บทความเกษตร/เทคโนโลยี » โรคพีอาร์อาร์เอส ความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

โรคพีอาร์อาร์เอส ความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

2 มิถุนายน 2021
2688   0

โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) ความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

โรคพีอาร์อาร์เอส ความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

Cr.www.thebangkokinsight.com

โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) คืออะไร?

โรคพีอาร์อาร์เอส หรือ Porcine reproductive and respiratory syndrome เป็นกลุ่มอาการของโรค ในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจบกพร่องในสุกร  โดยมีการแพร่ระบาดครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งอาการที่พบ คือ แม่สุกรแท้งในระยะสุดท้าย ซึ่งจะทำให้ลูกแรกคลอดนั้นตาย เพราะลูกสุกรนั้นอ่อนแอ หรือถ้ารอดนั้นลูกสุกรก็จะแคระแกร็น โตช้า ติดโรคอื่นๆ แทรกซ้อนได้ง่าย รวมทั้งการแสดงอาการผิดปรกติดของแม่สุกรต่อระบบทางเดินหานใจ  จึงเป็นโรคที่สร้างความเสียหายอย่างมากให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เป็นอย่างมาก




อาการของโรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS)

สำหรับลักษณะอาการของ ” โรคพีอาร์อาร์เอส ” หรือ Porcine reproductive and respiratory syndrome นั้นจะแสดงอาการของโรคที่มีความแตกต่างกันซึ่งในแต่ละฟาร์ม อาจจะมีอาการของโรค ตั้งแต่ไม่แสดงอาการ ไปจนถึงการสร้างความเสียหายอย่างรุ่นแรงและรวดเร็ว ตามปัจจัยต่างๆ ของแต่ล่ะพื้นที่ ที่มีความแต่ต่างกัน เหล่านี้คือ

  • สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส
  • ภูมิคุ้มกันหมู่(ฝูงสุกร) ว่าเคยทำวัคซีนหรือไม่
  • การจัดการฟาร์มเลี้ยงสุกรของแต่ล่ะฟาร์ม
  • การติดเซื้อโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

เชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายของสุกรป่วยทางอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ และน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถติดต่อหรือแพร่ไปยังสุกรตัวอื่นๆ ได้โดยการกินหรือการสัมผัสโดยตรง เช่น การดม การเลีย หรือการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่าน อากาศที่หายใจหรือผ่านทางวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ภายในฟาร์มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส

โรคพีอาร์อาร์เอส ความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

กลุ่มอาการป่วยหรือการระบาดของสุกรโดยทั่วไปที่มักจะพบเจอได้มีดังนี้

  • กลุ่มสุกรแม่พันธุ์ มักจะพบการตายของแม่สุกรสูง เนื่องจากการแท้งลูก ทำให้มีอาการป่วยแบบเฉียบพลัน และอาจพบโรคแทรกซ้อน บางโรคได้มากขึ้นเช่น โรคขี้เรื้อน , โรคจมูกบิด ด้วยเป็นต้นและ แม่พันธุ์ มักจะมีอาการมีไข้เบื่ออาหาร ทําให้เกิดอาการแท้งโดยเฉพาะในระยะท้ายของการตั้ง ท้องหรือลูกตายแรกคลอดสูง อัตราการผสมติดต่ำลงด้วย
  • กลุ่มสุกรพ่อพันธุ์ มักจะมีอาการมีไข้เบื่ออาหารและซึมหายใจลำบาก รวมทั้งคุณภาพน้ำเชื้อลดลง ทำให้เกิดความผิดปรกติของตัวอสุจิของพ่อพันธุ์ด้วย อัตราการผสมติดต่ำ กรณีพ่อพันธุ์สุกรติดเชื่อ โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) อาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปสู่แม่พันธุ์สุกรผ่านทางน้ำเชื้อได้ด้วย
  •  กลุ่มสุกรดูดนม  มักจะพบการตายได้ง่าย ซึ่งอาการหลักๆ คือก่อให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจ แคระแกร็น โต ช้า และทําให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ง่าย

“โรคพีอาร์อาร์เอส ความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร”




