บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เลี้ยงแพะมือใหม่ ดูแลง่ายรายได้ดี ใช้พื้นที่น้อย

เลี้ยงแพะมือใหม่ ดูแลง่ายรายได้ดี ใช้พื้นที่น้อย

2 ตุลาคม 2019
4887   0

เลี้ยงแพะมือใหม่ ดูแลง่ายรายได้ดี ใช้พื้นที่น้อย

เลี้ยงแพะมือใหม่

เลี้ยงแพะมือใหม่


วันนี้จะมาพูดถึงการ เลี้ยงแพะมือใหม่ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน เพราะขั้นตอนการเลี้ยงไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่มากเหมือนกับสัตว์ประเภทอื่นๆ และที่สำคัญในเรื่องของราคาและการทำตลาดนั้นแพะสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น แพะสวยงาม หรือสามารถนำไปขายเป็นกิโลเพื่อประกอบอาหาร แถวยังผลิตลูกพันธุ์ดีให้กับผู้ที่สนใจที่จะซื้อและนำเลี้ยงต่อไป เพราะแพะสามารถให้ลูกได้ไวโดย 2 ปี อาจผลิตลูกได้เฉลี่ย 3-4 คอกและอาจจะออกลูกคอกละ 1-2 ตัว จึงได้ผลตอบแทนและคืนทุนให้กับผู้เลี้ยงได้ไว

                                                                        เลี้ยงแพะมือใหม่

สำหรับสายพันธุ์แพะที่นิยมเลี้ยงกัน นั้นแบ่งคร่าวๆได้เป็นแบบแพะนม และ แพะเนื้อซึ่งก็จะมีจุดเด่นและวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์

แพะพันธุ์บอร์ (Boer)

แพะพันธุ์บอร์
เป็นแพะพันธุ์เนื้อที่มีขนาดใหญ่ แรกเกิดประมาณ 4 กก. หย่านม 20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้ประมาณ 80-90 กก. ส่วนตัวเมียประมาณ 60-70 กก. ลักษณะเด่น คือ จะมีตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก มีสายพันธุ์มาจากประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งกรมปศุสัตว์ ได้นำเข้ามาเมื่อปลายปี 2539

แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen)

แพะพันธุ์ซาเนน

เป็นแพะพันธุ์นมที่มีขนาดใหญ่ โตเต็มที่ตัวผู้ประมาณ 70-75 กก. ส่วนตัวเมียประมาณ 60-65 กก. ลักษณะเด่น คือ จะมีสีสีขาวทั้งตัว ใบหูเล็กตั้ง หน้าตรง มีสายพันธุ์มาจากประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งกรมปศุสัตว์ ได้นำเข้ามาเมื่อปลายปี 2539

แพะพันธุ์พื้นเมือง

แพะพันธุ์พื้นเมือง

แพะพันธุ์พื้นเมืองภาคใต้  นั้นจะมีสีที่หลากหลาวยซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ และน้ำตาล ซึ่งแพะเพศเมียอายุหนึ่งปีจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 12.9 กก.

การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์การเลี้ยงแพะ

โรงเรือน  สำหรับคอกหรือโรงเรือนที่อยู่อาศัย ของแพะนั้น จะเป็นที่จะต้องมีหลังคากันแดดและฝน ฟื้นต้องทำการยกสูง เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษาทำความสะอาดได้ง่าย มีที่ใส่น้ำและอาหารตามความเหมาะสมให้ครบทุกตัว และมีพื้นที่กั้นระหว่างคอกเพื่อป้องกันตัวที่แข่งแรงแย่งกินอาหารจากแพะตัวที่อ่อนแอกว่า ซึ่งถ้าเป็นไปได้ควรทำการแบ่งกั้นคอกสำหรับแพะโต แพะเล็ก แม่ที่กำลังเลี้ยงลูก และแม่ที่กำลังคลอดจะดีมาก

เลี้ยงแพะมือใหม่

พื้นคอก  ควรทำเป็นไม้ระแนงในแพะโตมีความห่าง ประมาณ 1.5 ซม. ส่วนคอกแพะเล็กประมาณ 1.3 ซม. เพื่อให้สะดวกต่อการทำความสะอาดมูลและปัสสาวะลงดิน ซึ่งจะทำให้พื้นคอกแห้งตลอดเวลา และป้องการพยาธิไปในตัวที่อาจจะมากับมูลแพะ

