ความรัก ความสุข กับวิถีเกษตรสร้างสุข สร้างชีวิต โดยอาจารย์สุริยา ขันแก้ว
ความรัก ความสุข กับวิถีเกษตรสร้างสุข สร้างชีวิต
เบื้องหลังจากงานราชการ สู่เอกชน ก่อนกลับบ้านเกิด
สุริยา ขันแก้ว หรือ อู๋ เป็นคนจังหวัดแพร่ หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้ากรุงเทพฯ ไปเรียนต่อที่โรงเรียนช่างฝีมือทหารจบแล้วได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการทหารจนได้ยศจ่าสิบตรี และต่อมาเลื่อนยศเป็นจ่าสิบโท จากนั้นลาออกไปทางานบริษัท มีหน้าที่ทาระบบเบรกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ได้รับโอกาสจาก
บริษัทไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น 3 ปี กลับมารับ ตำแหน่งหัวหน้าวิศวกรทำหน้าที่เขียนโปรแกรมควบคุมระบบเบรกในรถยนต์ หรือระบบ ABS ช่วงปี 2560 บ ริษัทเปลี่ยนฐานการผลิตกลับไปประเทศญี่ปุ่น หัวหน้าวิศวกรจะต้องตามไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ณ เวลานั้น คิดหาทางออก ห่วงลูก ห่วงครอบครัว หรือจะไปทำงานที่ญี่ปุ่น เงินเดือนเกือบแสนบาทหรือจะเปลี่ยนงานใหม่ หรือจะกลับบ้านเกิดที่จังหวัดแพร่ แล้วจะไปทำมาหากินอะไร
“จึงพลิกวิกฤต ให้เป็นโอกาส”
ตัดสินใจกลับบ้านเกิดกลับไปตั้งหลักที่ จังหวัดแพร่ คิดวางแผนชีวิตตนเองและครอบครัว โดยเฉพาะลูกที่ต้องย้ายโรงเรียนจากกรุงเทพฯ จะต้องส่งเสียให้ ร่าเรียนให้สูงที่สุดตามกำลังสติปัญญา ต้องลงทุนทำอะไรสักอย่างเงินลงทุนก็พอมีเหลือจากเงินก้อนสุดท้ายที่บริษัทให้ และเงินบำนาญจากราชการ แต่ก็ต้องเก็บออมไว้ เป็นภูมิคุ้มกันให้ลูกได้เรียน แต่รายจ่ายในการ ดำรงชีวิต ต้องมีรายรับที่เพียงพอ คิดวางแผนทำ อาชีพใหม่ คำตอบ สุดท้าย คือ การเกษตร คิดต่อไปอีกว่า แล้วจะต้องดำเนินการอะไร อย่างไร 1…2…3…4…เงินลงทุน ที่ดิน อีกทั้งความรู้ ทางการเกษตรจึงเดินทางไปที่มูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดปทุมธานี เข้าไปเรียนรู้เรื่องหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ไปดูแปลงเกษตรสาธิต เป็นเกษตรผสมผสาน เนื้อที่ 1 งาน ทำเกษตรก็เป็นคลังอาหารได้ เหลือก็ขายมี รายรับ จึงจุดประกายความคิดขึ้นมาทันทีการ
เริ่มต้นทำการเกษตร 2 เรื่องหลัก คือ ดิน กับ น้ำ
- ดิน ควรตรวจวิเคราะห์สภาพดินก่อน แล้วปรับสภาพดินตามผลการตรวจนั้น ๆ และ เลี้ยงไส้เดือนนำมูลไส้เดือนมาเป็นปุ๋ยช่วยปรับ สภาพดินและเพิ่มธาตุอาหารในดิน
- น้ำ ควรหาวิธีนำน้ำมาใช้ในแปลงเกษตร ให้ได้ตลอดทั้งปี เช่น ขุดสระ เพื่อที่จะมีน้ำไว้ใช้ใน การทำเกษตร และเลี้ยงปลา
แนวคิดสู่การทำแผนงาน
