เลี้ยงปลาหมอในบ่อปูน ดูแลจัดการง่าย ขายได้รายดี!!
เลี้ยงปลาหมอในบ่อปูน
สวัสดีครับ พี่น้องผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์ และ การทำเกษตรทุกท่าน สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงการ เลี้ยงปลาหมอในบ่อปูน หรือทางอีสานบ้านผมเรียกว่า “ปลาเข่ง” ซึ่งเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและทนทานแถบทุกสภาพน้ำ และที่สำคัญ ทานอร่อยพร้อมทั้งขานราคาดี
ปลาหมอ(Climbing perch) หรือ ปลาเข่ง ชื่อเรียกทางภาคอีสาน จุดเริ่มต้นที่ทำให้ปลาหมอตีตลาดขึ้นมา เกิดจาก ศูนย์วิจัยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร วิจัยและพัฒนา เรื่องของการเจริญเติบโต ทำให้เกิดเป็น ปลาหมอไทยสายพันธุ์ชุมพร 1 และทำให้คนรู้จัก กระแสความแรงของ การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย คนเลี้ยงยังน้อย ราคาดี ตลาดมีความต้องการสูง
การเตรียมบ่อ
สำหรับขั้นตอนในการเตรียมบ่อก่อนลงลูกปลา นั้นมีความสำคัญมาก ยิ่งเป็นบ่อวงท่อซีเมนต์ใหม่ยังไม่ผ่านการใช้งาน ่หลังจากทำบ่อเสร็จความต้องแช่ต้นกล้วยทิ้งไว้และใส่น้ำให้เต็มบ่อเพื่อลดความเป็นด่างจากปูนใหม่ชักประมาณ 1- 2 อาทิตย์ ก่อนที่จะใส่น้ำเพื่อืเลี้ยงปลาหมอ และ ใส่ผักเล็กน้อยก็ทิ้งไว้ 2-3 วันก็สามารถนำลูกปลาหมอ มาทปล่อยได้ ซึ่งในหนึ่งวงท่อซีเมนต์นั้นสามารถ ปล่อยลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงไม่ควรเกิน 50-60 ตัว/ตารางเมตร ขึส้นอยู่กับขนาดท่อ
การคัดเลือก พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ปลาหมอนา
1. ควรมีขนาดป้อมสั้น ยาวประมาณ 3 นิ้ว
2. ในการคัดแม่พันธุ์ปลาหมอนา ควรคัดตอนเช้า หลังการถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร
3. แม่พันธุ์ที่พร้อมจะมีลักษณะท้องบวมเป่ง แสดงว่ามีไข่ อวัยวะเพศมีสีแดงชมพูเรื่อ
พ่อพันธุ์
1. ควรมีลักษณะลำตัวยาว ว่ายน้ำปราดเปรียว มีขนาด 3 นิ้ว
2. ในการคัดพ่อพันธุ์ ควรคัดตอนเช้า หลังการถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร
3. พ่อพันธุ์ที่พร้อมการผสมพันธู์ บริเวณปลายหัวจะออกเป็นสีแดง เกล็ดนวลเงา ไม่เป็นแผล
ขั้นตอนการผสมพันธุ์
อาหารปลา
สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกปลา เริ่มแรกหลังจากปล่อยลูกปลาลงบ่อแล้วควรให้อาหารดีไลน์ โปรตีน 35 % ของบริษัทไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด ใช้เลี้ยง 1 เดือน แล้วเปลี่ยนมาให้อาหาร ปลาดุก โปรตีน 32 % อีก 1 เดือน เข้าเดือนที่ 3 เปลี่ยนมาให้อาหารปลาดุก โปรตีน 30 % ของบริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด โดยให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ในปริมาณที่ปลากินอิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้ปลากินกันเอง
การป้องกันและกำจัดโรค
โรคจุดขาว
อาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดที่กินเซลผิวหนังเป็นอาหาร
การป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่วิธีที่ดีที่สุดคือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ ใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง ปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมงและแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ
โรคจากเห็บระฆัง
อาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือก
สาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือก
การป้องกันและรักษา ปลาตายในระยะเวลาอันสั้นและมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง
โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด
อาการ ปลามีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ดถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุดบริเวณรอบๆและด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่
สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก
การป้องกันและรักษา
-
- ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ 48 ชั่วโมง
- ใช้ฟอร์มาลีน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้วถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง
ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาหมอ
สำหรับมือใหม่ ที่เลี้ยงไว้รับประทานในครอบครัวคงไม่มีปัญหาอะไรมากนัก แต่ถ้าเลี้ยงสำหรับขายนั้นมือใหม่จะต้องมองหาตลาดให้ได้แล้ว จึงค่อยลงมือปฏิบัติ หรือ ลงมือเลี้ยงครับ
ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ
ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอใช้วิธีการจับแบบปล่อยน้ำ แล้วเลือกจับตัวโตก่อน คัดขนาดจนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อย และ เริ่มต้นเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป
การจำหน่ายปลาหมอไทย
1. ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท
2. ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท
3. ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท
แหล่งข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม
- กรมประมง
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ www.opsmoac.go.th
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