การเตรียมเรื่องอาหารแพะ

สำหรับการจัดการด้านอาหารนั้นแพะเป็นสัตว์ที่ข้อนข้างกินง่าย แต่จะกินยังไงถึงจะโตและดีนั้น ก็ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาหารแพะ ในกรณีที่ขาดแคลนอาหารนั้น เราสามารถให้หญ้าอย่างเดียวก็ได้แต่แพะจะไม่ค่อยโตและอ้วนมากนัก เพราะกินยังไม่ครบและกินอาหารไม่ถูกวิธีเพราะปรติแล้วการให้อาหารแพะนั้น ควรจะให้ทั้ง หญ้า,รำ กากถั่ว, พื้นตระกูลถั่ว ,เกลือและก็น้ำ,และอีกอย่างหนึ่งที่แพะชอบกินมากคือ ต้นกระถิน นั้นเอง  ซึ่งอาหารเหล่านี้จะทำให้แพะอ้วน ตัวโตและแข็งแรง

การจัดการเลี้ยงดูแพะ

สำหรับการจัดการเลี้ยงดูแพะนั้นจะแบ่งระยะการเรื่องดูออกเป็นช่วงๆต่างความเหมาะสมของแต่ล่ะฟาร์ม ซึ่งพอจะแบ่งออกได้เป็นดังนี้

ช่วงวัยเจริญพันธุ์ หรือ ระยะการติดสัด

แพะเริ่มวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3-4 เดือน ซึ่งตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ขึ้นทับผสมพันธุ์ได้ เราสมควรแยกลูกตัวเมียออกเลี้ยงคนล่ะกรงกับแม่และจะให้แพะผสมพันธุ์เมื่ออายุ 8 เดือนข้านไปเพื่อแม่พันธุ์จะได้มีความสมบรูณ์เต็มที่

ลักษณะการเป็นสัดหรือติดตัวผู้ของแม่พันธุ์เราสามมารถสังเกตได้จาก

  • อวัยวะเพศบวมแดง ซุ่มชื้น และอุ่น
  • กระดิกหางบ่อยขึ้นผิดปรกติ
  • ไม่ค่อยอยู่สุขจะกระวนกระวาย และไม่กินอาหาร
  • ยืนเงียบเมื่ออยู่ไกล้กับตัวผู้




ช่วงของการผสมพันธุ์

เมื่อเราเห็นแม่พันธุ์เป็นสัดหรือติดสัดแล้ว  ระยะที่เหมาะสมที่จะนำตัวพ่อพันธุ์ขึ้นทับจะประมาณ 12-19 ชั่วโมง หลังจากเห็นอาการของแม่พันธุ์ ซึ่งพ่อพันธุ์หนุ่ม 1 ตัวต่อแม่ 10-15 ตัว

หมายเหตุ   ไม่ควรนำพ่อผสมกับลูกตัวเมีย เพราะจะทำให้ลูกที่เกิดตัวเล็กลง และอาจไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร และควรปรับเปลี่ยนหมุนเวียนพ่อพันธุ์ ทุก 12 เดือน “

ช่วงของการอุ้มท้อง(ระยะเวลาประมาณ 150 วัน)

ระยะเวลานี้ให้สังเกตดูแม่พันธุ์ว่าท้องหรือไม่ โดยการที่ ไม่แสดงอาหารเป็นสัดหรือติดสัตว์อีก หลังจากการนำพ่อพันธุ์มาผสมไปและแล้ว 15-21 วัน และท้องจะขยายเพิ่มตามลำดับ เต้านมและหัวนมจะขยายใหญ่ขึ้นจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด

ซึ่งระยะอุ้มท้องนี้ควรเพิ่มอาหารพวกหญ้า ถั่ว หรือเป็นพวกพืชตระกูลถั่งต่างๆ  และรำข้าว ข้าวโพด น้ำสะอาดให้กินเต็มที่ และดูแลเรื่องของคอกเลี้ยงให้สะอาด และแข็งแรง เพื่อป้องกันการแท้งลูก

