บทความเกษตร/เทคโนโลยี » หัวเชื้อจุลินทรีย์ 8 พลัง โดย ร.ต.อ.สามารถ นารถสูงเนิน

หัวเชื้อจุลินทรีย์ 8 พลัง โดย ร.ต.อ.สามารถ นารถสูงเนิน

2 กุมภาพันธ์ 2022
5277   0

หัวเชื้อจุลินทรีย์ 8 พลัง โดย ร.ต.อ.สามารถ นารถสูงเนิน

หัวเชื้อจุลินทรีย์ 8 พลัง

หัวเชื้อจุลินทรีย์ 8 พลัง 





ความรู้เรื่องปุ๋ยชีวภาพการทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ 8 พลัง หรือ 8 เซียน โดย ร.ต.อ.สามารถ นารถสูงเนิน ปราชญ์ชาวบ้านจากตาบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผู้คิดค้นจุลินทรีย์ก้อนบำบัดน้ำเสียใต้น้ำและได้มีการจดทะเบียนอนุสิทธิบัติกับกรมทรัพย์สินทำงปัญญาเรียบร้อยแล้ว การทำการศึกษามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ได้องค์ความรู้ที่เป็นผลสาเร็จ และได้ทำการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกรอย่างกว้างขวาง ในเรื่องการใช้ทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตร โดยทำจุลินทรีย์ก้อน จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย และการทำการเกษตร ซึ่งได้มีโอกาสมาเผยแพร่องค์ความรู้ในห้องวิชาของแผ่นดินมาแล้วหลายครั้ง และได้รับความสนใจจากผู้เข้าเรียนรู้จำนวนมาก

จุลินทรีย์ คือ จุล+อินทรีย์ สิ่งมีชีวิตเล็กที่สามารถขยายเพิ่มจำนวน ต้องการอากาศและอาหาร จุลินทรีย์ 8 พลัง 8 เซียน ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสาคัญดังนี้

พลังที่ 1 หัวเชื้อจุลินทรีย์ SMS

เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้มข้นมากและมีความสำคัญในการนำเอาไปเป็นส่วนผสมหลักในการทำฮอร์โมน ทำน้ำหมักเพื่อบารุงดิน ฮอร์โมนเร่งราก ดอก ผล ทำน้ำหมักเพื่อการกำจัดวัชพืชหรือแมลงศัตรูพืช หรือน้ำสกัดชีวภาพอื่นๆ ต่อไปได้

หัวเชื้อจุลินทรีย์ 8 พลัง

วิธีการทำ  หาภาชนะสะอาด 1 ใบเช่นขวดน้ำกินขนาด 1.5 ลิตรและวัสดุ 4 อย่างดังนี้

  1. น้ำมะพร้าวน้ำหอมดีที่สุด ซึ่งจะมีน้ำตาล ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และไซโตไคนิน ฯลฯ เพื่อเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ และมีจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงอยู่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ชอบแสงแดด ทนความร้อนได้ถึง 500 องศาเซลเซียส ช่วยย่อยสลายให้ดินร่วนและทำให้ปุ๋ยที่ตกค้างในดินละลายออกมา ใช้น้ำมะพร้าว 4 ลูก
  2. นมเปรี้ยว เช่นยาคูลท์ ฯลฯ ซึ่งจะมีจุลินทรีย์ Lactobacillus sp ทำหน้าที่กินเชื้อโรค Streptococcus sp ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค และ Leuconostoc sp ทำให้ปุ๋ยมีกลิ่นหอม ใช้ 2 ขวด
  3. น้ำจากข้าวหมากจะมียีสต์อยู่ใช้ 1 ช้อนแกง
  4. ซีอิ้วดำหรือซีอิ้วหวานเพื่อพรางแสงให้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไม่ให้โดนแสงแดดใช้ 0.5-1 ช้อนแกง

วิธีการทำ ผสม 4 อย่างเทใส่ขวดแล้วเติมน้ำให้เหลือช่องว่างไว้หนึ่งฝ่ามือ ปิดฝาคนทิ้งไว้ในร่ม ครบ 7 วันจะหอมมาก รสเปรี้ยวหวานหอมกลมกล่อม

พลังที่ 2 กากน้้าตาล หรือโมลาส




เป็นอาหารของจุลินทรีย์ เพราะว่าจุลินทรีย์ตัองการความหวาน ซึ่งหากไม่มีกากน้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลทรายแดง ซีอิ๊วดำ หรือ อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ที่มีความหวานแทนได้ ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผสมในน้ำหมักชีวภาพต่างๆ

