บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การเลี้ยงนกกระทา หน่ายไข่ ดูแลง่ายรายได้ดี

การเลี้ยงนกกระทา หน่ายไข่ ดูแลง่ายรายได้ดี

1 กุมภาพันธ์ 2021
3249   0

การเลี้ยงนกกระทา จำหน่ายไข่ ดูแลง่ายรายได้ดี

การเลี้ยงนกกระทา จำหน่ายไข่ ดูแลง่ายรายได้ดี

การเลี้ยงนกกระทา หน่ายไข่ ดูแลง่ายรายได้ดี…  นกกระทา (Quail) มีเลี้ยงอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย อเมริกา และยุโรป แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า ประเทศใดเริ่มเลี้ยงนกกระทาเป็นแห่งแรก แต่สำหรับในแถบเอเชียแล้ว ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่นำนกกระทามาเลี้ยง ซึ่งในระยะแรกของการเลี้ยงก็เพื่อไว้ฟังเสียงร้องเหมือนการเลี้ยงนกเขาในบ้านเรา ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยุ่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิด แต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่น จึงได้มีการนำนกกระทาจากญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมาายเท่ากับการเลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตาม แต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้ดี เพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ และใช้เงินลงทุนน้อย

ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของนกกระทา

  1. ประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างสูง เพราะนกกระทาสามารถให้ไข่ได้ 7-8% ของน้ำหนักตัว อัตราการให้ไข่เฉลี่ย 70%
  2. ให้ผลตอบแทนเร็ว เพราะนกกระทาเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 42-45 วัน ระยะเวลาในการให้ผลผลิตไข่นานประมาณ 11 เดือน
  3. ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย พื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงนกกระทาได้กว่า 500 ตัว จึงใช้เงินในการลงทุนไม่มากนัก
  4. วิธีการเลี้ยงดูง่าย โตเร็ว สามารถทำการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้
  5. เนื้อนกกระทาสามารถนำปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และเนื้อมีคุณภาพดี
       ต้องมีโรงเรือนและการเลี้ยงนกที่เหมาะสมและปลอดภัยจากศัตรูรบกวน มีแรงงานสำหรับการเลี้ยง อย่างเพียงพอ และต้องอยู่ใกล้กับแหล่งรับซื้อทั้งไข่นกและนกเนื้อ หรือมีตลาดรับซื้อผลผลิตที่ชัดเจน

สายพันธุ์นกกระทา

พันธุ์นกกระทาที่นิยมเลี้ยงคือ นกกระทาญี่ปุ่นซึ่งจะมีลักษณะสีเปลือกไข่เป็นลายประ และควรเลือกซื้อจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ ไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน

โรงเรือนและอุปกรณ์ในการเลี้ยงนกกระทา

โรงเรือนมีลักษณะเช่นเดียวกับโรงเรือนเลี้ยงไก่ ต้องง่ายต่อการจัดการและทำความสะอาด อากาศฃถ่ายเทได้ดี และปลอดภัยจากศัตรูรบกวน ภายในโรงเรือนประกอบด้วยกรงเลี้ยงนกสำหรับนกขนาดอายุ1-20 วัน กรงเลี้ยงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร และสูง 0.5 เมตร จะสามารถเลี้ยงนกได้ 250-300 ตัว ระยะนี้ควรมีอุปกรณ์ให้น้ำสำหรับลูกนก ควรแคบและตื้น ป้องกันไม่ให้ลูกนกเปียกน้ำ ภาชนะให้อาหารควร เป็นถาดแบน ขอบสูงไม่เกิน 1 เซนติเมตร สำหรับการเลี้ยงนกใหญ่ กรงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร
และสูง 0.5 เมตร จะสามารถเลี้ยงได้ 50-75 ตัว