ออกแบบวางผังทำแปลงเกษตร ที่บ้านเกิดจังหวัดแพร่ ไปปรึกษากับญาติพี่น้องก็ไม่ ค่อยจะมีใครเห็นด้วย ได้รับคำกล่าวว่า ” ปู่ ย่า ตา ยาย ก็ทำเกษตรมา ไม่เห็นมีใครร่ำรวยมีเงินมีทองมันเหนื่อยนะ “ แต่ขณะนั้น แม่ยายปลูกผัก ท่านบอกว่าปลูกผักขายได้ปีละหลายหมื่นบาท ก็ยังมี รายรับพอเลี้ยงชีพได้อย่างสบาย ได้ข้อคิดจากแม่ ยาย และถือเป็นต้นแบบคำแนะนำให้แก่ตน จึง มุ่งมั่น ออกแบบแบ่งพื้นที่ ซึ่งมีอยู่ 1 ไร่ และซื้อ เพิ่มมาอีก 1 ไร่ รวมเป็น 2 ไร่ จัดผังวางแผนการปลูก ปลูกอะไรให้มีผลผลิตเป็นรายรับรายวัน รายสัปดาห์ และรายปีพื้นที่ตรงไหนจะปลูกผัก ทำนาข้าว ขุดสระน้ำและบ่อปลา กันพื้นที่ส่วนหนึ่ง ไว้สำหรับทำโรงเรือนเลี้ยงไส้เดือน ศาลาพักผ่อนไว้ ชมวิวทิวทัศน์ คือจะต้องใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด การจัดการดิน ที่เป็นพื้นที่นาก็ต้องปรับปรุง โดยจะใช้มูลไส้เดือนตามที่ได้อบรมมาเพื่อลด ต้นทุนการผลิต การวางระบบน้ำโดยใช้ระบบสปริงเกอร์ให้น้ำทั้งแปลง โดยจะสูบน้ำจากสระน้ำที่จะ ขุดขึ้นมาใช้
พืชผักที่จะนำมาปลูก คำนวณปริมาณ และชนิดที่ต้องกินและขายได้ดีในแต่ละช่วง ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกาด ผักคะน้า ผักสลัด ผักชี คือปลูกทุก อย่างที่กินได้ เหลือก็ขาย
ปลา คำนวณปริมาณและประเภทของ ปลาที่จะนำมาเลี้ยงในบ่อน้ำและในนาข้าว
การตลาด วางแผนไว้ว่าเหลือจากกินใน ครอบครัว จะขายที่ตลาดในชุมชนก่อน แล้วค่อย ขยายไปตลาดนอกชุมชน เพราะในชุมชนมี ร้านอาหาร ที่ต้องการวัตถุดิบประเภทผักเป็น จำนวนมาก
คำนวณต้นทุนการผลิต รายรับ-รายจ่าย = เงินออม
- รายรับหลัก จะมาจากการขายผลิตผลทาง การเกษตร รายรับจากการจัดการสถานที่ ค่า วิทยากร ขายมูลไส้เดือน เมล็ดพันธุ์ผัก ปลา
- รายจ่าย ค่าบริหารจัดการแปลงเกษตรที่ต้อง เลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่นำเงินทุนเดิมออกมาใช้ เหลือ ก็เป็นรายจ่ายประจำวันของครอบครัว และเป็น เงินออมทรัพย์
ทั้งนี้ ได้คำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ด้วยแล้ว โดยทำแผนสำรองไว้ หากแผนหลักไม่ประสบผล สำเร็จ จากนั้น ลงมือทำทันที
จากแผนงาน สู่การปฏิบัติท้าจริง
