บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม ต้นทุนไม่สูง ไม่มีกลิ่นเหม็น!!

เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม ต้นทุนไม่สูง ไม่มีกลิ่นเหม็น!!

19 มิถุนายน 2021
3929   0

เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม ต้นทุนไม่สูง ไม่มีกลิ่นเหม็น!!

เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม ต้นทุนไม่สูง ไม่มีกลิ่นเหม็น

เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม ต้นทุนไม่สูง ไม่มีกลิ่นเหม็น!! .. อาชีพหลักของประชากรในประเทศไทยคือการทำเกษตรกรรม และ เลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงหมูก็เป็นอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรนิยมทำกันมาก ซึ่งปัจจุบันการเลี้ยงหมู มีต้นทุนสูง และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มูลของหมูส่งกลิ่นเหม็นรบกวนค้อนข้างมาก จากการ เผยแพร้ข้อมูลข่าวสารเกษตรกรรมธรรมชาติของประเทศเกาหลี ทำให้เกษตรกรไทยมีทางเลือกในการเล้ียงหมู โดยมีต้นทุนต่ำ และไม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกท้ังยังใช้ประโยชน์จากมูลของหมูได้อีก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มข้ึนจากเดิม เนื่องจาก ต้นทุนในการ เลี้ยงต่ำ เพราะใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น พืชผักหลายชนิดที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นการลดค่าขนส่ง ทางเลือกดังกล่าวคือ การเลี้ยงหมูหลุมแบบ ธรรมชาติ




วิธีการเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ

เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม

การสร้างโรงเรือน

พื้นที่ใช้ในการสร้างโรงเรือน ควรเป็นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก และทิศตะวันตก วัสดุที่ใช้ใน การก่อสร้าง ควรเป็ นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่นโครงหลังคาทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคา หรือหญ้าแฝก ใบจาก

การสร้างคอกหมูหลุม

หมูหลุม 1 ตัว ใช้พื้นที่ประมาณ 1.5 – 2 ตารางเมตร

  • คอกขนาด 2.5 x 3 เมตร เลี้ยงหมูได้ 4 ตัว
  • คอกขนาด 4 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 8 ตัว
  • ถ้าต้องการเลี้ยงหมูหลุม 4 – 6 ตัว ต้องใช้พื้นที่ 2.5 x 4 เมตร
  • ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซนติเมตร ปรับพื้นที่ให้มีระดับสม่ำาเสมอ ใช้อิฐบล็อกก้ันด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูง 2 เมตร




การใส่วัสดุรองพื้นคอกหมูหลุม

เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม ต้นทุนไม่สูง ไม่มีกลิ่นเหม็น!!

วัสดุที่ใส่ในคอกหมูหลุม มีหลากหลาย วิธีขึ้นอยู่กับวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น

วิธีที่ 1.

  • ขุยมะพร้าว 100 ส่วน
  • น้ำหมักชีวภาพ

ขั้นตอนทำ  ใส่ขุยมะพร้าว ให้มีความสูง 30 ซม. ราดด้วยน้ำาหมัก ชีวภาพ ให้มีความชื้นพอหมาดๆ ทำจนครบ 3 ช้ัน ทิ้งไว้ ประมาณ 7 วัน

วิธีที่ 2. 

  • หญ้าแฝก
  • หยวกกล้วย
  • กากน้ำตาล
  • จุลินทรีย์/EM
  • เกลือแกง

ขั้นตอนทำ  นำหญ้าแฝกและหยวกกล้วยสับปูรองพื้น ราดด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์/EM กากน้ำตาล และ โรยด้วยเกลือแกง แล้วแกลบ 10 ถุง เกลี่ยให้ทั้วแล้วราดน้ำ (ชั้นละ 10 ถุง)  ทำจนครบ 3 ชั้น  ชั้นละ 30  เซ็นติเมตร

วิธีที่ 3.