กรงเลี้ยงนกกระทาขนาดใหญ่ 

เลี้ยงนกกระทา
กรงนกใหญ่อาจจะเป็นกรงขังเดี่ยว หรือกรงขังรวมฝูงใหญ่ก็ได้ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ กรงขังเดี่ยวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทราบสถิติข้อมูลนกกระทาเป็นรายตัวว่าให้ผลผลิตมากน้อยเท่าใดหรือใช้แยกเลี้ยงนกกระทาที่แสดงอาการเจ็บป่วย ซึ่งกรงขังเดี่ยวอาจจะลักษณะเช่นเดียวกับกรงตับไข่ไก่ ซึ่งมีทั้งชนิดกรงตับชั้นเดียว หรือหลายๆ ชั้นก็ได้ แต่ไม่ควรซ้อนกันมากเกินไป เพราะจำทกให้การทำงานลำบาก คือ ให้พื้นลาดเอียงเพื่อจะทำให้ไข่กลิ้งออกมาได้ รางอาหารและน้ำอยู่ด้านหน้า และหลังกรง ด้านข้างเป็นตาข่ายขนาด 1×2 นิ้ว เพื่อให้หัวนกลอดออกมากินอาหารได้ ขนาดอาจจะกว้างประมาณ 5 นิ้ว ลึก 6 นิ้ว และสูง 5 นิ้ว พื้นลาดเอียง 15 องศา นอกจากจะเป็นกรงขังเดี่ยวแล้ว ผู้เลี้ยงอาจจะทำเป็นกรงตับเลี้ยงรวม 2 หรือ 3 ตัว หรือ 4 ตัวก็ได้

สำหรับกรงรวมฝูงใหญ่ จะมีข้อดีตรงที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอุปกรณ์และสะดวกในการเลี้ยง แต่ก็มีข้อเสีย หากการจัดการไม่ดี นกจะได้รับอาหารไม่ทั่วถึง หรือถ้าเลี้ยงแน่นเกินไปจะทำให้นกเครียด ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและการให้ผลผลิตไข่ นอกจากนี้ยังยากที่จะทราบว่านกตัวใดไข่ ตัวไหนไม่ไข่ กรงรวมฝูงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.50 เมตร ใช้เลี้ยงนกได้ประมาณ 50-75 ตัว ส่วนความสูงของกรงนั้นควรให้สูงพอดับความสูงของนกที่จะยืนยืดตัวได้อย่างสบาย ถ้าสูงมากเกินไปนกมักจะบิน หรือกระโดดซึ่งจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้นกได้รับบาดเจ็บอาจใช้มุ้งไนลอนตีปิดแทนไม้ หรือตาข่ายก็ได้ นอกจากนี้ยังมีผู้แนะนำขนาดต่างๆ ของกรงเลี้ยงรวมไว้ดังนี้

 อุปกรณ์อื่นๆสำหรับเลี้ยงนกกระทา 

  1. สวิงจับนก เพื่อไม่ให้นกช้ำ เมื่อจะจับนกด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม เช่น ตัดปาก หรือทำวัคซีน หรือจำหน่าย เป็นต้น ควรใช้สวิงตักจะทำให้นกไม่ช้ำ สวิงทำด้วยเชือกไนล่อนถักเป็นตาข่าย เย็บติดกับลวดกลมที่แข็งแรงพอสมควร ดัดเป็นห่วงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และทำด้ามไม้ขนาดยาวพอที่จะล้วงเข้าไปจับนกในกรงได้
  2. ที่เกี่ยวไข่นก นกกระทาที่เลี้ยงรวมในกรงรวมฝูงใหญ่ ถึงแม้ว่าพื้นกรงจะมีความลาดเอียง เพื่อให้ไข่ไหลออกมาได้ก็ตาม แต่ในบางครั้งไข่ก็ไม่กลิ้งไหลออกมานอกกรง จึงต้องใช้ที่เกี่ยวไข่ออกมา ที่เกี่ยวไข่นี้ทำง่ายๆ โดยใช้ไม้ไผ่ความยาวพอควร เหลาปลายด้านหนึ่งให้บางๆ แล้วโค้งเป็นห่วง ขนาดกว้าง 1 นิ้วครึ่ง – 2 นิ้ว ผูกติดกับปลายไม้ไว้
  3. เครื่องตัดปากนก ลูกนกเมื่ออายุ 30 วัน ก่อนที่จะแยกไปเลี้ยงในกรงนกใหญ่คสรจะตัดปากเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้นกจิกกัน การตัดปากนกอาจใช้หัวแร้งไฟฟ้า หรือหัวแร้งธรรมดาเผาไฟจี้ที่ปากนก หรือาจจะใช้มีดเผาไฟพอร้อนแล้วจี้ที่ปากนก หรือจะใช้ที่ตัดเล็กบตัดปากนกก็ได้
  4. เครื่องชั่ง สำหรับชั่งอาหาร น้ำหนักไข่ น้ำหนักนกกระทา เป็นต้น
“การเลี้ยงนกกระทา หน่ายไข่ ดูแลง่ายรายได้ดี”