เมื่อวางแผนที่จะทำแปลงเกษตรเสร็จแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติ อันดับแรกถมที่นาให้เป็นแปลง ปลูกผักและแปลงสาธิต ขุดบ่อเลี้ยงปลา และนำน้ำ มาใช้ในแปลงเกษตร พร้อมจัดซื้อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้มาด าเนินการแบบค่อยเป็น ค่อยไปทำทีละเรื่องเริ่มปรับสภาพดิน เพราะพื้นที่ เดิมเป็นนาข้าวที่ไม่ใช่พื้นที่ราบ ซึ่งเป็นลักษณะทาง ภูมิประเทศโดยทั่วไปของภาคเหนือตอนบน จึงต้องปรับสภาพก่อนเพื่อให้ดินมีความอุดม สมบูรณ์ มีอินทรียวัตถุ ธาตุอาหารน้ำ อากาศ ที่เพียงพอและเหมาะสมที่จะทำให้พืชผักเจริญเติบโต โดยใช้มูลไส้เดือนเป็นพระเอก ตามด้วยปุ๋ยหมัก ในการเสริมธาตุอาหารและให้ เกิดจุลินทรีย์ในดิน โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ จากนั้น วางระบบน้ำด้วย ท่อ PVC เป็นระยะๆ ติดตั้ง หัวสปริงเกอร์ปลูกผักก่อนเป็นอันดับแรก เป็นผัก ตามฤดูกาล
- ฤดูฝน ช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ปลูกผักปลัง ต้นหอม ผักบุ้ง กะเพรา ตะไคร้ข่า
- ฤดูหนาว ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงปลูกผักได้ดีที่สุด ปลูกผักกาด ผักชี ผัก สลัด ต้นหอม คะน้า กะเพรา ตะไคร้ข่า ผักบุ้ง
- ฤดูร้อน ช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ปลูกผักบุ้งจีน ผักกาดพื้นเมือ
เป็นการปลูกผักแบบหมุนเวียนบนพื้นที่ เดียวกัน ซึ่งป้องกันโรคและแมลงได้เหตุผลที่เลือก ปลูกผักชนิดดังกล่าว เพราะตลาดในชุมชนต้องการ และเป็นรายรับรายวัน
ขุดสระน้ำ นำน้ำมาใช้ในแปลงเกษตรและ เลี้ยงปลาดุก ปลานิล สระน้ำนี้เป็นตัวช่วยทำให้ดิน ชุ่มชื้นได้มาก รอบสระน้ำปลูกกล้วย ต้นแค ผักหวานป่า มะม่วง มะพร้าว มะยงชิด ส้มโอ ทุเรียน เป็นรายรับรายสัปดาห์และรายปี2
เพาะเลี้ยงไส้เดือน เพื่อใช้มูลขาย ฝึกอบรม
สร้างโรงเรือนเพาะเลี้ยงไส้เดือน ขยาย จำนวนจากที่ได้มาจากการอบรม จากจำนวน 2 กะละมังพลาสติก ได้เป็น 30 กะละมังพลาสติก แบ่งปันให้เพื่อนเกษตรกรนำไปเลี้ยงสร้างอาชีพ รายรับจากการขายตัวไส้เดือนกับชุดอุปกรณ์ ชุดละ 270 บาท ขายมูลไส้เดือน บรรจุถุง ถุงละ 1 กิโลกรัม ราคา 30 บาท น้ำมูลไส้เดือน ขวด 500 ซีซี ขวดละ 20 บาท
การเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง
วัสดุ /อุปกรณ์
- กะลังมังสีดำ
- มูลวัวแห้ง เก็บเศษฟางหรือวัสดุที่ปนมากับมูล วัวออก ให้เหลือแค่มูลวัวจริงๆ
- ไส้เดือนดินพันธุ์แอฟริกัน 300 กรัม
- กาบมะพร้าวสับ หรือใบไม้แห้ง
วิธีและขั้นตอนในการเลี้ยง
- นำกะละมังไปเจาะรูโดยใช้สว่าน 2 หุน เจาะให้ ทั่วกะละมัง เพื่อให้น้ำไหลผ่านออกได้สะดวก
- นำมูลวัวมาทำการรดน้ำ ให้เปียก เพื่อล้างความร้อน ของมูลวัวและแก๊สออกให้หมด รดน้ำ ประมาณ 1-2 อาทิตย์
- นำกาบมะพร้าวสับมาผสมกับมูลวัว ในอัตราส่วน 30 : 70 โดยกาบมะพร้าวสับควรแช่ น้ำก่อนเพื่อล้างยางของม ะพร้าวออ กไป กาบมะพร้าวจะช่วยเพิ่มความเย็นให้กับมูลวัวเมื่อผสมเข้ากันแล้วนำไปใส่ในกะละมัง ประมาณ 1/2 กะละมัง
