บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์ ดูแลง่าย รายได้ดี!!

การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์ ดูแลง่าย รายได้ดี!!

4 ธันวาคม 2020
5287   0

การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์ ดูแลง่าย รายได้ดี!!
การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์





การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์  โดยธรรมชาติของปูนาแล้ว ในช่วงฤดูฝนใหม่นั้น “ปูนา (Rice field Crab)” ตามธรรมชาตินั้นก็จะออกมาจับคู่ และหากินกินตามท้องนา หรือแห่งน้ำทั่วไป เพื่อสะสมอาหาร ซึ่งตัวเมียนั้นก็จะเริ่มตั้งท้องประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน กรกฎาคม ปูตัวเมียจะมีไข่ในท้องประมาณ 500-1,000 ฟองต ตามตัวของปูเล็กใหญ่ แตกต่างกัน  ช่วงนี้หากเราสามารถนำแม่ปูมาตามธรรมชาติมาทำการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ที่เราจัดเตรียมไว้ แบบเลียนแบบธรรมชาติ มันก็จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งอาจจะออกลูกและเจริญเติบโตให้เรานำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

การสร้างบ่อซีเมนต์เพื่อเลี้ยงปูนา

การสร้างบ่อซีเมนต์เพื่อเลี้ยงปูนา

ในการทำบ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปูนานั้น จะแล้วแต่ความสะดวกสบายของเกษตร ผู้เลี้ยงปูนา เป็นหลัก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วนิยมทำขนาด 2×3 เมตร และจะทำเป็นแบบเทพื้นปูน เพื่อความสะดวกสะบายใจการจัดการดูแล ทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำ  หรือถ้าทุนน้อยอาจจะเลี้ยงแบบพื้นดิน หรือ ลองเลี้ยงในกะละมัง ก็ได้ แต่แนะนำให้ทำแบบพื้นปูนแล้วใส่ดินหน้าประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เพื่อให้ ปูนาได้ขุดรูอาศัยอยู่ โดยการใส่ดินเข้าไปในบ่อนั้น ควรเทดินแบบลาดเอียง อีกข้างหนึ่งมีน้ำ เลียนแบบบ่อตามธรรมชาติให้มากที่สุดนั่นเอง หรือ จะเทดินทั้งหมด แล้วใส่น้ำในกะละมังก็ได้ แล้วแต่สะดวก ปลูกพืชพรรณไม้น้ำที่หาได้ตามแหล่งธรรมชาติ จะช่วยลดต้นทุน เพื่อให้เป็นแหล่งอาศัย และ เป็นแหล่งอาหารของปูนา อาทิ เช่น ผักบุ้ง,ผักตบชวา, แล้วทำการต่อสปริงเกอร์ หรือ ถ้าไม่มีก็อาจจะสามารถประยุกต์ใช้ สายยางธรรมดา เตรียมไว้คอยฉีดน้ำให้บ่อชุ่มชื่นอยู่เสมอ หาเศษไม้ขอนไม้ หรือทางมะพร้าวมาวางในบ่อ เพื่อให้ ปูนา ได้อยู่อาศัยหลบซ่อนตัว จากนั้นเราก็ปล่อยปูนาที่เราหาได้จากธรรมชาติ ลงเลี้ยง (หาได้จากธรรมชาติหรือซื้อมาก็ได้) ประมาณ 1 กิโลกรัม/1 บ่อ (อัตราส่วนปูตัวผู้และตัวเมียอย่างละเท่าๆกัน)
การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์

อาหารสำหรับใช้เลี้ยงปูนา




สำหรับการให้อาหารปูนา นั้น ควรให้อาหารสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อาหารที่ใช้ เลี้ยงปูนา นั้นได้แก่ ข้าวสุกจะเป็นข้าวสวยหรือข้าวเหนียวก็ได้ ปลาให้สับเป็นชิ้นเล็กๆกุ้งฝอย,ผักสดเช่นผักบุ้งหรือผักกาด แล้วอาหารปลาดุกเม็ดเล็ก หว่านประมาณ 1 กำมือ ในช่วงเย็นเนื่องจากปูนา นั้นจะออกหากินตอนเวลากลางคืน และหมั่นดูแลบริเวณที่อยู่ของปูให้สะอาดโดยต้องเก็บเศษอาหารที่ปูกินไม่หมดทิ้ง และเก็บปูที่ก้ามหลุดออกเนื่องจากจะส่งผลให้โดนปูตัวอื่นมารุมทำร้ายและตายได้และหากทิ้งอาหารหรือปูที่ตายไว้นานๆจะเกิดกลิ่นเหม็นเน่าและมีเชื้อราเกิดขึ้นทำให้ ปูนาอาจเกิดโรคได้ง่าย

อาหารสำหรับใช้เลี้ยงปูนา

ปูนา นั้นจะขุดรูเพื่อจำศีล และใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวจากศัตรูตามธรรมชาติเมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ปูนา จะออกมากินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และจะผสมพันธุ์อีกครั้งในช่วงต้นฤดูฝนในปีถัดไปนั้นเอง

“การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์ “

การเพาะพันธุ์

ปูนาสามารถนำมาเพาะในโรงเพาะฟักเพื่อผลิตลูกปูนาวัยอ่อนได้เช่นเดียวกับปูม้า หรือ ปูทะเล บ่อที่ใช้จะเป็นบ่อซีเมนต์ ถังพลาสติก หรือ ตู้กระจก ก็ได้ ตามความสะดวกของผู้เลี้ยง ซึ่งขนาดของบ่อก็ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดการของแต่ละท่าน และงบประมาณของแต่ล่ะคน

ปูนาพ่อแม่พันธุ์

ปูนาพ่อแม่พันธุ์




ปูนาพ่อแม่พันธุ์  นั้นในระยะแรกก็คงต้องรวบรวมจากธรรมชาติ เมื่อปูนาเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขนาดตัว ประมาณ 2 เซ็นติเมตร อายุ 90 วัน หรือ ประมาณ 3 เดือน นั้นจะมีการลอกคราบถึง 8 – 9 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสารอาหารที่ได้รับ และ ปูนา ที่สามารถจะนำมาเป็น พ่อแม่พันธุ์ นั้นควรมีช่วงอายุระหว่าง 5-8 เดือน ถ้าอายุมากกว่านั้นจะเริ่มเป็นปูแก่ ซึ่งอัตราการให้ลูกหรือผลิตน้ำเชื่อมเริ่มลดลงตามวัยนั้นเอง ไม่เหมือนปูวัยรุ่น ลักษณะของปูเพศผู้จะมีกล้ามซ้ายใหญ่กว่าข้างขวาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนท้องที่เรียกว่าจับปิ้งจะมีฐานกว้างปลายเรียวแหลมคล้ายตัวที ส่วน ปูนาเพศเมีย นั้นก้ามจะเล็กตามทั้งสองมีความแตกต่างกันไม่มาก  จับปิ้งจะมีลักษณะเล็กเรียว ในระยะที่ยังไม่สมบูรณ์เพศที่เรียกว่าปูกระเทย ก็จะขยายเป็นแผ่นกว้างครึ่งวงกลมเกือบเต็มส่วนท้อง ปลายมน ที่ขอบมีขนละเอียดเพื่อประโยชน์ในการอุ้มไข่ เมื่อเปรียบเทียบขนาดถ้าอายุเท่ากัน ปูเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปูเพศเมียเสมอ

เมื่อเข้าไปฤดูฝน ปูจะออกจากรูเพื่อหาอาหารตามแหล่งน้ำและผสมพันธุ์ ในฤดูผสมพันธุ์ปูเพศเมียจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวดุ เมื่อตัวผู้เข้าใกล้ ปูเพศผู้จะไล่ปูเพศเมียเป็นระยะๆ เมื่อได้จังหวะปูเพศผู้จะขึ้นคร้อมและใช้ขาคู่ที่ 2 ถึง 4 พยุงเพศเมียไว้ด้านหลัง การจับคู่ในลักษณะนี้จะดำเนินต่อเนื่องกันประมาณ 3 ถึง 4 วัน

เมื่อช่วงเช้าเข้าฤดูผสมพันธุ์ ปูนาเพศเมียจะมีการลอกคราบและมีกระดองนิ่ม รวมถึงมีอาการก้าวร้าวมาก และจะเลือกปูนาเพศผู้เพื่อผสมพันธุ์เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น หากไม่ใช่ตัวที่เลือกก็จะไล่ให้ออกห่าง หากยอมรับก็จะมีการผสมพันธุ์ขึ้น โดยปูนาเพศผู้จะใช้ก้ามจับปูนาเพศเมียหงายขึ้นและแนบลำตัวติดจับปิ้งของปูเพศเมีย พร้อมสอดอวัยวะสืบพันธุ์และฉีดน้ำเชื้อเข้ารูเปิดของปูเพศเมียบริเวณหน้าอก บริเวณโคนขาคู่ที่ 3 ที่มีสองรูเมื่อน้ำเชื้อถูกฉีดเข้าไปจะถูกนำเข้าในถุงเก็บน้ำเชื้อของปูเพศเมีย ซึ้งเก็บได้นาน 3 ถึง 4 เดือน การผสมพันธุ์นี้จะใช้เวลาราวๆ 3 ชั่วโมง

หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ปูนา เพศผู้จะยังตามติดปูนาเพศเมียต่ออีกประมาณ 2 ถึง 3 วัน เพื่อให้ความคุ้มครองอันตรายให้ปูเพศเมีย จนมีกระดองแข็งแรงและสามารถหาอาหารได้ตามปกติ และหลังจากการผสมพันธุ์ ปูนาเพศเมีย จะผลิตไข่เข้าไปผสมกับน้ำเชื้อ และ นำออกผ่านทางท่อนำไข่ มาพักเก็บไว้ที่แผ่นท้อง ของตัวเอง 

การอนุบาลลูกปูนา

การอนุบาลลูกปูนา

ในช่วง15วันแรก ควรให้ ไรแดง หนอนแดง เทา หรือไข่ตุ๋น กินเป็นอาหาร หลังจากนั้นควรให้ปลาหรือกุ้งสับ
อาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดุกก็ใช้ได้ เมื่อมีอายุประมาณ30วันก็สามารถนำไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์เพื่อให้มีขนาดโตเต็มวัยได้ความหนาแน่นที่ปล่อยเลี้ยง ลูกปูนา ในระยะนี้ควรปล่อยเลี้ยงในปริมาณ 10,000 ตัว/เนื้อที่1 ตารางเมตร




การเจริญเติบโต

ปูนามีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่น ๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วปูนาจะลอกคราบ
ประมาณ 13-15 ครั้งก็จะโตเป็นปูเต็มวัย ได้ขนาดตามที่ตลาดการ ต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน

การลอกคราบปูนา

การลอกคราบปูนา

ปูนาที่จะลอกคราบสังเกตได้จาก รอยต่อ ทางส่วนท้าย ของกระดองจะกว้างมากกว่าปกติ เมื่อใกล้จะลอกคราบปูจะนิ่งและเหยียดขาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองก็จะเปิดออก ส่วนท้ายพร้อมกับขาเดินคู่สุดท้ายจะออกมาก่อน ขาคู่ถัดมาจะค่อย ๆ โผล่ออกมาตามลำดับ ส่วนก้ามคู่แรกจะโผล่ออกมาเป็นอันดับสุดท้ายระยะเวลาที่ใช้เวลาลอกคราบทั้งหมดประมาณ1ชั่วโมง

ตลาดปูนาหรือช่องทางจำหน่าย

ด้านการตลาดในปัจจุบันจะให้เกษตรกรเลี้ยงแล้วจับผลผลิตกลับมา และจะมีตลาดรองรับให้แต่ละจังหวัด ทั่วประเทศ ยกตัวอย่างเช่น เกษตรกรทางภาคอีสาน ถ้าเลี้ยงแล้วส่งผลผลิตกลับมาที่สิงห์บุรี ระยะทางไกล จึงต้องมีตลาดใกล้ๆ โดยแต่ละจังหวัดจะมีการดีลกับพ่อค้า แม่ค้า คนกลาง โรงงานปูดอง พ่อค้า แม่ค้า ร้านส้มตำ พ่อค้า แม่ค้า ที่นำไปดองขาย ว่าเจ้าไหนปูไม่พอ ก็จะมีการดีลให้เอาของอีกเจ้าไปส่งให้ ส่วนเรื่องของราคาก็ให้ตกลงกันเอง แต่จะมีการกำหนดเกณฑ์ราคาขั้นต่ำไว้ ถ้ามีการซื้อขายที่สูงกว่าราคาขั้นต่ำก็สามารถทำได้ แต่ห้ามขายต่ำกว่าราคาที่กำหนด

  • พ่อแม่พันธุ์ขายราคาคู่ละ 100 บาท เป็นปูที่คัดแล้วแข็งแรง สมบูรณ์ สีสันดี กระดองดี ขายาว ก้ามยาว ส่วนลูกปูไม่แนะนำให้นำไปเลี้ยง เพราะมีโอกาสตายสูง ในส่วนของปูกิโล คือ ปูที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถทำพ่อแม่พันธุ์ได้ จะถูกคัดขายเป็นปูกิโลเพื่อนำไปทำอาหาร
  • ปูจ๋าช่วงนี้ราคาส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-120 บาท
  • ถ้าเป็นปูดอง จะมีดองเกลือ ดองน้ำปลา ดองซอสเกาหลี ญี่ปุ่น ราคาตั้งแต่ 150-500 บาท/กก.
  • ปูสดช่วงนี้ราคาอยู่ที่ 100-180 บาท/กก. ราคาขึ้นอยู่กับขนาด ยิ่งขนาดใหญ่ แล้วปูที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป จะสามารถนำก้าม เนื้อ และมันปู มาแยกขายได้ต่างหาก
  • อย่างขาและส่วนอื่นๆ ที่เหลือจะนำมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพซึ่งเป็นไคโตซาน ฉีดพ่นในไร่นา สวน หรือปรับสภาพน้ำได้ด้วย
  • ตลาดออนไลน์ เช่น กลุ่ม Facebook,เว็บไชต์ต่างๆ เป็นต้น

แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.opsmoac.go.th/เลี้ยงปูนา




บทความอื่นๆที่น่าสนใจ