การจัดการเลี้ยงดูนกกระทา

การเลี้ยงนกกระทา หน่ายไข่ ดูแลง่ายรายได้ดี

การเลี้ยงนกกระทาในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 15 วัน ควรมีการกกให้ความอบอุ่น หากอากาศหนาวควรถึง 3 สัปดาห์ การเลี้ยงต้องมีน้ำและอาหารให้กินตลอดเวลา อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดหรือใช้หัวอาหารผสมกับวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นหรือใช้วัตถุดิบหลายๆ ชนิดมาผสมกันโดยอาหารที่ให้ต้องมีโภชนะตามที่นกแต่ละระยะต้องการ ควรคัดแยกนกเพศผู้เพศเมียนำมาเลี้ยงแยกกันในแตล่ ะกรงเมือ่ นกมอี ายไุ ด้ 1 เดอื น นกเพศเมยี อายปุ ระมาณ 42-45 วนั จะเริม่ ใหไ้ ข่ และนกกระทาจะให้ไข่ นานประมาณ 11 เดือน ให้ไข่ประมาณ 250-300 ฟองต่อปีต่อตัว ส่วนนกเพศผู้หรือนกเพศเมียที่มีลักษณะไม่ดี
สามารถนำไปเลี้ยงขุนเป็นนกกระทาเนื้อได้

การควบคุมและป้องกันโรคระบาด

จะใช้วิธีการจัดการด้านสุขาภิบาลโรงเรือนที่ดีเป็นหลักและระมัดระวังในช่วงที่นกมี ความเครียดหรืออากาศเปลี่ยนแปลงมีการทำวัคซีนตามกำหนดเวลาโดยเคร่งครัด

ต้นทุนและผลตอบแทน

สำหรับการเลี้ยงนกกระทา จำนวน 2,000 ตัวต่อรุ่น

ด้านต้นทุน

จะเกิด จากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่าโรงเรือน และ ค่าอุปกรณ์ ค่าอาหาร และค่าพันนกกระทา รวมทั้งค่าวัคซีน เวชภัณฑ์ ต่างๆ โดยจะมีต้นทุน ประมาณ 160,000-170,000 บาท ต้นทุนจะลดลงในรุ่นต่อๆ ไป เนื่องจากไม่ต้องลงทุน ค่าโรงเรือนและอุปกรณ์

ด้านผลตอบแทน

จะได้จากการจำหน่ายนกกระทาเพศผู้ จำหน่ายไข่ จำหน่ายนกกระทาปลดระวาง และมูลนก กระทา โดยรวมประมาณ 170,000-175,000 บาท ทั้งนี้ ต้นทุนและผลตอบแทนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพราคาปัจจัยการผลิต และราคา รับซื้อของตลาดในแต่ละพื้นที่และแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งขนาดการผลิต ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกเลี้ยง เกษตรกรต้องศึกษาข้อมูลและรายละเอียดให้ชัดเจนเสียก่อน

แหล่งข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร

ขอบคุณแหล่งที่มา : กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน , สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทรศัพท์  :  0-2629-8972
Email : [email protected]www.opsmoac.go.th


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