การนำไปใช้ต้องมีการตรวจสอบเบื้องต้นว่า กากน้ำตาล ต้องไม่เกิดราสีขาว หรือฝ้าสีขาวๆที่ผิวหน้า ดมกลิ่นจะได้กลิ่นเหมือนน้ำอ้อย และใช้มือแตะๆ แล้วชิมได้รสหวานออกขมนิด ๆ ถ้าหากตรวจสอบแล้วพบว่าคุณภาพของกากน้ำตาลเป็นอย่างที่กำหนดสามารถนำไปใช้หมักทำปุ๋ยต่อได้

พลังที่ 3 สารกำจัดแมลงศัตรูพืชชีวภาพ

เป็นการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการธรรมชาติที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดีต่อสุขภาพ การทำสารกำจัดศัตรูพืชเช่นนี้ทำให้ได้สาร ABA (Abscisic Acid) ซึ่งเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชที่เกิดจากเอทิลแอลกอฮอล์ (สุราขาว) และน้ำส้มสายชูที่เราใส่ลงไป เมื่อหมัก 24 ชั่วโมง จะเป็นสารกำจัดศัตรูพืชจาพวกแมลง นอน อื่น ๆ แต่ เมื่อทิ้งไว้เกิน 3 เดือน สามารถนำไปกำจัดกลิ่นเหม็น และใช้เป็นยาฆ่าหญ้าไดั

วัตถุดิบ/องค์ประกอบ

  1. ถังหมัก จำนวน 1 ใบ
  2. กากน้ำตาล จำนวน 200 ซีซี
  3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ SMS จำนวน 200 ซีซี (จุลินทรีย์ที่หมักไว้แล้ว 7 วัน เซียนที่ 1)
  4. เหล้าขาว 40 ดีกรี จำนวน 400 ซีซี
  5. น้ำส้มสายชูกลั่น 5% จำนวน 200 ซีซี
  6. สมุนไพร ข่า ตะไคร้หอม ใบมะกรูด กระชาย สับหรือป่นให้ละเอียดห่อด้วยผ้าขาวบ้าง จำนวน 1 ห่อ (100-300 กรัม)

วิธีการทำ

  1. ผสมวัสดุทุกอย่างลงในถังหมักพลาสติก คนละลายให้เข้ากัน (ไม่ต้องผสมน้ำ)
  2. นำสมุนไพรทั้งหมดใส่ตามลงไป แช่ไว้ในลักษณะคล้ายการดองยา
  3. ปิดฝาภาชนะถังหมักให้สนิท หมักไว้ในที่ร่ม ในอุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 24 ชั่วโมงระหว่างนั้นห้ามเปิดโดยเด็ดขาดจึงจะนำไปใช้ได้

การนำมาใช้

  1. ใช้สารกำจัดแมลงศัตรูพืชชีวภาพ ปริมาณ 50 ซีซี หรือประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าหากใช้ฉีดผักไม่ต้องใช้สารจับใบ หากใช้ฉีดไม้ผลให้ใช้สารจับใบ โดยให้ใช้นมรสจืดหรือนมมารดำหลังคลอดบุตร โดยใช้ปริมาณหรือสัดส่วนที่เท่ากัน (น้ำหมักกำจัดแมลงศัตรูพืชชีวภาพ 1: ส่วน และนมจืด 1 ส่วน (ห้ามใช้สบู่หรือผงซักฟอกเพราะว่าทั้ง 2 ชนิดนี้มีโซดำไฟ)
  2. กำจัดกลิ่นเหม็น เมื่อหมักเกิน 3 เดือน สามารถนำไปกำจัดกลิ่นเหม็น ในคอกหมู คอห่านโถส้วม ร่องระบายน้ำได้ โดยไม่ต้องผสมน้ำ
  3. ฆ่าหญ้า เมื่อจุลินทรีย์ในพลังที่ 3 มีอายุเกิน 3 เดือนจุลินทรีย์บางชนิดบางกลุ่มจะตาย น้ำหัวเชื้อจะมีสีเข้มกว่าเดิมเมื่อดมดูจะไม่มีกลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน สภาพน้ำหมักจะเป็นกรดจัด เมื่อนำไปผสมน้ำอัตราเข้มข้นไปรดพืชล้มลุก หรือรดหญ้า หญ้าจะเหลืองตาย หรือรากพืชจะเน่าดูดน้ำดูดอาหารไม่ได้ ก็จะค่อยๆเหลืองแห้งตายไปในที่สุด ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการกำจัดวัชพืชพอสมควร

