บทความเกษตร » ประโยชน์ของการใส่ปุ๋ยลงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

ประโยชน์ของการใส่ปุ๋ยลงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

4 มีนาคม 2023
906   0

ประโยชน์ของการใส่ปุ๋ยลงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

ประโยชน์ของการใส่ปุ๋ยลงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

ปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินและน้ำ มีการย่อยสลายตัวช้า สามารถเป็นอาหารปลาได้ แต่การใช้ต้องระมัดระวัง หมกใส่มากเกินไป จะทำให้น้ำเน่าเสีย

ปุ๋ยอนินทรีย์ ช่วยเพิ่มธาติอาหารให้แก่ดินและพืช สามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่มีราคาแพงกว่าปุ๋ยคอก





การใส่ปุ๋ยลงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อ

  • เพิ่มธาตุอาหารให้แก่แพลงก์ตอนพืช สำหรับใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นในบ่อมากขึ้น นอกจากนี้ปุ๋ยบางประเภทยังใช้เป็นอาหารปลาได้โดยตรงอีกด้วย
  • ช่วยปรับสภาพของน้ำ เช่น ความขุ่นใสความเป็นกรดของน้ำ เป็นต้น

ประเภทของปุ๋ยที่ใช้โดยทั่วไปมี 4 ประเภท ดังนี้

  • ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลสัตว์ต่างๆ เช่น มูลวัว ควาย หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น
  • ปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ส่วนของพืชผัก และวัชพืช ต่างๆที่มีเยื่อใยน้อยสามารถย่อยสลายได้ง่าย
  • ปุ๋ยหมัก ได้แก่ ปุ๋ยที่เกิดจากการหมักหมม ของเศษพืชผักผสมกับมูลสัตว์และแบคทีเรียตามกรรมวิธีของการทำปุ๋ยหมัก
  • ปุ๋ยเคมี ได้แก่ปุ๋ย วิทยาศาสตร์สูตรต่างๆ ที่มีขายในท้องตลาดโดยประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P) โปรแตสเซียม (K)

อัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

สำหรับปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยที่ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินและน้ำ มีการย่อยสลายตัวช้า บางส่วนสามารถเป็นอาหารปลาได้โดยตรงแต่การใช้ต้องระมัดระวัง หากใส่มากเกินไป จะทำให้น้ำเน่าเสียได้ สำหรับปุ๋ยเคมี(ปุ๋ยอนินทรีย์) เป็นปุ๋ยที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินและพืช สามารถนำไปใช้ได้ทันทีแต่มีราคาแพงกว่าปุ๋ยคอก ดังนั้นการเลือกใช้ปุ๋ยประเภทใดต้องพิจารณา ความเหมาะสมทั้งในเรื่องของราคาปุ๋ย และคุณภาพน้ำในบ่อ

อัตราการใช้ปุ๋ยประเภทต่างๆ

  • ปุ๋ยคอก ควรใช้ในอัตราไม่เกิน 200 – 250 กิโลกรัม/ไร่/เดือน
  • ปุ๋ยพืชสด ควรใช้ในอัตราไม่เกิน 1,200 – 1,500 กิโลกรัม /ไร่
  • ปุ๋ยหมัก ควรใช้ในอัตราไม่เกิน 600 – 700 กิโลกรัม /ไร่
  • สำหรับปุ๋ยเคมีมีปฏิกิริยาค่อนข้างเร็วอัตราการใช้ไม่ควรเกิน 3-5 กิโลกรัม/ไร่/เดือน และควรใส่หลังจากได้ใส่ปูนขาวแล้ว

ข้อสังเกตในการใส่ปุ๋ย

เนื่องจากสภาพพื้นที่แตกต่างกัน อัตราการใช้ปุ๋ยจะต้องแตกต่างกันไป โดยสังเกตจากสีน้ำในบ่อ เช่น

  • น้ำมีสีน้ำตาลเข้ม แสดงว่าใส่ปุ๋ยคอกมากเกิน ไปจนเกิดการเน่าสลายอย่ารุนแรง ควรเติมน้ำลงไป
  • น้ำมีสีเขียวมากเกินไป เมื่อใช้เมื่อจุ่มลงในน้ำประมาณถึงข้อศอกถ้ามองไม่เห็นฝ่ามือแสดงว่าน้ำเข้มเกินไป ควรเจือจางโดยการเติมน้ำ แต่ถ้ามองเห็นฝ่ามือในระดับดังกล่าวแสดงว่าน้ำเขียวพอดีหรือปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสม
  • หากปรากฏว่าในตอนเช้ามืดมีปลาลอยหัวขึ้นมา แสดงว่าน้ำมีปริมาณออกซิเจนไม่พอ ซึ่งเกิดจากการที่แพลงก์ตอนพืชมากเกินไป ดังนั้นจะต้องลดหรือเจือจางน้ำ หรือใช้เครื่องให้อากาศ เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ

ประโยชน์ของการใส่ปุ๋ยลงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

ที่มา : สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง




บทความอื่นๆที่น่าสนใจ