บทความเกษตร/เทคโนโลยี » ตะไคร้หอม (Citronella grass) พืชสมุนไพรมากคุณค่า

ตะไคร้หอม (Citronella grass) พืชสมุนไพรมากคุณค่า

25 กุมภาพันธ์ 2021
2894   0

ตะไคร้หอม (Citronella grass) พืชสมุนไพรมากคุณค่า

ตะไคร้หอม (Citronella grass) พืชสมุนไพรมากคุณค่า

ตะไคร้หอม (Citronella grass) พืชสมุนไพรมากคุณค่า


ตะไคร้หอม (Citronella grass) พืชสมุนไพรมากคุณค่า..  จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับตะไคร้บ้าน แต่มีกลิ่นหอมฉุนที่แรงกว่า นิยมน้ามาสกัดน้ามันหอมระเหย ต้มน้าดื่ม ท้าธูป และใช้ในการป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืชตะไคร้หอม (Citronella grass) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พันธุ์ที่นิยมปลูกมากเพื่อการผลิตน้ามันหอมระเหย มีอยู่ 2 ชนิด คือ พันธุ์ Cymbopogonnardus Lin. มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ตะไคร้มะขูด (ภาคเหนือ) หรือตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช) ส่วนอีกชนิดคือพันธุ์ Cymbopogonwinterianus Jowitt ปลูกมากบริเวณเกาะชวา มีชื่อพื้นเมืองว่า Mahapengiri ซึ่งต่อมาได้กระจายออกไปหลายแห่ง เช่น เกาะไต้หวัน เกาะไฮติ และเป็นชนิดที่ปลูกมากในประเทศไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ตะไคร้หอมเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณได้นาน 6-8 ปี เป็นพืชที่มีกลิ่นหอม เจริญเติบโตด้วยการแตกหน่อ หรือแตกเหง้า มีทรงพุ่มเป็นกอคล้ายตะไคร้บ้าน มีลำต้นยื่นจากเหง้าสั้น รูปทรงกระบอก ผิวเรียบเกลี้ยง ส่วนเหนือดินสูงได้ตั้งแต่ 1-2 เมตร

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ยาว แต่บางกว่าตะไคร้บ้าน ใบเรียวยาว กว้าง 1.5-2.6 เซนติเมตร ยาว 60-115 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักถี่ คมแข็ง มีผิวใบสาก ไม่มีขน บริเวณโคนใบด้านในมีขน ปลายใบยาวมีลักษณะโน้มลง ใบมีสีเขียวแกมเหลือง กาบใบเป็นส่วนหุ้มที่มองเป็นลำต้นเทียม มีสีเขีนวแกมแดงหรือสีม่วง ซึ่งต่างจากตะไคร้บ้านที่มีสีขาวอมเขียว

ดอก และเมล็ด ดอกออกในฤดูหนาว ออกเป็นช่อยาวขนาดใหญ่ เป็นแบบแยก แขนงขนาดใหญ่ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร แกนก้านช่อยาวโค้งหักไปหักมา ช่อดอกย่อยเป็นแบบกระจับหรือแบบเชิงลด ดอกประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ กาบล่างมี 2 หยัก สีใส รยางค์แข็งยาว ไม่มีกาบบน กลับเกล็ดมี 2 กลับ เกสรเพศผู้มี 3 อัน เกสรเพศเมียมี 2 อัน ยอดเกสร ปกคลุมด้วยขนยาวนุ่ม ก้านย่อยรูปรี เป็นดอกเพศผู้หรือดอกเป็นหมัน กาบช่อย่อยข้างล่าง มีเส้น 7-9 เส้น ดอกย่อยจริงมีเกล็ด 1 เกล็ด ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร มีสีใส ล้อมเกสรเพศผู้ไว้ 3 อัน และมีกลีบเกล็ด 2 กลีบ

การใช้ประโยชน์จากตะไคร้หอม

การใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์  ตะไคร้หอมเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าตะไคร้บ้าน พบในส่วนใบ กาบใบ และล้ำต้น มีสรรพคุณทางยา ใช้แก้ริดสีดวงในปาก ปากแตกระแหง แผลในปาก ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมมีคุณสมบัติป้องกันตัวเต็มวัย และสามารถฆ่าไข่ของด้วงถั่วเขียว ซึ่งเป็นแมงลงในโรงเก็บ เข้าทำลายเมล็ดถั่วเขียวที่เก็บ โดยใช้ citronellal ความเข้มข้นร้อยละ 5 ตั้งทิ้งไว้ในดรงเก็บเมล็ดเป็นเวลา 3 ชั่วโมงสามารถออกฤทธิ์ไล่ตัวเต็มวัยและไข่ของด้วงถั่วเขียวได้

การปลูกตะไคร้หอม

      ตะไคร้หอม ที่มีในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว กาญจนบุรี อุบลราชธานี นครราชสีมา เชียงใหม่ ราชบุรี และชลบุรี โดยเฉพาะจังหวัดสระแก้วที่ปลูกกันมาก พันธุ์ที่นิยมปลูก คือ พันธุ์ C. winterianus J. เนื่องจากมีช่อดอกยาว โน้มต่ำลง มีลำต้น และใบที่ยาว มีกลิ่นแรง และน้ำมันหอมระเหยที่ได้มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์ C. nardus L. ที่มีช่อดอกตรง และสั้น นิยมปลูกกันมากในช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
       ตะไคร้หอมเป็นพืชที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ทำให้เจริญเติบโต และสร้างน้ำมันหอมระเหยเร็ว เป็นพืชที่มีรากฝอยมาก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ดินที่เหมาะสม ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ที่มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ส่วนดินเหนียวจัดหรือทรายจัด การเจริญเติบโตจะช้า ค่า pH ที่เหมาะสมในช่วง 6-7