พลังที่ 4 ฮอร์โมนผลไม้ เร่งราก เร่งดอก เร่งผล

เป็นฮอร์โมนช่วยเร่งราก เร่งดอก เร่งผล ผลดก ขั้วยาว ขั้วเหนียว ผิวเกลี้ยงไม่เป็นขี้กลากเน้นการใช้ผลไม้สีเหลือง 3 อย่าง ได้แก่ กล้วยน้ำว้าสุก ๆ เป็นผลไม้ที่มีมีวิตามิน ไขมัน เกลือแร่ มะละกอสุกทั้งลูกใช้เมล็ดด้วยเพราเมล็ดมีคุณสมบัติคล้ายน้ำมะพร้าว และสัปปะรดสุกๆ ใช้ทั้งลูก ส่วนของแกนสับปะรดจะมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่มาก

วัตถุดิบ/องค์ประกอบ

  1. กล้วยน้ำว้าสุกๆ มีวิตามิน ไขมัน เกลือแร่ หั่นทั้งเปลือกและเนื้อ หั่น 4 ท่อนต่อลูก จำนวน 1 หวี
  2. มะละกอสุก จำนวน 1 ลูก หั่นทั้งเปลือกและเนื้อ ใส่เมล็ดด้วย
  3. สับปะรดสุก หั่นทั้งเปลือกและเนื้อไม่เอาจุก จำนวน 1 ผล
  4. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำก่อนใส่ก็ได้ อย่าใช้น้ำประปาเพราะมีคลอรีน น้ำบาดาลเพราะอาจมีสารปนเปื้อน น้ำฝนพอใช้ได้ น้ำสระ น้ำบ่อใช้ได้ใส่ลงไปให้เหลือช่องว่างหนึ่งฝ่ามือเพื่อให้มีอากาศในการหมัก
  5. หัวเชื้อจุลินทรีย์ SMS (เซียนที่ 1) ปริมาณเท่ากับกากน้ำตาล ปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ

  1. ส่วนผสม เอาผลไม้ 3 อย่าง คือ กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก และสัปปะรดสุก ใส่ประมาณครึ่งถังน้ำหมักนำกากน้ำตาลปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำก่อนใส่ก็ได้ อย่าใช้น้ำประปาเพราะมีคลอรีน ไม่ใช้น้ำบาดาลเพราะอาจมีสารปนเปื้อน น้ำฝนพอใช้ได้ น้ำสระ น้ำบ่อใช้ได้ใส่ลงไปให้เหลือช่องว่างหนึ่งฝ่ามือเพื่อให้มีอากาศในการหมักเติมน้ำหมักเซียนที่ 1 จำนวน 4 ช้อน แล้วคนให้เข้ากัน
  2. ปิดฝาถังหมัก โดยอาจใช้ผ้ายางหรือผ้าพลาสติกปิดฝากันลมเข้าออก แล้วเก็บไว้ในที่ร่ม
  3. เอากระดำษขาวมาเขียนติดไว้ที่ภาชนะที่ใช้หมักเพื่อเตือนใจตนเองและบุคคลในบ้านถึงข้อห้าม 3 ประการคือ 1) ห้ามเปิดจนกว่าจะครบ 7 วัน 2) ห้ามเปิดแม้แต่วินาทีเดียว 3)เปิดเมื่อไรเน่าเมื่อนั้น เหม็นเมื่อนั้น มีหนอนขึ้นเมื่อนั้น
  4. เมื่อครบ 7 วันส่วนผสมทั้ง 5 ชนิดจะย่อยสลายโดยสมบูรณ์ออกเป็นเนื้อเดียวกันเกิดเป็นฮอร์โมนชีวภาพด้วยฤทธิ์ของหัวเชื้อจุลินทรีย์ SMS หรือ เซียนที่ 1 โดยจะเกิดฝ้าขาวเป็นเม็ดๆ และจะมีไขมันเกาะด้านในภาชนะที่ใช้หมัก ให้ขูดไขมันเก็บไว้ใส่กระปุกปิดฝาไม่ต้องเข้าตู้เย็น
  5. คนแล้วกรองเอาแต่น้ำใส่ขวดนำไปใช้เป็นฮอร์โมนชีวภาพ

