บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เทคนิคการปลูกกระชาย พืชสมุนไพรมากคุณค่า

เทคนิคการปลูกกระชาย พืชสมุนไพรมากคุณค่า

13 พฤษภาคม 2021
4427   0

เทคนิคการปลูกกระชาย พืชสมุนไพรมากคุณค่า
เทคนิคการปลูกกระชาย พืชสมุนไพรมากคุณค่า

“เทคนิคการปลูกกระชาย พืชสมุนไพรมากคุณค่า”  จากการขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร และ อาหารเสริมของไทยเมื่อปี 2548 ที่ทำรายได้ถึงสี่หมื่นล้านบาท ทำให้ไทยนั้นมียุทธศาสตร์พัฒนาสมุนไพร เพื่อให้ไทยนั้นเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เลือกประโยชน์สมุนไพรตามที่ตลาดต้องการ นั่นคือช่วยชะลอความชรา บำรุงกำลังและช่วยลดความอ้วน ซึ่งกระชายก็มีคุณสมบัติดังกล่าวทั้งหมด ผู้คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จักสมุนไพรที่เรียกว่าโสม หรือว่า ginger ในภาษาอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก กระชายมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น กระชายเหลืองกับกระชายดำ เป็นหลัก ซึ่งกระชายดำกำลังเป็นที่นิยม จนกระทั่งกระชายเหลืองรู้สึกว่าจะถูกลดลงไป แต่เขาบอกว่ากระชายเหลืองมีคุณสมบัติทางสมุนไพรดีกว่ากระชายดำ คือไม่ได้ขึ้นอยู่กับสี บางทีคนเราคิดว่าถ้าสีเข้มน่าจะมีประโยชน์ น่าสนใจมากกว่า




กระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียว ยาวอวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมส้ม เนื้อข้างในเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน สีค่อนข้างแดง ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีสีขาวหรือสีขาวปนชมพู ผลของกระชายเป็นผลแห้ง

จะทำสวนกระชายต้องเริ่มต้นอย่างไร เกษตรกรจะต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า กระชายเป็นพืชที่ชอบสภาพแสงรำไร ดังนั้น การปลูกกระชายส่วนใหญ่จะต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ถ้าเป็นสวนผลไม้เก่าจะดีมาก โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยจะดีมาก ในการเตรียมดินจะไม่ยุ่งยากเหมือนกับการ ปลูกพืชอื่น เพียงแต่ตัดต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ออกบ้างให้มีพื้นที่ว่างปลูกกระชายได้

 

เทคนิคการปลูกกระชาย พืชสมุนไพรมากคุณค่า

กระชาย มี 3 ชนิด คือ

  • กระชายเหลืองหรือกระชาย ขาว
  • กระชายแดง
  • กระชายดำ

แหล่งปลูกที่เหมาะสม

เนื่องจากกระชายนั้นเป็นพืชดั้งเดิมของชาวเขา จึงเชื่อกันว่ากระชายที่ดี มีคุณภาพ จะต้องปลูกบนพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร เจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบแดดจัด ชอบแดดร่มรำไร เกษตรกรจึงนิยมปลูกกระชายดำระหว่าง แถวไม้ยืนต้น แต่ก็ยังไม่มีข้อมูล ยืนยันว่าปลูกกลางแจ้งกับปลูกในที่ร่มรำไรมีผลแตกต่างกันอย่างไร ทั้งใน ด้านคุณภาพและการเจริญเติบโต

วิธีการปลูกกระชา

การเตรียมพันธุ์กระชายสำหรับปลูก

  • โดยการใช้หัวแก่จัดมีอายุประมาณ 11-12 เดือน ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนาน ประมาณ 1-3 เดือน ก่อนเก็บรักษาควรจุ่มหัวพันธุ์ในสารป้องกันกำจัดเชื้อรา โดยใช้ไดโฟลาแทน 80 หรือ แมนเซ็ทดี ผสมน้ำอัตรา 2-4 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ในพื้นที่ 1 ไร่จะใช้หัวพันธุ์ประมาณ 200-250 กิโลกรัม ขึ้นกับระยะปลูก และขนาดของหัวด้วย

