธรรมชาติจะพบกุ้งฝอยได้ทั่วไปทั้งในแหล่งน้ำไหลและแม่น้ำทั่วไปหรือบ่อน้ำนิ่ง มักอาศัยมากบริเวณน้ำขุ่น ใกล้ริมตลิ่งความลึกประมาณ 0.5 ถึง 1 เมตร หรือบริเวณที่มีอินทรีย์วัตถุทับถมกัน โดยในเวลากลางวันจะว่ายน้ำลึกหรือหลบซ่อนตัวใต้ก้อนหินใต้น้ำหรือเกาะตามพรรณไม้ ส่วนเวลากลางคืนจะว่ายขึ้นมาหาอาหารบริเวณริมตลิ่งกุ้งฝอยมีอายุโดยเฉลี่ย 7 ปี
กุ้งฝอยเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปในภูมิภาคของประเทศไทยนำมาทำอาหารได้หลากหลาย เช่น กุ้งเต้น,ทอดมันกุ้ง,กุ้งฝอยทอด, กุ้งฝอยนั้นมี โปรตีน และแคลเซียมรวมถึง สารอาหารอื่นๆจำนวนมาก มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
สำหรับกุ้งฝอย ที่วางขายในท้องตลาดนั้น ส่วนใหญ่จะจับได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องในปัจจุบัน ทำให้ราคากุ้งฝอยพุ่งสูง นับว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันนี้กุ้งฝอยในธรรมชาติ เริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำธรรมชาติ บางครั้งมีการใช้กุ้งฝอยเป็นอาหารเลี้ยงอนุบาลลูกปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลาบู่ ปลาช่อน ปลากราย และปลาสวยงาม ทำให้เกิดควมไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้น
แต่ด้วยความต้อง การของตลาด ที่ยังมีต่อเนื่องทำให้เกษตรกรหลายคนหันมาเอาดี ด้านการเพาะ เลี้ยงกุ้งฝอยจำหน่าย ซึ่งราคา ขายในท้องตลาดก็สูงไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 300-400 บาท ช่วยสร้างรายได้ชนิดที่ไม่แพ้ธุรกิจใดๆ
การเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์
เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยได้ทั้ง ในแบบบ่อดิน และ บ่อซีเมนต์ แต่ส่วนใหญ่จะเลือกเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ที่สะดวกและดูแลได้ง่ายกว่า ซึ่งวิธีการก็เริ่มต้นจาก การรวบ รวมกุ้งเพศเมียจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวนประมาณ 80-100 ตัว
แล้วนำมาพักไว้ในกระชังอย่างน้อย 1 คืน คัดเลือกเฉพาะกุ้งเพศเมียที่มีไข่แก่ มองเห็นตา ของลูกกุ้งในท้องเพาะฟักในตะแกรงที่แขวนไว้ในกระชังผ้า ขนาด 1×1 เมตร ในบ่อซีเมนต์หรือบ่อดิน ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 33%
ให้อาหารประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ประมาณ 3-4 วัน ไข่จะฟักออกมาเป็นตัว แ ยกแม่กุ้ง ออกจากกระชัง แล้วคัดลูกกุ้งที่มีขนาดเดียวกัน เพื่อสะดวก ในการจัดการเพาะเลี้ยง นำลูกกุ้งที่ได้ไปอนุบาลในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว ปริมาณ 50,000 ตัว ในบ่อขนาด 1×1 เมตร สัปดาห์แรก ใ ห้ ไข่ แดงต้มสุก เป็นอาหาร สัปดาห์ที่ 2-4 ใช้ไรน้ำจืดขนาดเล็กเป็นอาหาร
จากนั้นจึงให้ อาหาร สำเร็จรูปชนิดผง เป็นอาหารที่มีโปรตีน 40% ให้อาหารในปริมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ระยะนี้ต้องระมัดระวังตาข่ายไม่ให้อุดตัน ควรใช้แปรงขนาดเล็กขนอ่อนทำความสะอาดบ่อยครั้ง ใช้เวลาอนุบาลเป็นเวลา 1 เดือน จึงนำไปเลี้ยงใน กระชัง หรือบ่อซีเมนต์ได้
การเตรียมบ่อ
ทำความสะอาดบ่อด้วยปูนขาว ตากทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ กั้นคอกล้อมบ่อด้วยอวนพลาสติกสีฟ้า เพื่อป้องกันศัตรู เติมน้ำในบ่อโดยผ่านการกรองด้วยผ้าตาถี่ เพื่อป้องกันไข่ ปลา และลูกปลาขนาดเล็กๆ เล็ดลอดลงในบ่อกุ้ง เติมน้ำสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ อัตรา 60-120 กิโลกรัม ต่อไร่ ทิ้งไว้ 3-4 วัน รอจนน้ำเริ่มสีเขียว จึงเติมน้ำจนได้ระดับ 1 เมตร
