สมุนไพรไทย » วิธีการปลูกถั่วพู (Winged bean) พร้อมประโยชน์ของถั่วพู

วิธีการปลูกถั่วพู (Winged bean) พร้อมประโยชน์ของถั่วพู

20 มกราคม 2022
1753   0

วิธีการปลูกถั่วพู (Winged bean) พร้อมประโยชน์ของถั่วพูวิธีการปลูกถั่วพู

ถั่วพู(Winged bean) หลายคนรู้ว่ามีถั่วชนิดนึงที่หน้าตาประหลาด ลักษณะของถั่วพู แต่มีน้อยคนมากที่จะรู้ว่าถั่วพูไม่เพียงแต่เป็นผักที่รับประทานได้เพียงอย่างเดียว ถั่วพูกับมีคุณค่าทางอาหารที่จำเป็นร่างกายของเราเป็นอย่างมาก เรามาดูหน้าตาและสรรพคุณของถั่วพูกันก่อนเพื่อเป็นแรงใจในการปลูกถั่วพูเมื่อถึงวัยแก่เต็มที่ ส่วนลำต้นที่เป็นเถาเหนือดินก็จะแห้งเหี่ยวตายไป เหลือไว้เพียงหัวหรือลำต้นใต้ดิน




หากมีค้างให้ก็สามารถเลื้อยไปได้ไกลๆ ระบบรากของถั่วพูจะแข็งแรงมาก มีจำนวนปมจุลินทรีย์  ที่ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้มากกว่าถั่วชนิดอื่นด้วยกัน

วิธีการปลูกถั่วพู

นำเมล็ดมาเพาะในถุงดำ หรือในกระบะเพาะชำ หรือถ้าจะปลูกลงดินเลย ก็ขุดหลุมกว้าง 1 ฟุต ลึก 1 ฟุต รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก เศษใบไม้ผุๆ กาบมะพร้าวสับชิ้นเล็กๆ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วจึงหยอดเมล็ดลงไปหลุมละ 4-5 เมล็ด กลบดินบางๆ รดน้ำให้ชุ่มเช้า-เย็น รอสัก 10 วัน ต้นถั่วพูน้อยๆ ก็จะงอกขึ้นมา ให้เราถอนแยก เลือกเอาต้นที่สมบูรณ์ไว้ 2 ต้น ต่อหลุม

พออายุได้ 15 วัน ก็หาไม้ไผ่มาทำค้างให้เลื้อย หากไม่มีที่พอ จะปลูกในกระถางก็ได้เช่นกัน แนะนำให้ง่าย ซื้อดินถุงสำเร็จรูปมาเลย เจาะเป็นช่องพอสมควร หยอดเมล็ดลงไป สัก 5-6 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่ม สมมุติว่าบ้านเป็นตึกแถว ไม่มีไม้ไผ่ใช้ ให้ซื้อท่อน้ำเอสล่อน ขนาด 1 นิ้ว มาตัดต่อทำเป็นซุ้มแทนไม้ไผ่

กระถางปลูกถั่วพู : กระถางต้องมีขนาดพอเหมาะหรือยิ่งใหญ่ก็จะดีเพราะการปลูกถั่วพูในกระถางนั้น เมื่อดินมาอยู่ในกระถางจะเกิดความร้อน  และมีผลเสียต่อพืชผักที่เราปลูกท่านจะเห็นว่าพืชผักที่ปลูกในกระถางจะหงิกงอ เพราะกระถางนั้นเล็กเกินไปทำให้ไวต่อความร้อนที่ได้รับ ผมจึงเน้นกระถางที่ใหญ่หน่อย

ดินสำหรับปลูกถั่วพู : ดินต้องมีธาตุอาหารเพียงพอสำหรับการปลูกถั่วพูดังนั้นท่านต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสมไม่ให้ดินเหนียวจนเกินไปเพราะหากดินเหนียวเมื่อถูกน้ำ น้ำจะไม่สามารถไหลผ่านลงไปก้นกระถางได้ดี




