บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การผลิตน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำโดยใช้สารเร่ง พด. 2

การผลิตน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำโดยใช้สารเร่ง พด. 2

18 ธันวาคม 2021
2378   0

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์พด. 2

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ


ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หมายถึง  ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลว ซึ่งได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูงโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ได้ของเหลวสีน้ำตาล ประกอบด้วยฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และ กรดฮิวมิก

สารเร่งซุปเปอร์ พด.2

เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรในลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูง เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยดำเนินกิจกรรมทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์ ดังนี้

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

จุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.2

  • สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากวัตถุดิบได้หลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ ปลา หอยเชอรี่ เปลือกไข่ เศษก้างและกระดูกสัตว์
  • เพิ่มประสิทธิภาพการละลายธาตุอาหารในการหมักวัตถุดิบจากเปลือกไข่ ก้าง และกระดูกสัตว์
  • เป็นจุลินทรีย์ที่เจริญได้ในสภาพความเป็นกรด
  • จุลินทรีย์ส่วนใหญ่สร้างสปอร์ ทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อมและเก็บรักษาได้นาน
  • สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในเวลาสั้นและได้คุณภาพ
  • ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อการเข้าทำลายของโรค / แมลง




วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือน้ำหมักชีวภาพโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2

  • หั่นหรือสับวัสดุพืชหและสัตว์ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับกากน้ำตาลในถังหมักคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
  • นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซอง ส่วนผสมของกากน้ำตาลกับน้ำ คนให้เข้ากันนาน 5 นาที 
  • เทสารละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ในถังหมัก คนส่วนผสมให้เข้ากันปิดฝาไม่ต้องสนิทและตั้งไว้ในที่ร่ม
  • ในระหว่างการหมัก คนหรือกวน 1-2 ครั้ง/วัน เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดียิ่งขึ้น
  • ในระหว่างการหมักจะเห็นฝ้าขาวซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวหน้าของวัสดุหมัก ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกลิ่นแอลกอฮอล์

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

วัสดุที่ใช้ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ 

น้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้  จำนวน 50 ลิตร (ใช้เวลาในการหนัก 7 วัน)

  • ผักหรือผลไม้   จำนวน              40  กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล      จำนวน              10  กิโลกรัม
  • (หรือน้ำตาลทรายแดง จำนวน   5   กิโลกรัม)
  • น้ำ  จำนวน                                10  ลิตร  (หรือให้พวกวัสดุที่ใช้หมัก)
  • สารเร่งซุปเปอร์ พด.2                 1  ซอง  ( 25 กรัม)

น้ำหมักชีวภาพจากปลาหรือหอยเชอรี่ จำนวน 50 ลิตร ใช้เวลาในการหมัก  (15-20 วัน)

ส่วนประกอบมีดังนี้

  • ปลาหรือหอยเชอรี่        จำนวน       30   กิโลกรัม
  • ผลไม้                            จำนวน       10   กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล                   จำนวน      10    กิโลกรัม
  • (หรือน้ำตาลทรายแดง  จำนวน        5     กิโลกรัม)
  • น้ำ                                 จำนวน       10    ลิตร  (หรือให้ท่วมวัสดุที่ใช้หมัก)
  • สารเร่งซุปเปอร์พด.2   จำนวน         1    ซอง  (125 กรัม)

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

การผลิตน้ำหมักชีวภาพวิธีการต่อเชื้อ

นำน้ำหมักชีวภาพที่ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2  หมักเป็นเวลา 5-7 วัน  ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าจะมีฝ้าสีขาวที่ผิวหน้าวัสดุหมัก   จำนวน 2 ลิตร   แทนการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2   จำนวน 1 ซอง   ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ 50 ลิตร และใช้วัสดุหมัก 30-40 กิโลกรัม

การพิจารณาปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่หมักสมบูรณ์แล้ว

  • การเจริญของจุลินทรีย์น้อยลง โดยคราบเชื้อที่พบในช่วงแรกจะลดลง
  • ไม่พบฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง
  • ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 3 – 4

อัตราและวิธีการใช้

  • เจือจางปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ต่อ น้ำ อัตราส่วน 1:500 – 1: 1,000
  • ฉีดพ่น หรือรดลงดิน ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

  • ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยพบว่าปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีฮอร์โมน และกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนิน กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก
  • กระตุ้นการงอกของเมล็ด
  • เพิ่มการย่อยสลายตอซังพืช



   ที่มา : จากเอกสารเผยแพร่เรื่องสารเร่งประเภทจุลินทรีย์ พด.1 พด.2 พด.3
             กลุ่มวิจัยและพัฒนาอินทรีย์วัตถุเพื่อการเกษตร
             สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
             กรมพัฒนาที่ดิน
             กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง :