การเพาะเลี้ยงกบโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ ง่ายลดต้นทุน
การเพาะเลี้ยงกบโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ
สำหรับการเพาะเลี้ยงกบโดยวิธีธรรมชาตินั้นจะคํานึงถึงการใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยูรอบข้าง นํามาพัฒนามา เพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงกบให้ได้ประโยชน์อยางสูงสุด อาศัยวิธีการดําเนินงานในแบบที่เรียบง่าย ประหยัด ที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศมีปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตร และไม่เป็นอันตรายต่อผู้เพาะเลี้ยงและชุมชุนข้างเคียง
โดยต้องคํานึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้
- ต้องรู้จักการสังเกตเรียนรู้ในบทบาทของธรรมชาติ ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ที่มีบทบาทและมีกฎของตัวเอง และมีขอบเขตที่จํากดที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถนําเอาบทบาทของธรรมชาติที่เกิดขึ้นเหล่านี้นําปรับปรุงและใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
- ต้องเรียนรู้พื้นฐานธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่จะนํามาเลี้ยง เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความจําเพาะในตัวของมันเอง และเรียนรู้สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆที่มีบทบาทเข้ามาเกี่ยวข้องในการผลิตร่วมด้วย
- ใช้วัตถุดิบที่จําเป็นต่อการผลิตอาหารนั้นมีอยูรอบๆตัวเราให้ได้มากที่สุด
- เรียนรู้และมีความสุขกบการสังเกตสิ่งที่เป็นเกิดขึ้นรอบข้างเพื่อเป็นต้นทุน ความรู้ในการสร้างเสริม “ภูมิปัญญา” และดูแลให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มีความสัมพันธ์กนอย่างใกล้ชิด เมื่อเกิดภาวะปัญหาเฉพาะหน้า ก็จะสามารถทําให้เกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อยางทันท่วงที
- เริ่มต้นจากกระบวนการผลิตตามหลักและแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เรามาดูข้อดีของการเพาะเลี้ยงกบโดยวิธีเกษตรธรรมชาติกันบ้างครับ
- เป็นมิตรกบสิ่งแวดล้อม และ เป็นมิตรกับเกษตรกร การทําเกษตรธรรมชาติไม่เพียงแต่จะปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมแต่ยังช่วยให้ระบบนิเวศคืนสู่สภาพปกติ
- ลดต้นทุนการผลิต ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงกว่า
- ทําได้ในสภาพท้องถิ่นต่างกัน ด้วยหลักการเดียวกันแต่มีวิธีการปฏิบัติหลากหลาย สามารถนําไปทําได้ใน หลายภูมิภาค และจะมีเทคนิคเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น
เรามาดูขั้นตอนวิธีการทำ ทําอย่างไรจึงจะทําให้การเพาะเลี้ยงกบมีประสิทธิภาพสูงสุด
- ออกแบบบ่อเลี้ยงให้กลมกลืนและเหมาะสมกบวิถีชีวิตของกบโดยการใช้สิ่งที่ธรรมชาติให้มาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
- ใช้อาหารที่ สามารถหาได้จากธรรมชาตินําใช้เลี้ยงร่วมกบอาหารสังเคราะห์ให้ได้มากที่สุด
- ลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกนรักษาโรคที่ไม่จําเป็น โดยการใช้จุลินทรีย์ที่ดีและมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื่อโรคและสิ่งแปลกปลอมร่วมด้วย
- ใช้พืชสมุนไพรที่หาได้ในพื้นที่ พื้นที่รอบข้างและพื้นที่ข้างเคียง นํามาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะเลี้ยงอยางถูกวิธี ทดแทนการใช้สารสังเคราะห์อื่นๆ และลดสารตกค้างในสภาพแวดล้อม
- นํ้าเสียที่เกิดขึ้น สามารถนําไปทําเป็นปุ๋ยรดต้นไม้ หรือใช้จุลินทรีย์ในการปรับสภาพนํ้าเสียก่อนที่จะปล่อยทิ้งหรือก่อนนํากลับมาใช้ใหม่
- เลี้ยงในปริมาณที่พอดีที่เหมาะสมกบทรัพยากรธรรมชาติและวัสดุที่มีอยู่ การใช้แรงงานในการเพาะเลี้ยง ไม่วาจะเป็นรูปแบบของการเลี้ยงในครัวเรือน การเลี้ยงแบบเกษตรผสมผสาน หรือการเลี้ยงในลักษณะของผู้ประกอบการ
- ควรคํานึงในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตจากธรรมชาติให้ถูกชนิดและปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเลี้ยง เพื่อที่ทําให้มีประสิทธิภาพในการเลี้ยงที่จะเกิดผลที่ดีที่สุดในการเลี้ยงกบ
ขั้นตอนการทําบ่อเลี้ยง
การเลี้ยงกบ โดยวิธีเกษตรธรรมชาติ เป้าหมายคือ การเลี้ยงในรูปแบบใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากธรรมชาติมาทําบ่อเลี้ยงเพื่อให้มีต้นทุนตํ่า และสามารถใช้ประโยชน์ได้อยางสูงสุด ดังนั้นรูปแบบบ่ออาจจะต้องมีการพัฒนานําสิ่งที่ดี หาง่ายในพื้นที่มาใช้ในการทําบ่อ เพื่อที่จะนํามาไปสู่การพัฒนาทํารูปแบบ และ วิธีการเพาะเลี้ยงการทําบ่อเลี้ยงอาจทําได้หลายแบบประกอบกัน ได้แก่
-
การทําบ่อดิน
บ่อดินมีความเหมาะสมในการใช้เพาะเลี้ยงกบ เนื่องจากมีการลงทุนตํ่าสามารถใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในครัวเรือน และมีสภาพคล้ายคลึงธรรมชาติ ขนาดบ่อทําได้ตั้งแต่ขนาด 2.5 * 3.0 ตารางเมตร แต่ไม่ควรใหญ่เกินกว่า 3.0 * 4.0 ตารางเมตร เนื่องจากต้องมีการคัดขนาดกบและดูแลรักษายาก พื้นที่ควรเลือกบริเวณที่มีแดดส่องถึง โดยทําการปรับสภาพ พื้นที่เป็ นดินให้เรียบล้อมรอบบ่อด้วยตาข่ายในล่อนสีฟ้าสูง 1 เมตร ฝังตีนตาข่ายลึกลงไปในดินประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อกัน กบมุดหนี หรือ ศัตรูภายนอกมุดเข้ามาทําอันตรายกบ บริเวณที่เป็นแอ่งนํ้าอาจขุดเป็นบ่อนํ้าเล็กๆถ้าดินสามารถเก็บน้ำได้ ในกรณีที่เป็นสภาพพื้นที่ไม่เกบนํ้า ให้ใช้ภาชนะเช่น กะละมังขนาดกลาง หรือถังซีเมนต์กลมขนาดเส้นผาศูนย์กลาง 90 เซนติเมตร ด้านบนปากบ่อคลุ่มด้วยตาข่ายไนล่อนสีฟ้าหรือแสลนให้มิดชิดเพื่อป้องกันศัตรูธรรมชาติ เช่น จิ้งเหลน นก แมว งู และ คน
ข้อดีการเลี้ยงกบบ่อดิน
มีความเหมาะสมสําหรับการใช้ในการเลี้ยงกบเนื้อระยะ3-5 เดือน และสามารถใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบหรือเลี้ยงกบข้ามฤดูกาลในช่วงฤดูหนาวได้ดี ข้อเสีย ดูแลรักษาความสะอาดยาก และใช้ขยายพันธุ์ไม่ได้
2. บ่อดินลักษณะกึ่งถาวร
เป็นบ่อดินที่พัฒนาขึ้นมาสามารถทําได้ในลักษณะนี้ โดยการก่อขอบบ่อด้วยอิฐบล็อกสูง 2-3 ก้อนต่อขอบด้านบนด้วยตาข่ายไนล่อนสีฟ้า ด้านบนปากบ่อมีตาข่ายคลุมปิด เพื่อป้องกันศัตรูธรรมชาติอื่นๆ หรือแมลงปอลงวางไข่ภายในปรับสภาพพื้นดินให้เรียบขุดบ่อขนาด 1.5 *1.5 เมตร ลึกลงไปในดินประมาณ 50-70 เซนติเมตร ฝังท่อระบายนํ้าถ้าสมารถทําได้
3. การทําบ่อโดยใช้ถังซีเมนต์ชนิดกลม
ใช้ถังซีเมนต์กลมขนาดเส้นผาศูนย์กลาง 1.5 เมตรสูงอยางน้อย 50 เซนติเมตร และมีฝาปิ ด บ่อลักษณะนี้สามารถในการขยายพันธุ์ อนุบาลลูกอ๊อด และเลี้ยงลูกกบเล็กง่ายต่อการคัดขนาดแต่ไม่เหมาะสําหรับเลี้ยงกบใหญ่เนื่องจากกบจะกระโดดชนผนังและฝาที่ใช้ปิด ทําให้ปากเป็นแผล เกิดการติดเชื้อได้ง่ายแต่ถ้าจะใช้เลี้ยงกบใหญ่ควรทําบ่อซีเมนต์กลมให้มีความสูงอย่างน้อย 1 เมตร การใช้ถังซีเมนต์ที่มีเส้นผาศูนย์กลางเล็กกว่า 1.5 เมตร ทําบ่อเลี้ยงกบจะทําให้กบเจริญเติบโตไม่ดีเนื่องจากมีขนาดเล็กเกินไปทําให้กบแออัด
4. เลี้ยงในกระชัง
บริเวณพื้นที่ๆมีบ่อนํ้า สระนํ้าขนาดใหญ่ หรือมีร่องนํ้าไหลผ่าน สามารถเลี้ยงกบในกระชังได้ดี ขนาดของกระชังไม่ควรเล็กกว่า 1.0 x 2.0 x 1.0 ม. หรือใหญ่กว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณ พื้นที่ที่จะลอยกระชัง ด้านบนกระชังต้องมีฝาปิดเพื่อป้องกันศัตรู การเลี้ยงในกระชังต้องหมันตรวจดูรอยรั่วหรือรอยขาดของกระชังอยางสมํ่าเสมอ กระชังสามารถใช้เลี้ยงกบได้ดี ตั้งแต่การอนุบาลลูกอ็อด ลูกกบเล็กไปจนถึงกบใหญ่และพ่อแม่พันธุ์กบโตเร็วและสมบูรณ์และที่สะดวกคือไม่ต้องเปลี่ยนนํ้า แต่ขยายพันธุ์กบทําได้ยากเช่นกัน
อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงกบ
1. การเลี้ยงลูกอ๊อด
ระยะ 2-3 วันแรกหลังจากที่เป็นลูกอ๊อดไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อด ยังมีถุงไข่แดงที่ติดมากับท้องเป็นแหล่งอาหาร ซึ่งลูกอ๊อดจะเริ่มกินอาหารครั้งแรกเมื่ออายุ 3 วัน ไรนํ้า เป็นแหล่งอาหารเสริมจากธรรมชาติทืี่ดีสําหรับลูกอ๊อดที่เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงเองได้ ในกรณีที่มีลูกอ๊อดเป็นจํานวนมาก อาจเสริมการให้อาหารด้วยการให้ผักกาดลวกนํ้าร้อนกึ่งสุก เศษปลาต้มสุก รําละเอียด เศษเนื้อปลาบดผสมรํา เศษเครื่องในสัตว์ต้มสุก หรือหอยเชอร์รี่ต้มสุก บดผสมรําละเอียด ร่วมด้วย และเมื่อลูกอ๊อดโตขึ้นอาจให้อาหารสังเคราะห์สําเร็จรูปชนิดเม็ดสําหรับใช้เลี้ยงลูกกบโรยให้กินร่วมด้วย การให้อาหารควรให้ทีละน้อยและวางไว้ตลอดเวลาเพราะลูกอ๊อดจะกินอาหารตลอดวัน
2. การเลี้ยงลูกกบ
ต้องฝึกให้ลูกกบให้กินอาหารสังเคราะห์ในช่วงแรกก่อน เนื่องจากถ้าให้ลูกกบกินอาหารธรรมชาติตั้งแต่เริ่มต้น อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในกรณีที่มีอาหารธรรมชาติไม่พอเพียง ดังนั้นจึงควรฝึกให้กินอาหารสังเคราะห์ให้เป็นก่อน จากนั้นให้อาหารเสริมจากธรรมชาติ เช่นปลวก ไส้เดือน จิ้งหรีดหรือหนอนนก จากที่เราสามารถเพาะเลี้ยงได้เอง การฝึกเริ่มตั้งแต่ระยะที่ลูกอ๊อดหางหดหมดมีขา 4 ขาเจริญครบสมบูรณ์ เรียกระยะเริ่มขึ้นกระดาน อาหารสังเคราะห์สําเร็จรูปชนิดเม็ดเล็กพิเศษใช้เลี้ยงกบหรือเลี้ยงปลาดุกเล็ก หรือปลาสดบดละเอียดผสมรําที่เกษตรกรผลิตขึ้นเอง 3 – 5 เปอร์เซ็นต์/นํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม มีโปรตีนไม่ตํ่ากวา่ 30-35 เปอร์เซ็นต์ วิธีฝึกให้ลูกกบกินอาหารทําได้หลายวิธี เช่น ใส่อาหารในภาชนะหรือบนจานแล้ววางปริ่มนํ้า หรือโรยอาหารเม็ดลงในนํ้า ถ้าโรยอาหารลงในนํ้าต้องโรยในบริเวณที่ลูกกบสามารถนั่งได้และหัวไม่จมนํ้า ซึ่งทั้งสองวิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งใน “กบนา” และ “กบบูลฟร็อก”
