สาระน่ารู้ » แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างไร

แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างไร

2 ตุลาคม 2021
2131   0

แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างไร?

แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท

         แบตเตอรี่รถยนต์ถือว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญของรถยนต์เลยก็ว่าได้ เนื่องจากแบตเตอรี่รถยนต์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานของรถยนต์ ที่ส่งจ่ายไปตามเครื่องยนต์ และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆภายในรถที่ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท เพราะพลังงานจากแบตเตอรี่ทำให้เครื่องยนต์ติดได้ และ ยังทำให้ระบบไฟภายในตัวรถใช้งานได้  ก่อนที่เราจะทำการเลือกซื้อนั้น ต้องทราบประเภทของแบตเตอรี่ที่  ปัจจุบันนิยมใช้ รวมทั้ง ข้อดี – ข้อเสีย ที่ควรทราบกันด้วย




โดยแบตเตอรี่ที่มีการพัฒนานั้นมี  4 ประเภท  ดังนี้ แบบแบตเตอรี่แบบแห้ง, แบตเตอรี่แบบน้ำ, แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง และ แบตเตอรี่แบบไฮบริด  ส่วนว่าควรจะเลือกใช้แบบไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของรถ แต่ก่อนจะตัดสินใจเลือก มาดูข้อดีข้อเสียของทั้ง 4 แบบกันก่อน เพื่อไว้ประกอบการพิจารณาในการเลือกซื้อ และเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้กันครับ

แบตเตอรี่แบบแห้ง
แบตเตอรี่แบบแห้ง

เป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากแบตเตอรี่แห้งนั้นไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรเลย อาจจะเหมาะกับคนในยุคปัจจุบันเพราะไม่ต้องคอยเติมน้ำกลั่น และแบตเตอรี่แห้งนั้นสามารถปล่อยทิ้งไว้ในสภาพไม่มีประจุไฟได้นานกว่าแบตเตอรี่ธรรมดาโดยไม่ต้องชาร์จไฟเพื่อกระตุ้นแบตฯ การรับประกันโดยมองผ่านตาแมวสำหรับตรวจเช็ค ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของบริษัทผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อ

ข้อดีของแบตเตอรี่แห้ง

  1. ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องคอยห่วงกังวลว่าจะลืม
  2. สามารถดูแลรักษาได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก
  3. สามารถปล่อยแบตเตอรี่ทิ้งไว้ในสภาพไม่มีไฟประจุได้นานกว่าแบตประเภทเติมน้ำกลั่น
  4. แบตเตอรี่รถยนต์แห้ง มีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าแบบน้ำ แอมป์สูงกว่า 

ข้อเสียของแบตเตอรี่แห้ง

  1. แบตเตอรี่แห้ง มีราคาที่สูงกว่าแบตเตอรี่น้ำ
  2. มีระบบปิดที่มีรูระบายแบบทางเดียว และมีขนาดเล็ก จึงมีโอกาสอุดตันได้ง่าย ซึ่งถ้าเกิดอุดตันแล้วก็อาจเกิดปัญหาแรงดันภายในหรือความร้อนมาก
  3. ถ้าหากเป็นแบบที่ปิดผนึกซีลไม่ใช้อีเล็กโตรไลท์ หากซีลของช่องหายใจหลุด อาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เนื่องจากมีความชื้นเข้าไปภายใน

แบตเตอรี่กึ่งแห้ง หรือ แบต MF

เป็นแบตเตอรี่ที่ยังมีรูให้สามารถเติมน้ำกลั่นได้ แบตเตอรี่กึ่งแห้งนั้น เป็นแบตเตอรี่ที่ยังต้องดูแลอยู่เสมอ แต่อาจไม่ต้องดูแลบ่อยเท่ากับแบตเตอรี่น้ำ โดยหมั่นตรวจสอบระดับน้ำกลั่นปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น เนื่องจากน้ำกรดภายในแบตเตอรี่กึ่งแห้งนั้นจะเข้มข้นกว่าน้ำกรดในแบตเตอรี่ชนิดน้ำมาก ทำให้ระเหยได้ช้ากว่า

ข้อดีของแบตเตอรี่กึ่งแห้ง

  1. แบตเตอรี่กึ่งแห้ง มีราคาที่ถูกกว่าแบตเตอรี่แห้ง
  2. เติมน้ำกลั่น 1-2 ครั้งต่อปีเท่านั้น
  3. มีความทนทานสูง

ข้อเสียของแบตเตอรี่กึ่งแห้ง

  1. แบตเตอรี่กึ่งแห้ง มีราคาที่สูงกว่าแบตเตอรี่น้ำ
  2. ต้องดูแลระดับน้ำกลั่นอยู่บ้าง นานๆ ครั้ง

บตเตอรี่น้ำ หรือ แบตเตอรี่ธรรมดา

แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด ส่วนผสมภายในแบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างตะกั่วกับพลวง แบตเตอรี่ชนิดน้ำนั้นเหมาะสำหรับคนที่มีเวลาในการดูแลรถพอสมควร เพราะต้องหมั่นตรวจสอบระดับน้ำกลั่นและคอยเติมอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้แบตเตอรี่น้ำนั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา

ข้อดีของแบตเตอรี่ชนิดน้ำ

  1. มีราคาถูกกว่าแบตเตอรี่ชนิดแห้ง
  2. มีความทนทานมากกว่า

ข้อเสียของแบตเตอรี่ชนิดน้ำ

  1. เนื่องจากสารละลายภายในมีส่วนผสมของกรด ถ้าหากเกิดการรั่วหรือหกขึ้นมาละก็..อาจทำลายสีรถของรถได้
  2. ต้องคอยเช็คและดูแลการประจุและต้องเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอ เนื่องจากจะมีการระเหยหรือมีโอกาสที่จะรั่วหรือหกได้

แบตเตอรี่ไฮบริด

แบตเตอรี่ที่ได้รับการพัฒนามาจากแบตเตอรี่น้ำ ภายในตัวแบตเตอรี่นั้นจะประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างตะกั่วกับแคลเซียมเฉพาะแผ่นธาตุลบ เพื่อเป็นการแก้ไขข้อเสียของแบตเตอรี่น้ำที่มีการระเหยของน้ำกลั่นที่สูงมาก ซึ่งแบตเตอรี่ไฮบริดนี้ จะมีอัตราการระเหยของน้ำกลั่นน้อยกว่าแบตเตอรี่รุ่นธรรมดามาก แบตเตอรี่ไฮบริดมักใช้กับรถที่ใช้งานหนัก ๆ เช่น รถบรรทุก รถโดยสาร หรือ รถรับจ้าง เป็นต้น

ข้อดี : มีการระเหยของน้ำกลั่นน้อยกว่าแบตเตอรี่รุ่นธรรมดามาก ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน
ข้อเสีย : มีราคาที่สูงมาก มักใช้กับรถขนาดใหญ่



แบตเตอรี่แต่ละชนิดต่างก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งคงต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รถแล้วว่าจะเลือกใช้แบบไหนดี หากต้องการแบตเตอรี่ที่ทนทาน ราคาถูก แบตเตอรี่น้ำ ดูจะตอบโจทย์ข้อนี้ที่สุด แต่ต้องแลกกับการที่เราต้องหมั่นตรวจสอบดูแลระดับน้ำกลั่นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามผู้ใช้รถก็ควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามจากผู้รู้ว่ารถของแต่ละท่านเหมาะสำหรับแบตเตอรี่แบบไหน
ข้อมูลจาก 3kbattery.co.th, batteryok.net, batteryprothailand.com, thaiengine.org, appleluxurycar.com