บทความเกษตร/เทคโนโลยี » ความรู้เรื่องปุ๋ย หัวใจสำคัญของการปลูกพืชและผัก

ความรู้เรื่องปุ๋ย หัวใจสำคัญของการปลูกพืชและผัก

28 กุมภาพันธ์ 2022
1646   0

ความรู้เรื่องปุ๋ย หัวใจสำคัญของการปลูกพืชและผัก

ความรู้เรื่องปุ๋ย หัวใจสำคัญของการปลูกพืชและผัก

ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อย หรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จาเป็นให้แก่พืช โดยทั่วไปปุ๋ย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท




  • ปุ๋ยอนินทรีย์ (ปุ๋ยเคมี)
  • ปุ๋ยอินทรีย์

–  ปุ๋ยคอก
–  ปุ๋ยชีวภาพ
–  ปุ๋ยหมัก
–  ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
–  ปุ๋ยพืชสด
–  ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
–  ปุ๋ยพืชสด

  • ปุ๋ยเคมี คือ สารประกอบอนินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารพืช เป็นสารประกอบที่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นที่เหมาะสม ปุ๋ยเคมีจะละลายให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว มีอยู่ 2 ประเภท คือ-  ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหาร ปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุแล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหาร ปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโปรแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K(,2) O อยู่ร่วมกันสองธาตุ

  –  ปุ๋ยผสม ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนาเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทาปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่าเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่าเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นานๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่ง

  • ปุ๋ยอินทรีย์ คือ สารประกอบที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทาให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้าและถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชจึงชอนไชไปหาธาตุอาหารได้ง่ายขึ้นปุ๋ยอินทรีย์ มีปริมาณธาตุอาหารอยู่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี และธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจาพวกโปรตีน เมื่อใส่ลงไปในดินพืชจะไม่สามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน แล้วปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นออกมาในรูปสารประกอบอินทรีย์ เช่นเดียวกันกับปุ๋ยเคมี จากนั้นพืชจึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้

ปุ๋ยอินทรีย์ มี 5 ประเภท คือ 1. ปุ๋ยหมัก 2. ปุ๋ยคอก 3. ปุ๋ยพืชสด 4. ปุ๋ยชีวภาพ 5. ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

–  กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยทำให้ธาตุอาหารพืชในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น เช่น ไมคอร์ไรซาที่ช่วยให้ฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดินละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้

ไมคอไรซา (Mycorrhiza) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อรากับรากพืชซึ่งมีความเฉพาะเจาจงกับรากพืชจะมีความสัมพันธ์ทั้งด้านโครงสร้างและการทางาน

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูงถึงระดับที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งที่เป็นโรคพืช โรคสัตว์ และโรคมนุษย์ รวมทั้งจุลินทรีย์ทั่วๆ ไปด้วย จากนั้นนาจุลินทรีย์ที่มีสมบัติเป็นปุ๋ยชีวภาพที่เลี้ยงไว้ในสภาพปลดปล่อยเชื้อมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว และทาการหมักต่อไปจนกระทั่งจุลินทรีย์ที่ใส่ลงไปในปุ๋ยหมักมีปริมาณคงที่ จุลินทรีย์เหล่านี้นอกจากจะช่วยตรึงไนโตรเจนให้แก่พืชแล้ว ยังช่วยผลิตสารฮอร์โมนพืชเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากพืช และจุลินทรีย์บางชนิดยังสามารถควบคุมโรคพืชในดินและกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย




หลักการใช้ปุ๋ย

  1. เลือกใช้ปุ๋ยคอกที่มีคุณภาพดี โดยพิจารณาจากชนิดของมูลสัตว์ อาหารที่สัตว์กิน อายุของสัตว์และวิธีการเก็บรักษา เช่น มูลไก่จะมีธาตุอาหารพืชมากกว่ามูลสุกร สัตว์ที่กินต้นถั่วและอาหารสาเร็จรูปจะมีธาตุอาหารพืชมากกว่าสัตว์ที่กินฟางข้าวกับหญ้าแห้ง และสัตว์ที่มีอายุมากจะให้มูลที่มีธาตุอาหารพืชมากกว่าสัตว์อายุน้อย ส่วนวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยคอกนั้นต้องไม่ตากแดดตากฝน และต้องเติมปุ๋ยซูปเปอร์ฟอสเฟตลงในกองปุ๋ยคอกด้วย เพื่อลดการสูญเสียธาตุไนโตรเจนในรูปของก๊าซแอมโมเนีย
  2. เลือกใช้ปุ๋ยหมักที่สลายตัวสมบูรณ์แล้ว ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักเอง หรือปุ๋ยหมักที่มีจาหน่าย ถ้าเป็นชนิดผง ต้องเป็นผงค่อนข้างละเอียด มีกลิ่นหอมคล้ายดิน ส่วนปุ๋ยหมักชนิดอัดเม็ดและชนิดน้าต้องพิจารณาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
  3. การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสด ควรใช้ในการเตรียมดินปลูกพืชหรือผสมดินปลูก ยกเว้นปุ๋ยหมักอัดเม็ดและปุ๋ยหมักน้า สามารถนาไปใช้ได้ดีเมื่อพืชเจริญเติบโตแล้ว ส่วนปุ๋ยคอกที่นามาใช้นั้น ควรตากแดดให้แห้งสนิทและเป็นปุ๋ยคอกเก่า เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ของวัชพืชที่สัตว์กินเข้าไป
  4. ต้องคานึงถึงต้นทุนในการใช้ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนิดต้องคานึงถึงต้นทุนจากราคาปุ๋ย และค่าจ้างแรงงานที่ต้องใช้หลักการใช้ปุ๋ยเคมี เนื่องจากปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยที่มีราคาแพง และมีความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารพืชสูง จึงควรจะพิจารณาโดยรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกใช้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าและเกิดปัญหากับต้นพืช โดยคานึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

 –  ชนิดของพืชที่นามาปลูก ต้องพิจารณาว่าเป็นชนิดใด เช่น พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับหรือพืชไร่-นา เพื่อจะได้เลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม
 –  ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน จะต้องตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของดิน ว่ามีปริมาณธาตุอาหารพืชชนิดใด มากหรือน้อย เพื่อประกอบ การพิจารณาเลือกใช้ปุ๋ยเคมี โดยส่งตัวอย่างดินไปตรวจสอบที่กรมพัฒนาที่ดิน หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบด้วยตนเอง
–  ลักษณะของปุ๋ย คือ รูปร่างและลักษณะของปุ๋ยที่แตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยน้า ปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยผงและปุ๋ยอัดเม็ด ซึ่งจะมีผลต่อการใช้ กล่าวคือ ถ้าต้องการให้ปุ๋ยทางรากนิยมใช้ปุ๋ยอัดเม็ด ถ้าต้องการให้ปุ๋ยทางใบจะใช้ปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยน้าผสมน้าฉีดพ่นทางใบ เป็นต้น
–  ราคาของปุ๋ยและราคาของผลผลิต ต้องพิจารณาว่าราคาของปุ๋ยจะคุ้มค่ากับราคาผลผลิตที่จาหน่ายได้หรือไม่
–  การทดสอบปุ๋ย ก่อนซื้อปุ๋ยทุกครั้งหากซื้อในปริมาณมาก ควรซื้อเป็นตัวอย่างมาทดสอบก่อนทุกครั้งโดยใช้ชุดทดสอบปุ๋ยป้องกันปุ๋ยปลอม
–  ศึกษาอัตราส่วนของปุ๋ยที่ใช้สาหรับพืชที่ปลูก โดยทั่วไปที่ข้างถุงปุ๋ยจะมีคาแนะนาปริมาณการใช้ปุ๋ย และวิธีใช้สาหรับพืชชนิดต่างๆ
–  พิจารณาฉลากข้อความข้างกระสอบปุ๋ย ปุ๋ยเคมีที่ได้มาตรฐานจะต้องมีข้อความต่อไปนี้ คาว่า “ปุ๋ยเคมี” , ระบุสูตรหรือเกรดปุ๋ย,มีหลักฐานขึ้นทะเบียนเคมีภัณฑ์ จากกรมวิชาการเกษตร, มีเครื่องหมายการค้า, ระบุน้าหนักที่บรรจุ (ขนาดมาตรฐาน ๕๐ กิโลกรัม) ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตและผู้แทนจาหน่าย, คาแนะนาและปริมาณการใช้ปุ๋ย

ที่มา : นางสาวรัชฎาภรณ์ เทพอินทร์

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตาบลยางหล่อ อาเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลาภู 39180 โทร. 042-003255 โทรสาร. 042-003253



 บทความอื่นๆที่น่าสนใจ