3. กบรุ่นหรือกบเนื้อ
เมื่อลูกกบอายุประมาณ 2 เดือน สามารถให้อาหารสังเคราะห์ที่มีขนาดเม็ดใหญ่ขึ้นร่วมกับอาหารธรรมชาติที่เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงได้เองโดยวิธีง่ายๆ นอกจากนี้การใช้ชนิดของอาหารอาจขึ้นอยูก่ บสภาพพื้นที่และ วิธีการเลี้ยงของเกษตรกร ถ้าผู้เลี้ยงกบนาอยู่ใกล้บริเวณที่สามารถหา ปลาสดได้อาจใช้ปลาสดบดหรือสับเป็น
ชิ้นวางในภาชนะปริ่มนํ้าหรือเหนือนํ้า หรือใช้ปลาสดบดผสมรําในอัตรา 3:1 หรือให้อาหารสําเร็จรูปชนิดเม็ดที่ใช้เลี้ยงกบหรือเลี้ยงปลาดุก
4. พ่อแม่พันธ์ุ
กบพ่อแม่พันธุ์และมี อายุ 8 -10 เดือน และมีการเจริญเติบโตดีแล้ว ควรลดการให้อาหารให้เหลือเพียงครั้งเดียวในช่วงเวลาเย็น หรือให้อาหารธรรมชาติ เช่น ปลวก ไส้เดือน หนอนนกจิ้งหรีด เป็นต้น
ช่วงการเจริญเติบโต
สำหรับช่วงการเจริญเติบโตของกบนา จากลูกอ๊อดไปเป็นลูกกบโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 28 – 45 วัน
ในการเลี้ยงถ้าบังคับให้ลูกอ๊อดเจริญไปเป็นลูกกบเร็วกวาปกติ จะได้ลูกกบมีขนาดเล็ก การฝึกให้กินอาหารยากขึ้นอัตราการรอดตํ่าลง ดังนั้นไม่ควรเร่งให้ลูกอ๊อดเจริญเป็นลูกกบเร็วกว่าอัตราการเจริญเติบโตตามปกติ
การเจริญจากลูกกบไปเป็นกบเนื้อ ใช้เวลาประมาณ 3-5 เดือน กบเนื้อที่มีอายุประมาณ 4-5 เดือน มีความยาว
ของลําตัวประมาณ 4 นิ้ว มีนํ้าหนักตัวอยูระหว่าง 200-300 กรัม (ขึ้นอยูกับเพศ) กบที่พบวามีขนาดใหญ ่ ในระยะนี้มักจะเป็นเพศเมีย ส่วนที่มีขนาดเล็กจะเป็ นเพศผู้
การเจริญเติบโตของพ่อแม่พันธุ์ ใช้เวลา 10- 12 เดือน ทั้งนี้การเจริญเติบโตในแต่ละระยะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างในด้านการจัดการ เช่น อาหารที่ใช้เลี้ยง การดูแลรักษาความสะอาดของบ่อ ความหนาแน่นที่ปล่อย และการคัดขนาด เป็นต้น
อาหารธรรมชาติที่ผลิตได้เอง
1. การเลี้ยงปลวกโดยธรรมชาติ
ซึ่งปลวกเป็นสัตว์สังคมจะอยูร่วมกันมากและช่วยกันทํางานและ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือพ่อแม่พันธุ์ ปลวกทหาร และ ปลวกงาน
สำหรับการเลี้ยงและสร้างแหล่งอาศัยของปลวก นั้นเลือกพื้นที่บริเวณใกล้จอมปลวก ทําการขุดหลุมขนาด 1*1*1 ศอก นําท่อนไม้แห้ง ไม้เนื้ออ่อน กระดาษลูกฟูก เศษกระดาษ ใส่ลงในหลุมให้เต็ม รดนํ้าให้ชื้นแล้วปิดปากหลุมไว้ด้วยกระสอบป่ าน ทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน ปลวกจะมากินท่อนไม้ในหลุม