การเลือกหัวพันธุ์
หัวพันธ์กระชาย

  • ควรจะใช้พันธุ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากในน้ำหนักที่เท่ากันกับหัวขนาดใหญ่ หัวขนาดเล็กจะปลูกได้ มากกว่าและควรเลือกหัวพันธุ์ที่มีสีดำหรือม่วงเข้ม ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด

ฤดูปลูก

  • เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม และจะเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม-มกราคม กระชาย จะมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8-9 เดือน

การเตรียมดินปลูกกระชาย




ก่อนทีจะมีการไถเตรียมดินนั้น ควรหว่านปูนขาวในอัตรา 100-150 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อฆ่าเชื่อโรคที่อยู่ในดิน หลังจากนั้นจึงไถกลบปูนขาวทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน เนื่องจากเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรอาจไถ เพียงครั้งเดียว ก่อนปลูกควรยกเป็นแปลง (ไม่ต้องสูงนัก) ความกว้างของแปลง 1.50-2.0 เมตร ความยาวไม่จำกัด

กระชาย สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด โดยเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีไม่ท่วมขัง การเตรียมดินควรไถพรวนตอนต้นฤดูฝน และควรมีการยกร่องปลูกโดยมีระยะห่างระหว่างแถว 75 ซม. ระหว่างต้น 30 ซม.

การปลูกการเตรียมเหง้าพันธุ์กระชาย

  • คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำลาย
  • แบ่งหัวพันธุ์โดยการหั่น ขนาดของเหง้าควรมีตาอย่างน้อย 3-5 ตาหรือแง่ง มีน้ำหนัก 15-50 กรัม
  • แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง มาลาไธออน หรือคลอไพรีฟอส 1-2 ชั่วโมง ตามอัตราแนะนำ
  • ชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกัน กำจัดเชื้อราก่อนปลูก

การเตรียมหัวพันธุ์กระชาย  การปลูกใช้ท่อนพันธุ์มี 2 ลักษณะคือหัวแม่และแง่ง

  •  การปลูกโดยหัวแม่ควรมีน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/ หัว
  • การปลูกด้วย แง่งพันธุ์มีปล้อง 7-9 ปล้อง / ชิ้น น้ำหนัก 15-30 กรัม ยาว 8-12 ซม.

ก่อนปลูกกระชายหัวพันธุ์ควรแช่ด้วยยาป้องกันเชื้อรา และยาฆ่าเพลี้ยโดยแช่ไว้ประมาณ 30 นาทีการปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก. / ไร่ และวางท่อนพันธุ์ กลบดินหนาประมาณ 5-10 ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอก ประมาณ 30-70 วัน หลังปลูก

การปลูกกระชาย

ใช้หัวพันธุ์ที่เตรียมไว้แล้วแยกหัวโดยหักออกเป็นข้อๆ ตามรอยต่อระหว่างหัว ฝังกลบดินให้มิดแต่ ไม่ลึกนัก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว X ระหว่างหลุม 0.20 X 0.25 เมตร หรือ 0.25 X 0.30 เมตร ปลูกเสร็จแล้วใช้แกลบหว่านกลบบางๆ อีกชั้นหนึ่ง

การดูแลรักษา




การใส่ปุ๋ย

  • ใช้ปุ๋ยคอกมูลไก่ผสมแกลบรองพื้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ หากดิน มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว อาจใช้แกลบที่ได้จากการรองพื้นเล้าไก่ก็เป็นการเพียงพอ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี

การกำจัดวัชพืช

  • วัชพืชในไร่กระชายไม่ค่อยมีปัญหามากนัก เนื่องจากกระชายมีระยะปลูกถี่ใบ สามารถคลุมดิน ป้องกันการงอกของเมล็ดวัชพืชได้ดี หากมีความจำเป็นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดจากแปลง

การเก็บเกี่ยว
เทคนิควิธีการปลูกกระชาย

  • อายุเก็บเกี่ยวของกระชายดำ ประมาณ 8-9 เดือน ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม-มกราคม ในช่วงนี้ สังเกตดูใบจะเริ่มแก่มีสีเหลืองและแห้งตายลงในที่สุด

ประโยชน์กระชาย

        กระชายมีคุณสมบัติบำรุงร่างกาย มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมระเหยอ่อนๆ ที่สำคัญยังเต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดไปดูประโยชน์และสรรพคุณของกระชายเพิ่มเติม ได้ดังนี้

  1. บำรุงผมให้สุขภาพดี
            – ผู้ที่มีปัญหาเส้นผมแห้งเสียหรือเส้นผมอ่อนแอ กระชายเป็นตัวเลือกที่ดีในการบำรุงเส้นผมให้กลับมาแข็งแรง ช่วยแก้ปัญหาผมขาวให้กลับมาดกดำ ทำให้ผมบางกลับกลายมีเป็นผมหนานุ่มได้อีกครั้ง สามารถจัดการปัญหาผมร่วงและผมหงอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ต่อต้านการอักเสบ
    กระชายมีคุณสมบัติยอดเยี่ยมที่ช่วยต้านการอักเสบ การรับประทานกระชายอย่างต่อเนื่อง จะได้รับผลเหมือนกับการทานยาแอสไพริน โดยจะช่วยแก้ปัญหาการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายได้ดี ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรงมากขึ้น
  3. เพิ่มพลังให้ร่างกาย
    กระชายสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลังได้ โดยการนำกระชายมาปั่นแล้วดื่ม กระชายมีคุณสมบัติเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกมีพลัง รู้สึกกระปรี้กระเปร่าเต็มไปด้วยพลังงาน
  4. ใช้รักษาโรคทั่วไป
    ประโยชน์ของกระชายมีมากมายหลายด้าน ซึ่งใช้เป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน เช่น บำรุงสมอง แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ทำให้ความดันโลหิตเป็นปกติ บำรุงตับ รักษาโรคกระเพาะ ทำให้ไตแข็งแรง ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ แก้อาการแน่นหน้าอก และแก้โรคในปาก เช่น ปากแห้ง ปากเปื่อย เป็นต้น
  5. ใช้ลดน้ำหนัก
    กระชายสามารถใช้ในการลดน้ำหนักได้ จากการศึกษาวิจัยในประเทศเกาหลีใต้พบว่า การรับประทานกระชายวันละ 300 – 600 มิลลิกรัม จะมีรอบเอวและไขมันต่ำลดลงภายใน 12 สัปดาห์
  6. บำรุงลำไส้
    เหง้ากระชายมีรสชาติเผ็ดร้อน สามารถใช้บรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อได้ นอกจากนี้ กระชายยังมีสารซิเนโอเล ที่มีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องลดลง และยังใช้เป็นยารักษาริดสีดวงได้ด้วย
  7. แก้อาการบิด
    เราสามารถใช้เหง้าและรากของกระชายมาใช้รักษาอาการบิด ถ่ายเป็นมูกเลือดได้ นอกจากนี้ กระชายยังมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ และยังใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อนได้อีกด้วย
  8. ส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ
    สมุนไพรอย่างกระชาย สามารถช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศให้ดีขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ยา เนื่องจากกระชายมีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ เพิ่มปริมาณและความหนาแน่นของอสุจิ ทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาน้องชายไม่แข็งแกร่ง การทานกระชาย จะทำให้สุขภาพทางเพศดียิ่งขึ้น
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
“การปลูกกระชาย”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http://www.vegetweb.com/การปลูกกระชาย