  • แกลบดิน (แกลบขี้หมูเก่า)
  • มูลวัว
  • รำละเอียด
  • จุลินทรีย์/EM
  • แกลบดิน

ขั้นตอนทำ  นำวัสดุแต่ละชนิดเกลี่ยให้ทั้วพื้นคอก ให้ทำจนครบ 3 ชั้น ชั้นละ 30 เซ็นติเมตร แล้ว ราดน้ำบนพื้นหน้าวัสดุชั้นสุดท้าย ทิ้งไว้  5 – 7 วัน จึงนำสุกรเข้าเลี้ยง

หมายเหตุ วัสดุรองพื้น ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ใบไม้แห้ง ฝางข้าว วัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด ขุ๋ยมะพร้าว หรือขยะแห้งที่ สามารถย่อยสลายได้

การให้อาหาร

ลูกหมูที่นำมาเลี้ยงควรมีน้ำหนัก 15-20 กก. ในช่วงเดือนแรก ควรให้อาหารสำหรับหมูเล็ก  โดยผสมรำอ่อน ปลายข้าว กากถั่วเหลือง ปลาป่น หรือใช้น้ำหอยเชอรี่หมักแทนปลาป่น จนน้ำหนักหมูได้ 30 กก.ขึ้นไป อาหารหมู ได้แก่ เศษอาหารเหลือทิ้งจากมนุษย์เศษพืชต่างๆ  หญ้าสด หญ้าหมัก ฟางข้าว ดิน ใบไม้ผุ จุลินทรีย์ท้องถิ้น น้ำหมักจากพืชสีเขียว และแบคทีเรียกลุ่มแลคติก จะใช้อาหาร สำเร็จรูปเพื่อใช้ผสมร่วมกับอาหารที่ทำขึ้นเองบางส่วนเท่านั้น ให้พืชสด ใส่ให้กินในคอกเลย เศษซากพืชบางชนิดต้องหมักก่อนเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการย่อยก่อน
ตัวอย่างสูตรอาหาร เช่น

สูตร 1

  1. หยวกกล้วย + มะละกอดิบ + ผักบุ้ง + เถามันเทศ + เศษผักหรือวัชพืช สับให้ละเอียด 100 กก.
  2. น้ำตาลทรายแดง 4 กิโลกรัม
  3. เกลือ 1 กิโลกรัม
  4. หมักทิ ้งไว้ 5 ถึง 7 วัน
  5. ผสมหัวอาหาร 3 กิโลกรัม
  6. สามารถเติมน้ำหมักแบคทีเรียแลคติก

สูตร 2

  1. หยวกกล้วย เศษผัก ฯลฯ สับให้เป็นชิ้นเล็กๆ 25 กิโลกรัม
  2. น้ำใส่ถังแล้วโรยด้วยเกลือแกง 200 กรัม
  3. ผสมน้ำหมักชีวภาพ,หัวเชื้อจุลินทรีย์/EM 2 ฝา
  4. น้ำตาลทรายแดง/กากน้ำาล 1 กิโลกรัม (เทผสมแล้วปิ ดฝาทิ้งไว้ 5 – 7 วัน สามารถเก็บได้นาน 30 วัน)

“เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม ต้นทุนไม่สูง ไม่มีกลิ่นเหม็น”

ตัวอย่างสูตรอาหารข้น เช่น

สูตร 1

  1. หินฝุ่น    1.5     กิโลกรัม
  2. เกลือแกง     0.35  กิโลกรัม
  3. พรีมิกซ์     0.25  กิโลกรัม
  4. ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต    0.5  กิโลกรัม
  5. ปลาป่น     1    กิโลกรัม
    (ผสมส่วนที่ 1-5 ให้เข้ากัน)
  6. ข้าวโพดบด    60   กิโลกรัม
  7. กากถั่วเหลือง   14  กิโลกรัม
  8. รำละเอียด      23   กิโลกรัม

วิธีการนำมาใช้งาน

โดยให้อาหารหมัก 70 % ผสมอาหารข้น 30 % เช้า – เย็น

เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม ต้นทุนไม่สูง ไม่มีกลิ่นเหม็น!!