- นำไส้เดือน 300 กรัม ใส่ลงไปในกะละมัง แล้วนำไปไว้ในโรงเรือนที่เย็น โดยทำเป็นชั้นเหล็ก หรือชั้นท่อพีวีซีก็ได้ ไส้เดือนชอบความชื้นและเย็น รดน้ำให้ความชื้นกับไส้เดือน 3-4 วันต่อครั้ง ประมาณ 1-2 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนเต็ม กะละมัง สามารถนำไปใส่พืชผักผลไม้หรือจำหน่ายได้
- ขั้นตอนการเติมอาหารไส้เดือน ต้องทำการ หมักมูลวัวโดยนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนนำไปใช้ การเติมมูลวัวให้สังเกตปริมาณมูลวัว หากเหลือประมาณ 1/3 ของกะละมัง ก็เติมลงไป หรือถ้ามีเศษผัก เศษผลไม้ (รสหวาน) ที่เหลือจาก การบริโภคในครัวเรือนก็สามารถนำมาเติมได
เกษตรผสมผสาน คือทางออกความยั่งยืนในชีวิต
เกษตรผสมผสาน ที่ทำอยู่เป็นการทำ การเกษตรภายใต้การเกื้อกูลกันตามธรรมชาติที่ก่อ เกิดประโยชน์แก่กันและกัน การอยู่ร่วมกันระหว่าง พืชกับสัตว์และสิ่งแวดล้อม เป้าหมายจากระบบคิด มีความชัดเจนที่จะนำพาครอบครัวให้มีชีวิตที่มั่นคง ได้ สร้างคลังอาหารให้แก่ครอบครัวและชุมชน โดยมีขีดความสามารถที่จะพัฒนาไปสู่เกษตร ธรรมชาติเชิงการค้าด้วยรูปแบบของกลุ่มหรือ สหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชน
กิจกรรมในแปลงเกษตร เป็นโมเดลที่น้าไปใช้ได้
ได้สร้างรูปแบบหรือโมเดลแปลงเกษตร ตามที่เกษตรกรทั่วไปมักจะปลูกข้าวเป็นพืช เชิงเดี่ยว แต่วางโมเดลทำเป็นแบบผสมผสานและ สรุปผลความแตกต่างของรายรับ แนวคิดเดิม ใช้พื้นที่ 2 งาน (200 ตารางวา) โดยปลูกข้าว อย่างเดียวมีรายรับ 4,000 บาท ทำอย่างไร จึงจะใช้พื้นที่เท่ากัน แต่มีรายรับมากกว่า 4,000 บาท และเพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เกษตรกรอื่นๆ เห็นว่า “แค่เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน” จากที่ เคยปลูกข้าวได้เงิน 4,000 บาท เปลี่ยนวิธีคิดนิด เดียว มีรายรับ 8,550 บาท โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ได้ทำการทดลองปลูกพืชแต่ละแปลงดังนี้
- แปลงที่ 1 เป็นแปลงปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว โดยใช้ข้าวเจ้าสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในเนื้อที่ 50 ตารางวา โดยทำนาแบบดั้งเดิม คือใช้คนปลูก และไม่ใช้สารเคมีใดๆ จะได้ข้าวเปลือก 100 กิโลกรัม ราคาขาย กิโลกรัมละ 10 บาท ได้เงิน 1,000 บาท
- แปลงที่ 2 ปลูกข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 เนื้อที่ 50 ตารางวา เหมือนแปลงที่ 1 แต่เลี้ยงปลาดุก ในนำข้าว 100 ตัว จะมีรายรับ จากการขาย ข้าวเปลือกและขายปลาดุก 2,050 บาท ผลดี สืบเนื่องก็คือ ต้นข้าวไม่มีแมลงรบกวน และปลาก็เติบโตดี โดยไม่ต้องลงทุนซื้ออาหารปลา ขายข้าว 1,000 บาท ขายปลาดุก 1,050 บาท รวมรับ 2,050 บาท