วิธีการใช้

  1. ใช้เพื่อการเร่งราก เร่งดอก เร่งผล ให้ใช้ในอัตราส่วน น้ำหมัก 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นผัก ผลไม้ ตอนเย็น และต้องใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน
  2. กากที่เหลือใช้ผสมดินเป็นปุ๋ยใช้สาหรับการปลูกพืชผักต่อได้
  3. ใช้เพื่อการกำจัดกลิ่นเหม็น ถ้าหากน้ำหมักครบ 3 เดือนแล้วใช้ไม่หมด ให้นำไปเทใส่คอห่านโถส้วม ร่องน้ำ คอกหมูเพื่อกำจัดกลิ่นได้

พลังที่ 5 : สารสกัดพืชหมัก ป้องกันโรคพืช กำจัดแมลง

เป็นการหมักเพื่อนำไปใช้ในการป้องกันโรคพืชและเป็นสารจากัดแมลง รวมทั้งป้องกันโคนเน่า ใบหงิก ใบงอ และใบเป็นจุดเหลือง

วัตถุดิบ/องค์ประกอบ

  1. ยอดพืชยอด/สุมนไพรสับละเอียด จำนวน 2 กิโลกรัม (ต้องเก็บก่อนแดดออก เช่น ตาลึง ขจร ผักบุ้ง ซึ่งเป็นพืชโตเร็ว หรือ หูเสือ สาบเสือ ซึ่งเป็นพืชกลิ่นฉุน)
  2. กากน้ำตาล จำนวน 200 ซีซี
  3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ พลังที่ 1 จำนวน 200 ซีซี
  4. เกลือป่น/น้ำทะเล จำนวน 20 ซีซี
  5. น้ำสะอาด จำนวน 8 ลิตร
  6. ถังหมัก/แกลลอนพลาสติก 1 ใบ

วิธีการทำ

  1. วัสดุที่เป็นยอดพืชและสมุนไพร ทั้งหมดใส่ถังหมักหรือแกลลอนพลาสติก
  2. นำกากน้ำตาล หัวเชื้อจุลินทรีย์ (พลังที่ 1) เกลือหรือน้ำทะเล และน้ำผสมกันในภาชนะแล้วเทตามลงไปในถังหมัก จากนั้นให้ใช้ไม้คนวัสดุหมักในถังให้เข้ากัน
  3. ปิดฝาถังหมักให้สนิทหมักทิ้งไว้ 7 วัน ครบ 7 วันกรองสารสกัดในถังใส่ขวด ใสแกลลอนเก็บไว้

การนำไปใช้

  1. น้ำหมัก 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นพืชผักต่างๆ ได้
  2. กากพืชที่เหลือผสมกับดินร่วน 1:1 เป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ได้ หรือเป็นดินพร้อมปลูกต่อไป

พลังที่ 6 : น้้าหมักขยะหอม




เป็นน้ำหมักที่ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการกำจัดขยะในครัวเรือน โดยการนำเศษอาหาร เศษข้าว แกง ผัก เปลือกผัก เปลือกผลไม้ ที่ยังไม่บูดเน่ามาหมัก

วัตดุดิบ/องค์ประกอบ

  1. เศษอาหาร เศษข้าว แกง ผัก เปลือกผัก เปลือกผลไม้ ที่ยังไม่บูดเน่าหรือเหม็น จำนวน 1 กิโลกรัม
  2. กากน้ำตาล จำนวน 20 ซีซี
  3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ (พลังที่ 1) จำนวน 20 ซีซี
  4. ถังหมัก ถุงพลาสติก จำนวน 1 ใบ

วิธีการทำ

  1. นำวัสดุเศษอาหาร ผัก ผลไม้ และอื่น ๆ ผสมคลุกเคล้ากับวัสดุกากน้ำตาลและหัวเชื้อจุลินทรีย์ (พลังที่ 1)
  2. เมื่อคลุกส่วนผสมต่างเข้ากันแล้ว ให้นำบรรจุลงถังหมัก และปิดฝา ถ้าไม่มีถังให้บรรจุใส่ถุงดำและมัดปากถุงให้สนิท
  3. หมักทิ้งไว้ให้ครบ 7 วัน จะได้น้ำหมักที่มีกลิ่นอมเปรี้ยวคล้ายผักดอง
  4. กรองเอาแต่น้ำปุ๋ยหมักบรรจุไว้ในขวดหรือแกลลอนเก็บไว้สามารถเก็บไว้ใช้ได้ 3 เดือน