  • กรณี หมูน้ำหนัก 30 – 60 กก. ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมน้ำหมัก 1 ส่วนให้กิน 2 – 3 กิโลกรัม ต่อวัน
  • กรณี หมูน้ำหนัก 60 กก. ขึ้นไป ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมน้ำหมัก 1 ส่วน ให้กิน 4 – 6 กิโลกรัม ต่อวัน

น้ำดื้มสำหรับหมูหลุม

ใช้น้ำหมักชีวภาพ โดย นำสมุนไพร เช่น สาบเสือ ตะไคร้ หอม มะกรูด ข่า ขมิ้น สัปประรด หรือผลไม้อื่นๆ นำมาบด หรือสับรวมกัน แล้วผสมน้ำตาลทรายแดง อัตราส่วน สมุนไพรบด 1 กก. น้ำตาลทรายแดง 1 กก. หมักใส่ ถังพลาสติก หรือ ไห ปิดถังหรือไห ด้วยกระดาษ ทิ้งไว้ อย่างน้อย 1 เดือน หลังจากนั้น จึงใช้น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ สะอาด 10 ลิตร นำไปให้หมูกินตลอดทั้งวัน ส่วนผสมที่เป็นสมุนไพร ช่วยบำรุงสุขภาพของหมู ส่วนผสมที่เป็นผลไม้ช่วยในการ ขับถ่าย น้ำหมักนี้ สามารถนำไป รดพื้นคอกสัปดาห์ละครั้งเพื่อลดกลิ่น โดยใช้น้าหมักสมุนไพร 3-4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร

ขั้นตอนการเตรียมน้ำดื่ม สำหรับสุกร




น้ำดืมสำหรับหมูหลุม
สำหรับ น้ำ 1 ถัง ( 20 ลิตร) ส่วนผสมน้ำดื่มให้สุกร

  • หัวเเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อนโต๊ะ
  • นำฮอร์โมน สมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ (เหล้าดองยา)
  • นมเปรี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำหมักแคลเซียม 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำสะอาด 20 ลิตร

ผสมให้ดื่มเป็นประจำทุกวัน หากพื้นคอกสุกรแน่น หรือแข็ง ก็ใช้นดังกล่าวราดบนพื้นคอก จะทำให้เกิดกลิ่นหอม จูงใจให้สุกรขุดคุ้ยเป็นการกลับหน้าดิน ช่วยให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท เกิดจุลินทรีย์มากมาย

การทำน้ำหมักผลไม้

วัสดุอุปกรณ์
ผลไม้สุก / ดิบ ,น้ำตาลทรายแดง, ขวดโหล / ถัง / โอ่ง (สำหรับหมัก), เชือกฟาง, กระดาษขาว,

น้ำหมักผลไม้ และยาดองสหรับเลี้ยงสุกร
วิธีทำ

  1. เตรียมผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่สุกจัด หรือร่วงตกใต้ต้น เช่น มะม่วง องุ่น มะละกอ สับปะรด มะเฟือง กล้วย ฯลฯ ถ้ามีผลไม้ไม่พอก สามารถเติมพืช อื่นเป็นส่วนประกอบได้ เช่น รากผักขม มันแกว มันเทศ แครอท มันสำปะหลัง พืชตระกูลแตง หัวผักกาด เป็นต้น หาก ผักหรือผลไม้ที่ใช้หมัก มีมากพอก็สามารถทำเป็น ชนิดเดียวกัน
  2. ใช้ผลไม้หมัก 1 กิโลกรัม ต่อ น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม (ในฤดูร้อน) ส่วนในฤดูหนาวเพิ่มน้ำตาล ทรายแดง ½ กิโลกรัม (น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกผสมในผลไม้ และส่วนที่ 2 ใช้โรยหน้า)
  3. ล้างภาชนะที่จะใช้หมัก และตากแดงให้แห้ง
  4. ชั้นที่อยู่ก้นภาชนะให้วางเรียงวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทรายแดงปิดทับเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทราบแดงทับจนหมด (ให้เหลือที่ว่างห่างจากปากภาชนะ 1/3 ของความสูงของภาชนะ) จากนั้น ใช้น้ำตาลส่วนที่เหลือปิดทับด้านหน้าให้หนา เพื่อป้องกันอากาศ ควรใส่ ผลไม้ที่มีความความหวานไว้ด้านล่าง โดยเรียงลำดับตามความหวาน ผลไม้ทีให้ความหวานน้อยทีสุดให้ใส่ชั้นบนสุด ผลไม้ที่เป็นชิ้น เล็กๆ เช่นองุ่น ให้ใช้มือที่สะอาดบีบให้แตกขณะนำไปหมักในโอ่ง หรือภาชนะหมัก
  5. คลุมปากภาชนะด้วยกระดาษขาว และมัดปากภาชนะด้วยเชือก
  6. ในฤดูร้อน กระบวนการหมักใช้เวลา 4 – 5 วัน ส่วนในฤดูฝนกระบวนการหมักใช้เวลา 7 – 10 วัน ส่วนในฤดูหนาว จะใช้เวลาในการหมัก 10-15 วัน
  7. เก็บภาชนะหมักไว้ในที่ร่ม และมีอากาศเย็น ไม่ให้ถูกแสงแดด ไม่ควรปิดภาชนะในระหว่าง กระบวนการหมัก กำลังดำเนินการอยู่

