วิธีปลูกถั่วพุ่ม ไว้รับประทานเองปลอดภัยไร้สารพิษเก็บผลผลิตได้
วิธีปลูกถั่วพุ่ม
ถั่วพุ่ม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการปลูกพืชหมุนเวียน ใช้ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน ถั่วพุ่ม จะให้ธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพืชหลักที่ปลูกสลับกับถั่วพุ่ม ส่วนฝักสดและเมล็ดให้ธาตุอาหารสูงเป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับคน เมล็ดถั่วพุ่มมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย วิตามิน คาร์โบไฮเดรท และโปรตีน ซึ่งฝักสดนั้นสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเมนู ต๋ำถั่วนี้อร่อยมาก เลยครับ
ถั่วฝักยาวไร้ค้าง คือถั่วฝักยาวชนิดหนึ่งที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ จนกระทั่ง ไม่จําเป็นต้องการ ใช้ค้างในการปลูก จุดประสงค์ที่สําคัญ ก็คือลดค่าใช้จ่าย ในส่วนของการทําค้างให้ถั่วฝักยาว และความสะดวก ในการปลูกถั่วชนิดนี้ ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี มีธาตุอาหาร
การเตรียมดินปลูกถั่วพุ่ม
เหมือนกับการปลูกพืชผักทั่วๆ ไปไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก คือมีการไถตากดินทิ้งไว้เพื่อให้วัชพืชตาย แล้วจึงไถพรวนให้ร่วนซุย กรณีปลูกหลายไร่ ก่อนการเตรียมดินครั้งสุดท้ายควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 20 กก./ไร่ โดยหว่านก่อนการไถพรวน แต่ถ้าปลูกในปริมาณไม่มากไว้รับประทานในครัวเรือน ก็สามารถปลูกได้ง่ายๆโดนนำมูลสัตว์เช่น มูลวัว มูลหมู หรือขี้ไก่ก็ได้ มาผสมกับดินและหมักที่ไว้ชัก1-2 อาทิตย์ก็สามารถนำมาใช้งานได้แล้วครับ
วิธีการปลูกถั่วพุ่ม
- หยอดเมล็ดลงไปตามหลุมที่เตรียมไว้หลุมละ 2-3 เมล็ด จำนวน ต้นต่อหลุม
- ใช้ดินกลบเมล็ดบางๆ แล้วรดน้ำพอชุ่ม
การดูแลถั่วพุ่ม หลังการปลูก
การให้น้ำ
- ควรให้น้ำทุกวัน ใน 30 วันแรก หลังการเพาะปลูก หลังจากนั้น ให้น้ำทุก 2 ถึง 3 วัน ต่อ 1 ครั้ง แล้วแต่ความชื้นในดิน
- ในฤดูร้อน ต้องให้น้ำมาก เพื่อผลผลิตที่ดี ถ้าขาดน้ำระยะติดดอกจะไม่สร้างฝัก ต้องให้น้ำสม่ำเสมอเป็นประจำในช่วงติดดอก เพราะถั่วพุ่มจำเป็นต้องอาศัยความชื้นในดินให้เพียงพอในระยะติดดอกเพื่อสร้างฝัก
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ถั่วพุ่มเป็นพืชที่มีอายุ 90 ถึง 100 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 ถึง 3 ครั้ง ต่อฤดู เมื่อฝักเริ่มโตจัด ขณะที่เป็นสีเขียวอ่อน ถ้าถั่วแก่เกินไป จะมีสีเขียวเข้มและสร้างเมล็ดในฝัก ควรเก็บเกี่ยวถั่วขณะที่มีเมล็ดอ่อน จึงได้คุณภาพดี
การกำจัดวัชพืช
- ควรกำจัดวัชพืชพร้อมกับการใส่ปุ๋ย หรือเมื่อพบเห็นการเกิดวัชพืช ควรรีบกำจัดในทันที
การป้องกันและกำจัด โรคและแมลงศัตรูถั่วพุ่ม
โรคถั่วพุ่ม
โรคใบจุดและใบไหม้
เกิดจากเชื้อรา มักระบาดในช่วงฤดูฝน
การป้องกันและกำจัด
- โดยใช้ โลนาโคล หรือ แอนทราโคล หรือ ไดเทนเอ็ม45 ฉีดพ่น ตามอัตราส่วนที่แนะนำในฉลากกำกับ
โรคเหี่ยว
พบในช่วงฤดูฝน สังเกตจากอาการรากและโคนเน่า
การป้องกันและกำจัด
- ใช้เทอร์ราคลอร์ หรือบราสซิคอล กำจัดตามอัตราส่วนในฉลากกำกับ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