แนวทาง!! ปลูกฟักทองให้ติดผลดกทั้งสวน ด้วยนมผงเด็ก 2 ช้อน
ปลูกฟักทองให้ติดผลดกทั้งสวน
อันดับแรก ขั้นตอนของการเตรียมดิน สำหรับปลูกฟักทอง
ขั้นตอนการเตรียมดินสำหรับปลูกฟักทองนั้นก็จะมีวิธีการคล้ายๆ กับการปลูกแตงโม หรือ พืชชนิดอื่น ๆ คือ ไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะพักทองนั้นเป็นพืช ที่มีระบบรากลึกพอสมควร และควรตากดินไว้ 5-7 วัน ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุยเป็นธรรมชาติ และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุยเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด เพื่อให้ง่ายต่อการกและเป็นการคุมหญ้าไปในตัววด้วย
ขั้นตอนต่อมา เป็นการปลูกฟักทอง
การปลูกฟักทอง ด้วยวิธีหยอดหลุมปลูก
สำหรับการปลูกฟังทอง ด้วยวิธีการหยอดหลุมนั้น เราสามารถ หยอด 3-5 เมล็ด ต่อหลุม และลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วทำการกลบหลุมด้วยดิน ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ก็สามารถนำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่หน้าดิน และเมล็ดพันธุ์จะงอกเป็นต้นกล้า ตั้งตัวได้เร็ว ซึ่งการหยอดหลุมปลูกในแปลงจริง จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง และโตเร็วกว่า
การย้ายกล้าจากถุงมาปลูก หากหลุมใดไม่งอก แม้จะนำมาปลูกซ่อม ก็จะเจริญไม่ทัน แต่หากว่างไว้ จะกินเนื้อที่ว่างมาก ควรปลูกซ่อม แต่จะเก็บผลได้ช้ามาก
ขั้นตอนในการดูแลรักษาและใส่ปุ๋ยหลังการปลูกฟักทอง
เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกก็จะมีใบจริงประมาณ 2-3 ใบ ควรถอนคัดแยกต้นกล้า ฟักทอง ที่ไม่สมบูรณ์ออกไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และ รดน้ำทุกวัน วันและ 1- 2 ครั้ง
และเมื่อต้นกล้าเจริญจนไม่มีใบจริง 4 ใบ ช่วงนี้ ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหรือปุ๋ยผัก (21-0-0) ละลายน้ำ แล้วใช้รดต้นฟักทอง ต้องรดน้ำทุกวัน
เมื่อฟักทองเริ่มออก ดอก ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 (หรือสูตรใกล้เคียงกัน เช่น 13-13-27 หรือ 14-14-21) โรยรอบๆ ต้นแล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ย อีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน พันธุ์ฟักทองที่เป็นพันธุ์หนักให้ผลโต อายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ดังนั้นการใส่ปุ๋ย ให้ฟักทองพันธุ์หนักควรใส่มากกว่าพันธุ์เบา
“สำหรับการรดน้ำนั้นต้องรดน้ำทุกวัน จนกว่าจะเก็บเกี่ยว ซึ่งก่อน 15 วัน ที่จะเก็บผลผลิตลูกแก่ ควรเลิกรดน้ำก่อนเก็บ”
โรคและแมลงศัตรูที่ทำความเสียหายแก่ฟักทอง
ปัญหาของการเกิดโรคในฟักทองเป็นสิ่งที่ไม่สร้างความลำบากใจให้เกษตรกรมากนัก หากมีการจัดการระบบการปลูกที่ดี โรคต่างๆ ก็ไม่สามารถทำความเสียหายได้ เช่น การเตรียมดิน การปลูกที่ดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรครากเน่า-โคนเน่าได้ โดยการใช้โดโลไมท์โรยในแปลงระหว่างการเตรียมแปลง ใช้ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุยเพื่อให้รากทำงานได้ดีขึ้น การไม่ปลูกพืชตระกูลแตงซ้ำที่กันบ่อยๆ หรือปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อปรับสภาพดินสลับการปลูกฟักทองหรือพืชตระกูลแตง การเกิดโรคทางใบ ได้แก่ โรคราน้ำค้าง ที่มักระบาดในช่วงฤดูฝน หรือการให้น้ำแบบพ่นฝอย วิธีแก้ไขโดยการตัดต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ให้น้ำแบบพ่นฝอย ใช้สารป้องกันโรคพืช เช่น แอนทราโคล ปริมาณ 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร, โรคราแป้ง มักระบาดรุนแรง เมื่อสภาพอากาศเย็น ใบพืชแห้งในเวลากลางคืน นอกจากนี้ ปัญหาแมลงศัตรูฟักทองนั้นมีไม่มากนัก เพราะใบและก้านที่มีขนช่วยในการป้องกันภัยจากแมลงได้ดี
เทคนิคที่ทำให้ ฟักทองลูกดก กันบ้างครับ
- นมผงเด็ก 2 ช้อน
- นํ้าสะอาด 20 ลิตร
เทคนิคการช่วยผสมเกสรดอกฟักทอง
ขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวฟักทอง
ฟักทองเป็นพืช ผักที่แมลงไม่ค่อยชอบทำลายเมื่อผลแก่เก็บเกี่ยวไว้เลยโดยสังเกตสีเปลือก สีจะกลมกลืนเป็นสีเดียวกัน ไม่แตกต่างกันมากนักดูนวลขึ้นเต็มทั้งผล คือมีนวลขึ้นตั้งแต่ขั้วไปจนตลอดก้นผล แสดงว่าแก่จัดการเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วยสักพอประมาณเพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้นสามารถเก็บผลไว้รอขาย หรือบริโภคได้นานๆ โดยไม่ต้องใส่ตู้เย็น
การให้ผลผลิต
จะทยอยเก็บผลได้ 5-6 ครั้ง เก็บได้เรื่อยๆ ถ้าปลูกเดือนกุมภาพันธ์จะเก็บผลได้ในเดือนมิถุนายน (พันธุ์หนัก) ทยอยเก็บไปได้เรื่อยๆ จนเดือนกรกฎาคม ต้นหนึ่งถึง 5-7 ผล 1 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 1-1.5 ตัน ถ้าดูแลรักษาใส่ปุ๋ย ดีจะให้ถึง 2 ตัน ถ้าพันธุ์เบา ปลูกได้ 50-60 วัน ก็เก็บผลได้
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
- ประโยชน์ “จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว” เยอะกว่าที่คิด
- 9 พืชผักระยะสั้น ปลูกก็ง่าย ทานก็อร่อย ประหยัดค่าใช้จ่าย