การเก็บปลวกเพื่อนํามาเป็นอาหารเสริม สามารถทำได้ง่ายๆโดยการเปิดหลุมเลี้ยงปลวกแล้วหยิบท่อนไม้ 2 ท่อน จากหลุมมาเคาะกันบนปากถัง ปลวกก็จะร่วงหล่นสู่ถังเคาะจนหมด เมื่อปลวกออกจากท่อนไม้หมดแล้ว ให้นําท่อนไม้กลับสู่หลุมตามเดิม ถ้าจําเป็นให้เติมท่อนไม้ ท่อนใหม่ลงในหลุมได้อีก ปิดปากหลุมไว้ตามเดิม เมื่อได้ปลวกตามความต้องการแล้วก็นําปลวกไปให้กบเพื่อเป็นอาหารได้เลยช่วยให้ประหยัดต้นทุนเรื่องอาหารได้ไม่มากก็น้อย ซึ่ง “ปลวก” นั้นเหมาะสําหรับเป็นอาหารเสริมสําหรับกบเล็ก โดยโรยปลวกลงบนพื้นแห้งในบ่อเลี้ยงกบเล็ก ซึ่งกบจะกินเองตามธรรมชาติ ใช้ปลวกประมาณ 1-2 % โดยนํ้าหนักของกบ โดยสามารถให้กบเล็กกินปลวกได้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
2. การเลี้ยงไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่อาศัยอยูในดินที่เปียกชื้นและมีอินทรีย์สารมาก ซึ่งตัวของไส้เดือนนั้นจะประกอบด้วยโปรตีน กรดไขมันสูงมาก มีกรดอะมิโนจําเป็น รวมทั้งแร่ธาตุวิตามินหลายชนิด เหมาะสําหรับเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ใช้เป็ นอาหารเสริม เพื่อลดต้นทุน เมื่อสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงได้กินไส้เดือนเป็นอาหารเสริมแล้ว สัตว์เลี้ยงจะมีการเจริญเติบโตที่เร็ว ได้นํ้าหนัก อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องต้นทุนของอาหารเลี้ยงสัตว์ได้มาก
การเตรียมดินสําหรับเลี้ยงใส้เดือน ใช้ดินที่มีสารอินทรีย์หรือใช้ดินร่วนผสมสารอินทรีย์ ห้ามใช้ดินที่ปนกรวดทรายมากหรือดินลูกรัง นําดินใส่กระบะให้หนาประมาณ 8-10 นิ้ว รดนํ้าเล็กน้อยให้ดินเปียกชื้นเติม อาหารหมู/ไก่ที่มีโปรตีน 15 % นําไส้เดือนเริ่มต้นหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัมใส่ลงไป
การให้อาหารใส้เดือน ได้แก่เศษอาหารจากครัวเรือน เศษผัก เศษหญ้า กระดาษลัง เศษกระดาษ เปลือกผลไม้ ผลไม้ หรือใบไม้ที่กาลังเน่า มูลสัตว์แห้งๆ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์อยาให้อาหารมากเกินไป เพราะจะทําให้อาหารเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นได้พรมนํ้าทุกครั้งที่ให้อาหารแก่ไส้เดือนเพื่อเพิ่มความชื้นภายในภาชนะเลี้ยงไส้เดือนแ
การนําไส้เดือนดินมาใช้เป็นอาหารกบ ตักดินจากกระบะไปใส่ลงในถังขนาดใหญ่ให้หมด ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ30 นาที ค่อยๆตักดินด้านบนกลับสู่กระบะทีละน้อย ในที่สุดจะพบไส้เดือนดินส่วนใหญ่อยูที่ก่ นถังนําแล้วก็นําไส้เดือนไปใช้เลี้ยงสัตว์ตามความต้อง
การการนําไส้เดือนดินให้กบกิน ควรให้ไส้เดือนดินเป็นอาหารเสริมเมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตของกบเพื่อให้ได้นํ้าหนักที่มาก นั้นคือประมาณ 1-2 เดือนก่อนจับขาย ไส้เดือนจะทําให้กบมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงจึงควรให้พ่อแม่พันธุ์ กบกินไส้เดือนเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนก่อนให้จับคู่ โดยการโรยไส้เดือนที่ล้างสะอาดปราศจากดินลงบนพื้นแห้งในบ่อเลี้ยงกบ
3. การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด
จิ้งหรีด เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลกลักษณะโดดเด่นของจิ้งหรีด คือ การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพศเมียจะคร่อมบนเพศผู้เสมอ ลักษณะจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลายเป็น จิ้งหรีดขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยสีนํ้าตาลเข้มลําตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. นิสัย กินอาหารเก่ง โตไว ไม่ชอบบิน เดินนุ่มนวลน่ารัก การเลี้ยงจิ้งหรีด สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ จิ้งหรีดสามารถเป็นอาหารเสริมให้กบสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่
กบ เป็ด ปลา และอื่น ๆ
การผสมพันธุ์ เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 3-4 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 3- 4 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่โดยใช้อวัยวะที่ยาวแหลมคล้ายเข็มความยาวประมาณ 1.50 ซม. แทงลงไปในดินลึก 1-1.50 ซม. โดยวางไข่เป็นกลุ่มๆละ 3 – 4 ฟอง จิ้งหรีดตัวเมีย 1 ตัว จะสามารถวางไข่ได้ประมาณ 1,000 – 1,200 ฟอง ปริมาณของไข่สูงสุดในช่วงวันที่ 15 -16 นับจากการผสมพันธุ์ จากนั้นไข่จะลดลงเรื่อย ๆ จนหมดอายุขัย
วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด วัสดุที่จะนํามาเป็นสถานที่เพาะเลี้ยง ได้แก่บ่อซีเมนต์ กะละมัง โดยติดเทปกาวรอบในด้านบนเพื่อป้องกันให้จิ้งหรีดหนีออกนอกบ่อ ใช้พลาสติกกว้างประมาณ 5 ซม. ให้ยาวเท่าเส้นขอบวง ยางรัดปากวง มีขนาดกว้างน้อยกว่าขอบวงด้านนอก เพื่อความสะดวกเมื่อเวลายืดรัดตาข่ายกับขอบวง ใช้ตาข่ายไนล่อนสีเขียวใช้สําหรับปิดปากบ่อจิ้งหรีดป้องกันการบินหนีของจิ้งหรีดและ ป้องกันศัตรูเข้าทําลายจิ้งหรีด
วัสดุรองพื้นบ่อ ใช้แกลบใหม่ๆ รองพื้นหนาประมาณ 1 ฝ่ามือใส่ที่หลบภัยเพื่อใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว เช่น ถาดไข่ชนิดที่เป็นกระดาษ ไม้ไผ่ตัดเป็นท่อนๆ เข่งปลาทูถาดให้อาหารที่ไม่ลึกมาก เพื่อให้จิ้งหรีดได้กินอาหารได้สะดวก ให้นํ้าโดยใช้ที่ให้นํ้าสําหรับลูกไก่และต้องมีหินวางไว้สําหรับให้จิ้งหรีดเกาะได้ไม่ตกนํ้า ถาดวางไข่ใช้ขันอาบนํ้าทั่ว ๆ ไปวัสดุที่จะใส่ใช้ขี้เถ้า แกลบดํา รดนํ้าให้ชุ่ม
สถานที่เพาะเลี้ยง ต้องป้องกนแสงแดดและฝนได้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น โรงเรือนเลี้ยง ใต้ถุนบ้าน ชายคา บ้าน เป็นต้น การให้นํ้าอาจใช้ต้นกล้วยดิบตัดเป็นท่อนๆ แตงกวา ชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา แตงโม นํ้าเต้า ให้ จิ้งหรีดดูดกินนํ้า เมื่อตัวเล็กๆการให้อาหาร อาหารหลักได้แก่ผักชนิดต่างๆ เช่นผักกาด กะหลํ่า หญ้า มะละกอ อาหารรองใช้ อาหารไก่เล็ก ผสมกับแกลบ อัตรา 1: 1 เมื่อจิ้งหรีดอายุ 40-50 วัน พร้อมที่จะนํามาบริโภคและจําหน่ายต่อไป
หรือสามารถศึกษาขั้นตอนการเลี้ยง “จิ้งหรีด” เลี้ยงง่ายรายได้ดี..
สรุปและข้อเสนอแนะ
การเลี้ยงกบโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ สามารถทําได้ในทุกระดับ ตั้งแต่การเลี้ยงในลักษณะเกษตรรายย่อย เลี้ยง เกษตรผสมผสาน ทําการเลี้ยงในลักษณะเกษตรทฤษฎีใหม่ และการเลี้ยงในลักษณะของผู้ประกอบการ โดยต้องคํานึงถึงหลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น
ขอบคุณที่มาบทความ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
เรียบเรียง: Sarakaset.com