การเตรียมท่อนพันธุ์

การเตรียมท่อนพันธุ์

ท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรเป็นสายพันธุ์ที่มีกลิ่นหอมฉุน ล้าต้นใหญ่ ใบยาว โดยขุดเหง้าจากกอที่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือน  ขึ้นไป นำมาตัดส่วนใบออกให้เหลือเฉพาะกาบใบหรือลำต้น ให้มีข้ออยู่ประมาณ 2-3 ข้อ มีกาบใบหุ้มข้ออยู่ 4-5 ใบ การขุดเหง้าต้องขุดให้มีส่วนรากติดมาด้วย และระวังการหักของโคนเหง้า

การปลูก

นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก หลุมละประมาณ 1-2 ต้น โดยปักให้เอียง 45 องศา หลังจากปลูกประมาณ 20-50 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 และ 16-20-0 และเมื่อตะไคร้หอมเริ่มจะมีการแตกกอในช่วงตั งแต่ 120 -150 วัน อัตราการใช้ปุ๋ยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

การให้น้ำ

การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ตะไคร้หอมแตกกอเร็วขึ้นและสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี และตลอดระยะเวลาในการเจริญเติบโต ตะไคร้หอมเป็นพืชที่ทนต่อโรค แมลง และทนแล้งได้ดี ซึ่งง่ายต่อการดูแล

การดูแล

Citronella-grass

การดูแลตะไคร้ให้งามและเจริญเติบโตจนขยายพันธุ์ได้เต็มที่นั้นมีหลายวิธี แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพดินรวมไปจนถึงพื้นที่ที่ใช้ปลูกว่าเหมาะสมที่จะใช้วิธีไหนในการดูแลให้เจริญงอกงาม และวิธีการกำจัดวัชพืชในสมุนไพร เช่น

วิธีรดน้ำให้ตะไคร้งาม

วิธีนี้คุณสามารถทำได้โดยแบ่งเวลาในการรดน้ำตะไคร้ เช่น เช้า-เย็น และกำหนดปริมาณในการรดน้ำให้ในแต่ละวัน เช่น 1 ต้น ต่อ 1 กอ ต่อ 1 บัวรดน้ำ หรือรดน้ำให้ชุ่มต้นก็เพียงพอ ถ้าหากคุณไม่ว่างที่จะรดน้ำตะไคร้เป็นเวลาคุณก็สามารถนำกระถางไปไว้ในที่ที่มีน้ำชุ่มอยู่ตลอดเวลา เช่น บริเวณท่อน้ำ ข้อควรระวัง คุณไม่ควรรดน้ำตะไคร้บ่อยและมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ต้นเน่าได้

“ตะไคร้หอม (Citronella grass) พืชสมุนไพรมากคุณค่า”

 วิธีใส่ปุ๋ยให้ตะไคร้งาม

ปุ๋ยที่คุณสามารถใส่เพื่อให้ตะไคร้เจริญงอกงามได้ก็คือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 / 16-16-16 แต่ถ้าหากคุณปลูกไว้เพื่อรับประทานหรือใช้เอง แค่ใช้ปุ๋ยคอกก็เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ไม่ควรใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เพื่อป้องกันไม่ให้สารพิษตกค้าง ตะไคร้ของเราก็จะเติบโตอย่างงดงามเป็นธรรมชาติ

 วิธีป้องกันโรคต่างๆ ตอนปลูกตะไคร้

บางครั้งโรคของตะไคร้อาจเกิดมาจาก การใส่ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ต้นไม้ต้องการ จึงทำให้เกิดโรคใบแดง ใบเหลืองขึ้นได้ วิธีป้องกันคือใส่ในปริมาณที่เหมาะสม หากตะไคร้เกิดเชื้อรา ควรหายามาฉีด ซึ่งอาจจะเป็นยาป้องกันการเกิดโรคในพืช คุณสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการเกษตร แต่ถ้าหากคุณไม่ต้องการฉีดยาและอยากรักษาด้วยการไม่ใช้สารเคมีได้ โดยการนำไปวางให้ได้รับแสงอย่างเพียงพอก็สามารถแก้ปัญหาได้

การเก็บผลผลิต

สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากปลูกประมาณ 6-8 เดือน มีอายุการให้ผลผลิตยาวประมาณ 5-6 ปี แต่ปริมาณการให้น้ำมันหอมระเหยสูงสุดอยู่ในปีที่ 2 หรือ 3 เท่านั้น หลังจากนั้นปริมาณน้ำมันหอมระเหยจะลดลง การปลูกใหม่จึงควรดำเนินการปลูกในปีที่ 3 หรือ 4 การเก็บเกี่ยวจะตัดส่วนใบเหนือพื้นดิน 25-30 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นที่เหลือสามารถแตกใบใหม่ได้เร็วขึ้น การเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง ควรเว้นระยะห่างประมาณ 3 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละ 2-3 ครั้ง

 

แหล่งข้อมูลและรูปภาพ : กรมส่งเสริมการเกษตร  ,  https://www.baania.com

ขอบคุณแหล่งที่มา : กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน , สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทรศัพท์  :  0-2629-8972
Email : [email protected]www.opsmoac.go.th


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