- แปลงที่ 3 ปลูกผักบุ้งจีน เนื้อที่ 50 ตารางวา ขาย ได้เงิน 4,000 บาท
- แปลงที่ 4 ปลูกเผือกหอม เนื้อที่ 50 ตารางวา ขาย ได้เงิน 1,500 บาท จะเห็นว่าแปลงที่ 2 มีรายรับมากที่สุด 8,550 บาท ขณะที่ปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว ในเนื้อที่ 200 ตารางวา จะมีรายรับเพียง 4,000 บาท ทั้งหมดใช้เวลา 1 ฤดูกาลของข้าวคือ 4 เดือน
แบ่งปันช่วยเหลือชุมชนเป็นวิทยากร
เมื่อประสบผลส าเร็จจากการทำเกษตรผสมผสาน และได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์สรุปบทเรียน แง่คิดมุมมองต่างๆ มาแบ่งปันให้แก่ คนในชุมชนและเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่เกษตรกร เยาวชนบุคลากรของหน่วยงาน ราชการแล ะเอกชนในห นึ่งปีมีหลาย กลุ่ม และหลายหน่วยงาน โดยมีรายได้จากค่าวิทยากร ขายผลผลิต ผักสด เมล็ดพันธุ์ คุ้มค่ากับรายจ่าย ที่เกิดขึ้นจากการจัดการ
การตลาด
ปลูกผักขายยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในชุมชน ผลิตไม่ทัน จึงต้อง ขยายไปยังกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะ ผักบุ้งจีน เป็นที่ต้องการมาก เพราะที่บ้านแม่ลาน และเขตอำเภอลอง มีร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านขนมจีน น้ำย้อยที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ในอำเภอ ลองหลายร้าน แต่ละวันมีคนมากินและซื้อกลับ บ้านกันเป็นจำนวนมาก “ วาดฝันไว้ว่าจะส่งผลผลิต ทางการเกษตรไปยังคนบ้านเดียวกัน แต่ไปทำงาน ต่างถิ่นให้ได้กินพืชผักจากบ้านแม่ลานเหนือ เพื่อเป็นการสื่อสารบอกให้รู้ว่านี่คือผลผลิตจากถิ่น บ้านเกิดของเขา ผู้ผลิตก็เคยใช้ชีวิตต่างถิ่นเช่นกัน แต่วันนี้เขากลับบ้านเกิดแล้ว เขายังทำเกษตรได้ ”
ครอบครัวมีสุข
เมื่อเราวางแผนชีวิตและครอบครัวดี ตั้งแต่ต้น ส่งผลให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกันแบบ พร้อมหน้าพร้อมตา มีกิจกรรมต่างๆ ให้ครอบครัว ทำงานร่วมกันเป็นครอบครัวอบอุ่นมีสุข ที่หาซื้อ ไม่ได้ในสังคมปัจจุบัน
ที่มา : สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ริมถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงพยาบาลการุญเวช นวนคร จังหวัดปทุมธานี 12120 www. wisdomking.or.th โทร: 0-2529-2212 or 0-2529-2213, โดยอาจารย์สุริยา ขันแก้ว
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