การนำไปใช้

การนำไปใช้ในการทำนำให้ฉีดพ่นแปลงข้าวได้ 2 ครั้งจนถึงเก็บเกี่ยว เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

พลังที่ 7 น้ำซาวข้าวหมักชีวภาพ

เป็นน้ำหมักที่สามารถนำไปใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ ของดีที่เป็นน้ำจะเรียกว่าน้ำซาวข้าว ของดีที่เป็นผงจะเรียกว่าราละเอียด

วัตถุดิบ/องค์ประกอบ

  1. น้ำซาวข้าว จำนวน 1 ลิตร
  2. กากน้ำตาล จำนวน 10 ซีซี
  3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ (พลังที่ 1) จำนวน 10 ซีซี
  4. ขวด/แกลลอน สาหรับหมัก จำนวน 1 ใบ

วิธีการทำ

  1. นำกากน้ำตาล หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ใส่ลงในขวด/แกลลอน ตามด้วยน้ำซาวข้าวตามลงไป.ปิดฝาขวด/แกลลอน
  2. หมักไว้ 7วันการนำมาใช้ การหมักจะต้องมีการเปิดฝาถังหมักเพื่อช่วยไล่ลม โดยเปิดวันที่ 1 วันที่ 5 และวันที่ 7 ของการหมัก

การนำไปใช้

ใช้น้ำหมักซาวข้าว 1 ลิตร ต่อน้ำ 500 ลิตร นำไปฉีดไม้ดอกไม้ประดับได้ โดยให้ฉีดทุก ๆ 3 วัน ในช่วงเย็น

พลังที่ 8 น้้าหมักปลา

เป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพชั้นยอด ที่มาจากการหมักโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนด้วยพลังจุลินทรีย์ เมื่อหมักเสร็จจะมีกลิ่นหอมเหมือนยาธาตุ ใช้ฉีดพ่นทำงใบซึมเข้าเซลล์พืชได้ง่าย

วัตถุดิบ/องค์ประกอบ

  1. ไตปลา พุงปลา ก้าง เมือก เกล็ดปลา หรือหอยเชอรี่ทุบรวมกัน 1 กิโลกรัม
  2. กากน้ำตาล จำนวน 200 ซีซี
  3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ (พลังที่ 1) จำนวน 200 ซีซี
  4. ราอ่อน จำนวน 300 กรัม
  5. มะกรูดสด จำนวน 5 ผล (ผ่าเป็น 2 ซีก) (ห้ามใช้มะนำว ส้ม)
  6. แง่งกระชาย(หัว) จำนวน 8 แง่ง (หัว) ทุบให้แตก
  7. โอ่ง หรือไหสาหรับการหมัก ขนาดความจุ 10 ลิตร จำนวน 1 ใบ (ไม่ควรใช้ถังใสหรือถังพลาสติก)
  8. น้ำสะอาด จำนวน 4 ลิตร

วิธีการทำ

  1. นำ ไตปลา พุงปลา ก้าง เมือก เกล็ดปลา หรือหอยเชอรี่ทุบ ที่เตรียมไว้ ใส่ถังหมัก ¼ ของหมักที่เตรียมไว้แล้ว
  2. นำกากน้ำตาล หัวเชื้อจุลินทรีย์ (พลังที่ 1) ผสมกับน้ำสะอาด แล้วเทใส่ถังหมักตามลงไป ใส่มะกรูดสด แง่งกระชาย(หัว) ตามลงไป จากนั้นนำราอ่อนใส่ตามลงไปแล้วปิดฝาถังหมักให้สนิท
  3. หมักไว้ 21 วัน ครบ 21 วัน เปิดฝาถังหมักกรองเอาแต่น้ำใส่ขวด/แกลลอนไว้

ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์โดยที่ไม่ทิ้งให้กลายเป็นขยะที่สร้างความราคาญให้ตนเอง ครอบครัวและชุมชน แแต่เป็นการนำเอามาใช้ประโยชน์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีต่าง ๆ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม


ที่มา :  สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ริมถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงพยาบาลการุญเวช นวนคร จังหวัดปทุมธานี 12120  www. wisdomking.or.th โทร:  0-2529-2212 or 0-2529-2213,  เพจ: จุลินทรีย์ 8 พลัง



บทความอื่นๆที่น่าสนใจ