จากนั้นจึงนำลูกกุ้งที่ อนุบาล มาแล้วประมาณ 1 เดือน ปล่อยลงในบ่อ อัตรา 30,000-50,000 ตัว เลี้ยงประมาณ 2 เดือน ก็สามารถ จับขายได้ มีอัตรารอด 80% ที่สำคัญการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ควรช่วยการหายใจด้วยระบบการเติมออกซิเจนด้วยวิธีการเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อพลาสติก
อาหารของกุ้งฝอย
- ต้มไข่ให้สุก เอาเฉพาะไข่แดง 2 ฟอง
- รำอ่อน 3 ขีด ผสมให้เข้ากัน ปั้นเท่ากำปั้น โยนลงไปในบ่อประมาณ 3 ก้อน
หลังจากให้อาหารประมาณ 1 เดือน กุ้งจะวางไข่ ให้สังเกตตอนกลางคืนโดยการนำไฟฉายมาส่องดุว่ากุ้งจะวางไข่หรือไม่ เทคนิค การเร่งกุ้งให้วางไข่ ให้นำสายยางน้ำประปามาเปิดลงในบ่อ โดยการเปิดแรงๆ ประมาณ 10-20 นาที เพราะ กุ้งชอบเล่นน้ำไหล แล้วจะดีดตัวทำให้ไข่ตกลงมา (ธรรมชาติน้ำนิ่งกุ้งไม่วางไข่) ประมาณ 1-2 เดือน กุ้งก็จะโตเต็มที่ ใ ช้ เวลา ทั้งหมดประมาณ 4 เดือน จะได้กุ้งประมาณ 20-30 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100-200 บาท
ราคาและระยะเวลาในการจับจำหน่าย
ระยะ เวลาในการจับกุ้งฝอยเพื่อจำหน่าย ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนก็สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้ ทั้งนี้หาก เป็นการเลี้ยงในบ่อดินหรือตามสวนต่างๆจะสามารถ ใ ห้ จำนวนการขยาย พันธุ์ได้มากกว่าการเลี้ยงในบ่อปูนเพราะมีพื้นที่มากกว่า
โดยอาหารกุ้งฝอยที่เลี้ยงในบ่อดิน สามารถให้ได้แบบเดียวกันกับการเลี้ยงในบ่อปูน ก็ ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับสำหรับคนที่มีที่ดินว่างๆ อาจจะลองหันมาเลี้ยงกุ้งฝอยสร้างรายได้ดูบ้างก็ได้
อย่างไรก็ดีแม้จะเป็น อาชีพ ที่ดีแต่เกษตรกรก็ควรศึกษาวิธีการเลี้ยงให้เข้าใจและเริ่มเลี้ยงแบบหาประสบการณ์ จาก น้อยไปหามาก เพื่อดูว่าอัตราการรอดเป็นอย่างไรระหว่างเลี้ยงมีปัญหาอะไรให้ต้องแก้ไข แม้ว่ากุ้งฝอยจะเลี้ยงไม่ยากแต่หากไม่เข้าใจในวิธีการเลี้ยงก็อาจทำให้เป็นการลงทุนที่เสียเวลาโดยประโยชน์ได้
เมนูอาหารกุ้งฝอยยอดนิยม
1. กุ้งเต้น,ส้ากุ้ง,ก้อยกุ้ง
เมนูนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทางภาคอีสาน และ เป็นเมนูที่ทำง่าย และรสชาติแสนอร่อย ที่ทุกคนต้องริมลอง กันเลยทีเดียว
การเตรียมส่วนผสม
- กุ้งฝอย 1 ถ้วยตวง
- ต้นหอมซอย 2 ต้น
- ผักชีฝรั่งซอย 2 ช้อนโต๊ะ
- ตะไคร้ซอย 3 ช้อนโต๊ะ
- หอมแดงซอย 3-5 หัว
- ใบสะระแหน่ 4 ใบ
- ฃข้าวคั่ว
- พริกป่น ตามชอบ
- น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
ขั้นตอน
- ล้างกุ้งฝอยให้สะอาด ประมาณ 3-4 ครั้ง เพราะอาจมีเศษดิน เศษใบไม้เศษเล็กๆ แลหอยตัวเล็กๆ ติดมากับกุ้ง ล้างเสร็จแล้วพักไว้ในชามแบบมีฝาปิด
- ซอยตะไคร้, หอมแดง และผักแพรว พักไว้ในชามรวมกับกุ้ง
- ปรุงน้ำยำ โดยใส่ส่วนผสมทุกอย่าง คนให้เข้า อย่าลืมชิม หากรสชาติไม่ถูกใจ จะเพิ่มหรือลดส่วนผสมก็ได้ตามต้องการ
- เทน้ำยำลงไปในชามกุ้งและผักที่เตรียมไว้ คลุกเบาๆ โรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวแล้วรีบปิดฝา ระวังกุ้งมันจะเต้นออกชาม ต้องใช้ชามแบบมีฝาปิด เสร็จแล้วเสิร์ฟได้เลย
- ขอบคุณข้อมูล : thaismescenter.com , kasetnew.com
- เรียบเรียงโดย : sarakaset.com
บทความอื่นๆ