บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การเลี้ยงไส้เดือนในลิ้นชักพลาสติก

การเลี้ยงไส้เดือนในลิ้นชักพลาสติก

31 มกราคม 2022
2454   0

การเลี้ยงไส้เดือนในลิ้นชักพลาสติก

การเลี้ยงไส้เดือนในลิ้นชักพลาสติก

ทำไมต้องเลี้ยงไส้เดือน





“ที่ไหนดินดีที่นั่นไส้เดือน” การทำให้ดินเสื่อมโทรมนั้นง่ายมาก แต่การทำให้อุดมสมบูรณ์นั้นอาจต้องใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งไส้เดือนจะมีหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ และสร้างสารอาหารให้พืชเส้นทางการเดินของไส้เดือนจะทำให้ดินเกิดความโปร่งร่วนชุย จุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกันกับไส้เดือนดินมีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลของดิน นั่นเอง

สายพันธุ์ของไส้เดือนที่นิยม มี 4  สายพันธุ์

  1. สายพันธุ์ ขี้ตาแร่  เป็นไส้เดือนพันธุ์ไทยที่กินขยะค่อนข้างเป็นลักษณะคล้ายกับไส้เดือนแอฟริกันไนท์คอลเลอร์มาก แต่ตัวเล็กกว่า
  2. สายพันธุ์ แอฟริกันไนท์คอลเลอร์ สำหรับสายพันธุ์นี้จะกินอาหารตรุษจีนนิยมรั้วเพื่อใช้ย่อยสลายเศษผักผลไม้และอีกทั้งยังขยายพันธุ์ได้ค่อนข้างที่เจริญเป็นอย่างมากจนกลายเป็นสายพันธุ์ทางการค้าที่นิยมในปัจจุบัน
  3. สายพันธุ์ Tiger  เป็นไส้เดือน เขตหนาวตัวป้อมสั้น จุดเด่นบริเวณอาหารที่มีลายเสือพาดอยู่ สายพันธุ์นี้จะค่อนข้างอึดมาก ทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี ซึ่งสามารถทนได้ถึงอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส และ ทนต่อสภาพอากาศหนาวได้ถึง 0 องศาเซลเซีย
  4. สายพันธุ์ ไส้เดือนแดง  เป็นไส้เดือนเกิดขอบคุณแม้ตัวเต็มวัยก็ยังตัวเล็ก ให้ลูกเร็วมีมูลขนาดเล็กและละเอียดมากนิยมเลี้ยงเพื่อนำไปใช้ทำน้ำหมักไส้เดือนดิน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไส้เดือนดินในลิ้นชักพลาสติก  ประกอบไปด้วย

  1. ลิ้นชักพลาสติก 4 ชั้นแบบทึบแสง
  2. ไส้เดือน 1.5 กิโลกรัม  (ในที่นี้ใช้สายพันธุ์  ขี้ตาแร่ )
  3. ฟางที่ทำการแช่น้ำแล้วประมาณ 2-3 วัน
  4. ดินก้ามปู 1 ส่วน 
  5. ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
  6. เศษผักและเศษผลไม้ เพื่อเป็นอาหารไส้เดือน
  7. น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน

ขั้นตอนการปฏิบัติ

  1. เราทำการเจาะตู้ลิ้นชักที่ 1 2 และ 3 (จากด้านบนลงล่าง)และด้านบนของลิ้นชัก

  2. นำลิ้นชักที่ 1 2 และ 3 ใส่ฟางหนา 1-2 นิ้ว แล้วตามด้วยดินผสมปุ๋ยคอกหนาประมาณ 3-4 นิ้วและรดน้ำให้ชุ่ม

  3. นำไส้เดือน 1-2 กิโลกรัม ใส่ลงไปในลิ้นชักที่ 3 ตามด้วยเศษผักผลไม้พอประมาณ

  4. แล้วทำการนำลิ้นชักใส่กับเข้าไปตามเดิม แล้วนำไปวางใต้ร่มไม้ หรือที่อากาศไม่ร้อน

  5. คอยเติมอาหารอย่างสม่ำเสมอ  รดน้ำเมื่อความชื้นน้อยลงสามารถเก็บน้ำหมักไส้เดือนที่ลิ้นชักด้านล่างสดใส่ขวดปิดฝาและเก็บหน้าดินที่เกิดจากการย่อยสลายของมูลไส้เดือนไปใช้งานได้

เครดิตบทความและรูปภาพโดย :  สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ริมถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงพยาบาลการุญเวช นวนคร จังหวัดปทุมธานี 12120  www. wisdomking.or.th โทร:  0-2529-2212 or 0-2529-2213



บทความอื่นๆที่น่าสนใจ