ช่วงของการคลอดลูก

ช่วงนี้สำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่อาจจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูอาการและวิธีช่วยทำคลอดกรณีฉุกเฉิน   ลีกษณะอาการของแพะที่เริ่มใกล้จะคลอดลูกนั้นจะสังเกตจาก สะโพกแม่แพะจะเริ่มขยาย หลังจะแอ่นลง เต้านมขยายใหญ่ขึ้น และจะไม่นอน แต่ลุกขึ้นเอาเท้าตะกุยพื้นคอก และกินอาหารน้อยลง

การดูแลสุขภาพของแพะ   

สำหรับการดูแลสุขภาพแพะที่ไม่ดี หรือเจ็บป่วยนั้นต้องหมั่นเอาใจใส่เรื่องของสุขภาพ ดังนี้

  • กำจัดพยาธิภายนอก ซึ่งได้แก่ ไร เห็บและ เหา ซึ่งจะสร้างความรำคาญให้แก่แพะซึ่งทำให้แพะขนหลุดเป็นจุดๆ หรือทำให้แพะมีสุขภาพที่ไม่ดี
  • กำจัดพยาธิภายใน ซึ่งได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งควรถ่ายพยาธิแพะทุก 3 เดือน แต่ถ้าบริเวณที่เลี้ยงแพะมีพยาธิมากควรถ่ายพยาธิเดือนล่ะครั้งก็ทำได้

การป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นกับแพะ

โรคพยาธิ

ควรถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน โดยใช้ยาถ่ายพยาธิที่จำหน่ายทั่วไปทั้งแบบกรอก (กำจัดพยาธิภายนอก) และแบบฉีด (กำจัดพยาธิภายใน)

โรคแท้งติดต่อ

ในแพะมักเกิดจากเชื้อ Brucella melitensis คนก็สามารถติดโรคนี้ได้จากการบริโภคน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม เช่น ครีม เนย ที่ได้จากแพะที่เป็นโรคและไม่ได้ผ่านขบวนการฆ่าเชื้อโรคก่อน

อาการ แพะเกิดการแท้งลูกหรือคลอดลูกที่ไม่ค่อยจะแข็งแรงออกมาและมักจะมีน้ำเมือกไหลมาจากช่องคลอดนานเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เดินกะโผลกกะเผลก เต้านมอักเสบ น้ำหนักลด ขนแห้งและเป็นหมัน

การติดต่อ โดยการสืบพันธุ์การเลียอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวอื่น การกินอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนอยู่ เชื้อนี้จะมีในน้ำเมือกสัตว์ปัสสาวะ และซากลูกสัตว์ที่แท้งออกมา

โรคมงคล่อเทียม หรือโรคเมลิออยโดซีส

ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ในประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น สามารถติดคนและสัตว์ได้

อาการ ปวดหัวเบื่ออาหาร ปวดตามตัวและมีอาการทางระบบหายใจ รวมทั้งมีไข้ไอ บางครั้งมีเลือดปน เจ็บหน้าอก มีแผลหลุมในช่องจมูกมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด และ อาจตายได้หากไม่ได้รับการรักษา

การติดต่อ จากการสัมผัสเชื้อโดยตรง การหายใจ หรือการกินอาหารหรือน้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อ และสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดหรือของเหลวจากร่างกาย (ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำมูก น้ำนม) ของคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ

***ควรกำจัดทำลายหากตรวจพบตัวที่เป็นโรคในฟาร์ม*****

เรื่องของราคาจำหน่ายแพะ

สำหรับราคาจำหน่ายแพะจะแต่ต่างกันออกไปแล้วแต่ล่ะพื้นที่แต่โดยส่วนมากถ้าคิดราคาเป็ยแบบขายกิโลกรัม จะกิโลกรัมละ ประมาณ 70-85 บาท  แต่ถ้าขายเพื่อนำไปเลี้ยงหรือทำสายพันธุ์ก็จะราคาขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ขายและผู้ชื้อเป็นหลังครับ

แนวทางสร้างคอกแพะราคาประหยัด จากวัตถุดิบรอบตัว


Cr : บ่าวอีสาน เมืองน้ำดำ 




บทความอื่นๆที่น่าสนใจ