วิธีการนำไปใช้

  •  ใช้น้ำหมักในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร
  • ใช้พ่นกับพืชเมื่อเข้าสู่ระยะเปลี่ยนวัย ( เข้าสู่การออกดอกออกผล)
  • รดพื้นคอก ผสมให้หมูกิน รดผัก

เวลาที่ใช้ในการเลี้ยง

หมูหลุมใช้เวลาในการเลี้ยง ประมาณ 4 เดือน น้ำหนักของหมูจะอยู่ที่ประมาณ 120 กก. / ตัว มูลของหมูหลุมเป็นรายได้ ส่วนหนึ่งที่สามารถนำไปขายได้ ซึ่งเป็นรายได้ส่วนทีเพิ่มขึ้นหรือนำมูลของหมูหลุมไปใส่ต้นไม้ ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายค่าปุยอีกทางหนึ่งด้วย




ต้นทุนการผลิต

  1. ค่าโรงเรือน รวมอุปกรณ์ การให้น้ำและอาหาร เงิน 3,000 บาท
    2. ค่าก่อกำแพงอิฐบล็อกภายในหลุมทั้ง 4 ด้าน เงิน 1,050 บาท
    3. ค่าพันธุ์หมู 20 ตัวๆละ 1.200 บาท เงิน 24,000 บาท
    4. ค่าจัดทำวัสดุรองพื้น เงิน 2,080 บาท ได้แก่ แกลบ 1 คันรถ เงิน 300 บาท มูลโค- กระบือ 24 กระสอบๆละ 10 บาท เงิน 240 บาท รำข้าว 576 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 1,440 บาท สารจุลินทรีย์ 100 บาท
    5. ค่าอาหารหมู เงิน 6,575 บาท

    – อาหารสำเร็จรูป 150 กก. ๆละ 10 บาท เงิน 1,500 บาท
    – รำข้าว 1,750 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 4,375 บาท
    – กากปลาร้า เงิน 100 บาท

    – ปลายข้าว 120 กก. ๆละ 5.00 บาท เงิน 600 บาท

    6. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และหล่อลื่นในการจัดอาหารเสริม เงิน 2,000 บาท
    7. ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงิน 400 บาท (ไม่ได้คิดค่าแรงงาน) รวมต้นทุน 39,105 บาทรายรับ

  2. จำหน่ายสุกร 20 ตัวๆละ 3,000 บาท เงิน 60,000 บาท
    2. ปุ๋ยชีวภาพที่ได้ 10 ตันๆละ 2,000 บาท เงิน 20,000 บาท
    รวมรับ 80,000 บาท

ผลลัพท์จากการเลี้ยงหมูหลุม

การเลี้ยงหมูหลุม เป็นการผลิตที่เหมาะสมกับการทรัพยากรและการบริโภค ในท้องถิ่นทำใ ห้เศรษฐกิจฐานล่างมีความเข้มแข็ง สนับสนุนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่

  • ด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม พึ่งพาการผลิตการบริโภคในท้องถิ่นเกิดความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน· ด้านสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ครอบครัวมีงานทำหมุนเวียนตลอด ก่อเกิดรายได้ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น· ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตผสมผสานปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ใช้ทรัพยากร ผืนดินให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต ใช้วงจรชีวภาพหมุนเวียนให้เกิดการผลิตหลายรอบ ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม· ด้านสุขภาพ การเลี้ยงหมูที่ไม่เครียดทำให้มีสุขภาพดี และการเลี้ยงด้วยหญ้าจะทำให้เนื้อสัตว์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอไมก้า 3 ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และไขมันอุดตันในหลอดเลือดสูง และผลผลิตปลอดภัยปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ มีผลทำให้สุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง Food Quality ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเช่นเดียวกับอาหารอินทรีย์




แหล่งข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม

  1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ www.opsmoac.go.th


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