การแพร่ระบาดของ โรคพีอาร์อาร์เอส

        สัตว์ที่ติดเชื้อสามารถขับเชื้อไวรัสผ่านทาง สารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย น้ำเชื้อ รวมทั้งปัสสาวะ อุจจาระ และน้ำนม   โดยสามารถตรวจพบการขับเชื้อไวรัสในน้ำลายได้ถึง 42 วันหลังการติดเชื้อ ในน้ำมูกได้ถึง 38 วันหลังการติดเชื้อ ในปัสสาวะได้ถึง 28 วันหลังการติดเชื้อ ในอุจจาระได้ถึง 35 วันหลังการติดเชื้อ ในน้ำเชื้อได้ถึง 92 วันหลังการติดเชื้อ บริเวณต่อมทอนซิล 157 วันหลังการติดเชื้อ ในมดลูก 210 วันหลังการติดเชื้อ โดยสุกรมีช่องทางที่ไวต่อการติดเชื้อได้หลายช่องทาง ประกอบไปด้วย ช่องปาก โพรงจมูก กล้ามเนื้อ ช่องท้อง และช่องคลอด การถ่ายทอดหลักเกิดจากการสัมผัสต่อสัตว์ติดเชื้อโดยตรง แต่จากการศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดในรูปแบบอื่น เช่น ผ่านทางอากาศ ผ่านสัตว์ชนิดอื่น ผ่านทางแมลงดูดเลือด และ ผ่านพาหะไม่มีชีวิต เช่น รถบรรทุก เข็มฉีดยา รองเท้าบู๊ท เสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ในฟาร์ม อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัส สามารถถูกทำลายได้ง่ายในสภาพแวดล้อม หรือ วัสดุที่พบได้ในฟาร์ม เช่น พลาสติก แสตนเลส ยาง ผ้า วัสดุรองพื้นคอก อาหารสุกร ปัสสาวะ อุจจาระ ยกเว้นแต่ในน้ำสะอาดที่มีอุณหภูมิต่ำ pH เป็นกลางเท่านั้นที่เชื้อไวรัส สามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยาฆ่าเชื้อธรรมดาก็สามารถทำลายเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การป้องกัน และควบคุมป้องกัน โรคพีอาร์อาร์เอส ในฟาร์มสุกร

โรคพีอาร์อาร์เอส  นั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาโรค PRRS ให้หายขาดได้ มีเพียงวิธีการป้องกันที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ฟาร์ม หรือ เกษตรกรผุ้เลี้ยงสุกร จะต้องเข้มงวดและ เฝ้าระวัง ดังนี้

1. ด้านการควบคุมปัจจัยที่มีความเสี่ยง  ซึ่งสิงที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงและต้องแก้ไขภายในฟาร์มนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • ปัจจัยเสี่ยงภายใน  คือปัจจัยต่างๆ ในฟาร์มที่ช่วย สนับสนุนให้ เชื้อเกฺิดการหมุนเวียนภายในฟาร์ม  เช่น การเลี้ยสุกรที่หนาแน่เกินไป หรือ เรื่องของอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนสานเคมีหรือ สารพิษ เชื้อรา และ แบบทีเรีย เป็นต้น
  • ปัจจัยเสี่ยงภายนอก คือ การนำสุกรพันธุ์อื่น เข้ามาภายในฟาร์ม  นั้น จะต้องเข้มงวดเรื่องของการนำสุกรเข้าฟาร์มหรือครอกของเกษตรกร ต้องผ่านการตรวจเชื้อทุกครั้งก่อนนำเข้า และ เข้มงวดเรื่องของยานพาหนะเข้าออกฟาร์ม และบุคคลต่างๆจากด้านนอกฟาร์มต้องมีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกครั้ง

2. การสร้างภูมิคุ้มกันให้แม่พันธุ์สุกร ต่อเชื้อ PRRS ให้สำม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมสุกรพันธุ์ทดแทน  อาจจะต้องมีการกักโรคและอาจจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันดรคก่อนการใช้งาน

3. กรณีลูกสุกรและสุกรขุนนั้น การควบคุมโรคควรสร้างภูมิคุ้มกันโรคร่วมกับระบบการจัดการการเคลื่อนย้ายและการผลิตลูกสุกร





เอกสารอ้างอิง : โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS: Porcine reproductive and respiratory syndrome)  โดย น.สพ.ตระการศักดิ์แพไธสง

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