ประโยชน์ของถั่วพู

  1. ถั่วพูเป็นยอดอาหารเหนือชั้นที่มีความเหนือกว่าพี่น้องตระกูลถั่วทั้งหลาย มีประโยชน์มาก และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถนำมารับประทานได้แทบทุกส่วนของต้น
  2. ถั่วพูเป็นพืชที่มีสารขัดขวางต่ำ จึงช่วยทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปได้ด้วยดี เมื่อรับประทานถั่วพูแล้วร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ถึง 39.1-51.9% เลยทีเดียว
  3. การรับประทานถั่วพูอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง สามารถช่วยป้องกันและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม และยังส่งผลดีต่อฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย เพราะพืชตระกูลถั่วที่กินได้ทั้งฝักทั้งหลายจะมีสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส
  4. การรับประทานถั่วทั้งชนิดแห้งและสด เช่น ถั่วพู นอกจากจะได้เส้นใยอาหารมากแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
  5. ปัจจุบันนิยมปลูกถั่วพูไว้ตามริมรั้วหรือในสวนหลังบ้าน หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนาเพื่อใช้เป็นผักสวนครัว โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารได้แก่ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน รสมัน (ใช้กินเป็นผัก) และหัวใต้ดิน (ใช้กินเป็นอาหารแห้ง)
  6. คนไทยทั่วไปนิยมใช้ฝักอ่อนเป็นผักสดจิ้มรับประทานกับน้ำพริก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับน้ำพริกปลาร้า หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัดกับน้ำมันหอย แกงเผ็ด ลวกราดน้ำกะทิ หรือทำเป็นยำถั่วพู นำมาหั่นเป็นเครื่องเคียงขนมจีน ใช้ผสมในทอดมันเช่นเดียวกับถั่วฝักยาว ส่วนทางภาคใต้ก็นิยมกินยอดอ่อน ฝักอ่อน และดอกอ่อนเป็นผักสด หรือนำไปต้ม นำไปผัด ใส่แกงส้ม ทำแกงไตปลาก็ได้ ส่วนชาวญี่ปุ่นก็ใช้ฝักอ่อนนำมาทอดเป็นเทมปุระ และในอินเดียและศรีลังกาก็นิยมนำฝักอ่อนมาดองไว้รับประทาน นอกจากนี้ยังใช้ปรุงกับอาหารและเครื่องเทศรสจัดได้ทุกชนิด
  7. ในบ้านเรามีการบริโภคหัวถั่วพู ด้วยการนำมาต้มกินคล้ายกับหัวมัน โดยหัวใต้ดินของถั่วพูนี้จะมีประมาณของโปรตีนสูงถึงร้อยละ 20-30 เลยทีเดียว จึงมีการนำหัวมาแปรรูปเป็นแป้งสำหรับใช้ประกอบอาหาร หรือนำไปเชื่อมเป็นขนมหวาน หรือจะฝานเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาทอดกรอบเหมือนมันฝรั่งก็ได้ แถมยังเป็นอาหารขบเคี้ยวที่มีโปรตีนสูงอีกด้วย
  8. เมล็ดแก่มีน้ำมันอยู่ร้อยละ 16-18 สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันพืชสำหรับใช้ปรุงอาหารได้ และยังมีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ด้วย โดยในน้ำมันถั่วพูจะมีกรดโอเลอิก 39%, กรดไลโนเลอิก 27%, กรดบีเฮนิก, และกรดพารินาริก ซึ่งไม่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด นอกจากนี้ในน้ำมันถั่วพูยังมีสารโทโคฟีรอลในปริมาณที่สูงมากอีกด้วย โดยเป็นสารที่ทำให้น้ำมันมีรสหวานและอยู่ตัว มีประโยชน์ในเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  9. มีการนำถั่วพูมาใช้ในการรักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
  10. ถั่วพูสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ แล้วปล่อยให้สัตว์กินแทนหญ้าเลี้ยงสัตว์ทั่วไป โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง และยังได้คุณค่าอาหารมากกว่าหญ้านัก จึงช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเจริญเติบโตได้ในดินเสื่อมโทรม
  11. ถั่วพูเป็นพืชบำรุงดินได้ดี เพราะปมรากเป็นที่อาศัยของเชื้อไรโซเบียมที่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ดังนั้นการปลูกถั่วพูจึงเป็นการเพิ่มไนโตรเจนให้แก่ดินและเมื่อไถกลบต้นถั่วพูหลังการเก็บเกี่ยวไปแล้วยังกลายเป็นปุ๋ยพืชที่ดินต้องการอีกด้วย

ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว  อายุการเก็บเกี่ยว 80 วัน

Cr: https://www.railungtop.com



บทความอื่นๆที่น่าสนใจ